ซิงค์ซัลเฟต (Zinc sulfate) ใช้เพื่อรักษาและป้องกันภาวะขาดสังกะสี (zinc deficiency) แต่ควรหลีกเลี่ยงการใช้ยานี้ พร้อมกับการรับประทานอาหารที่มีแคลเซียมหรือฟอสฟอรัสสูง เนื่องจากอาจทำให้ร่างงกายดูดซึมยาซิงค์ซัลเฟตได้ยากขึ้น
[embed-health-tool-bmi]
ข้อบ่งใช้
ซิงค์ซัลเฟต ใช้สำหรับ
สังกะสี (Zinc) เป็นแร่ธาตุที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ มีความสำคัญต่อการเจริญเติบโต การพัฒนาและสุขภาพของเนื้อเยื่อของร่างกาย
ซิงค์ซัลเฟต (Zinc sulfate) ใช้เพื่อรักษาและป้องกันภาวะขาดสังกะสี (zinc deficiency)
ซิงค์ซัลเฟตยังอาจใช้เพื่อจุดประสงค์อื่นนอกเหนือจากคู่มือการใช้ยาได้อีกด้วย
วิธีใช้ยาซิงค์ซัลเฟต
ใช้ยาตามที่กำหนดบนฉลากยา หรือตามที่แพทย์กำหนดอย่างเคร่งครัด อย่าใช้ยาในขนาดที่มากกว่า น้อยกว่า หรือนานกว่าที่แนะนำ
รับประทานยาซิงค์ซัลเฟตพร้อมกับดื่มน้ำเต็มแก้ว
รับประทานยาซิงค์ซัลเฟตพร้อมกับอาหาร หากคุณมีอาการท้องไส้ปั่นป่วน
การเก็บรักษายาซิงค์ซัลเฟต
ยาซิงค์ซัลเฟตควรเก็บที่อุณหภูมิห้อง ให้พ้นแสงและความชื้น เพื่อป้องกันไม่ให้ตัวยาเสื่อมสภาพ ไม่ควรเก็บยานี้ในห้องน้ำหรือช่องแช่แข็ง ยาซิงค์ซัลเฟตบางยี่ห้ออาจมีวิธีเก็บรักษาแตกต่างกัน จึงควรอ่านคำแนะนำบนบรรจุภัณฑ์หรือสอบถามเภสัชกรเสมอ และโปรดเก็บยาให้พ้นจากมือเด็กและสัตว์เลี้ยงเพื่อความปลอดภัย
ไม่ควรทิ้งยาซิงค์ซัลเฟตลงในชักโครก หรือเทยาลงในท่อระบายน้ำ เว้นเสียแต่จะได้รับคำแนะนำให้ทำเช่นนั้น หากยาหมดอายุ หรือไม่มีความจำเป็นต้องใช้ยา ควรกำจัดยาด้วยวิธีที่ถูกต้อง โดยสามารถสอบถามข้อมูลวิธีกำจัดยาที่ถูกต้องได้จากเภสัชกร
ข้อควรระวังและคำเตือน
ข้อควรรู้ก่อนใช้ยาซิงค์ซัลเฟต
ก่อนใช้ยานี้ แจ้งให้แพทย์ทราบหาก
- คุณกำลังตั้งครรภ์ หรือให้นมบุตร เนื่องจากในช่วงที่คุณกำลังตั้งครรภ์ หรือกำลังให้นมบุตร ควรใช้ยาตามที่แพทย์แนะนำเท่านั้น
- หากคุณกำลังใช้ยาอื่นอยู่ รวมทั้งยาที่หาซื้อได้เอง เช่น สมุนไพรหรือยาทางเลือกอื่นๆ
- หากคุณแพ้สารออกฤทธิ์หรือไม่มีฤทธิ์ในการรักษาของยาซิงค์ซัลเฟต หรือยาอื่นๆ
- หากคุณมีอาการป่วย มีความผิดปกติ หรือมีสภาวะทางการแพทย์อื่นๆ
หลีกเลี่ยงการใช้ยานี้ พร้อมกับการรับประทานอาหารที่มีแคลเซียมหรือฟอสฟอรัสสูง เนื่องจากอาจทำให้ร่างงกายดูดซึมยาซิงค์ซัลเฟตได้ยากขึ้น อาหารที่มีแคลเซียมหรือฟอสฟอรัสสูงได้แก่ นม ชีส โยเกิร์ต ถั่วฝักหรือถั่วฝักเมล็ดกลมแบบแห้ง (dried beans or peas) ถั่วเมล็ดแบน (lentils) ถั่วเปลือกแข็ง (nuts) เนยถั่ว เบียร์ น้ำอัดลมโคล่า และโกโก้ร้อน
ความปลอดภัยต่อการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร
ยังไม่มีงานวิจัยที่น่าเชื่อถือเกี่ยวกับความเสี่ยงในสตรีที่ใช้ยานี้ในช่วงการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร โปรดปรึกษาแพทย์เพื่อหาประโยชน์และความเสี่ยงก่อนการใช้ยานี้
ยาคาร์ทีโอลอลจัดอยู่ในประเภทของยาที่มีความเสี่ยงต่อสตรีมีครรภ์ ประเภท C โดยองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา (FDA)
การจัดประเภทของยาที่มีความเสี่ยงต่อสตรีมีครรภ์โดยองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกามีดังนี้
- A = ไม่มีความเสี่ยง
- B = ไม่พบความเสี่ยงในการวิจัยบางชิ้น
- C = อาจจะมีความเสี่ยง
- D = มีหลักฐานแสดงถึงความเสี่ยง
- X = ห้ามใช้
- N = ไม่ทราบแน่ชัด
ผลข้างเคียง
ผลข้างเคียงของการใช้ยา
รับการรักษาพยาบาลฉุกเฉินทันที หากคุณมีสัญญาณของอาการแพ้ ได้แก่ ลมพิษ หายใจติดขัด บวมที่ใบหน้า ริมฝีปาก ลิ้น หรือลำคอ
ผลข้างเคียงที่รุนแรงน้อยกว่า ได้แก่ คลื่นไส้ ท้องไส้ปั่นป่วน
ผลข้างเคียงที่กล่าวมาข้างต้น อาจไม่ได้เกิดกับทุกคน หรือบางคนอาจมีอาการอื่นนอกเหนือจากนี้ หากคุณมีข้อสงสัยใดๆ เกี่ยวกับผลข้างเคียง โปรดปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกร
ปฏิกิริยาของยา
ปฏิกิริยากับยาอื่น
ยาซิงค์ซัลเฟตอาจเกิดปฏิกิริยากับยาอื่นที่คุณกำลังใช้อยู่ และอาจส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา หรือเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดผลข้างเคียง เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น
คุณควรแจ้งแพทย์หรือเภสัชกรด้วยว่า คุณกำลังใช้ยาอะไรอยู่บ้าง ไม่ว่าจะเป็นยาตามใบสั่งแพทย์ ยาที่ซื้อได้เอง สมุนไพร เป็นต้น และเพื่อความปลอดภัย คุณไม่ควรเริ่ม หยุด หรือเปลี่ยนขนาดยาเองโดยไม่ได้รับความเห็นชอบจากแพทย์
ปฏิกิริยากับอาหารหรือแอลกอฮอล์
ยาซิงค์ซัลเฟตอาจมีปฏิกิริยากับอาหารหรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา หรือเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดผลข้างเคียง โปรดปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกรก่อนเสมอ
ปฏิกิริยากับอาการโรคอื่น
ยาซิงค์ซัลเฟตอาจส่งผลให้อาการโรคของคุณแย่ลง หรือส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา โปรดแจ้งสภาวะโรคของคุณให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบก่อนใช้ยาเสมอ
ขนาดยา
ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกรทุกครั้งเพื่อรับทราบข้อมูลเพิ่มเติม
ขนาดยาซิงค์ซัลเฟตสำหรับผู้ใหญ่
ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อเป็นอาหารเสริม
ปริมาณสารอาหารที่ควรได้รับในแต่ละวัน (Recommended Dietary Allowance) (RDA) ของธาตุสังกะสีมีดังนี้
อายุ 19 ปีขึ้นไป
- เพศชาย : 11 มก. (ปริมาณสุงสุดที่สามารถบริโภคได้ในแต่ละวัน 34 มก.)
- เพศหญิง : 9 มก. (ปริมาณสุงสุดที่สามารถบริโภคได้ในแต่ละวัน 34 มก.)
- ผู้ที่ตั้งครรภ์ : 11 มก. (ปริมาณสุงสุดที่สามารถบริโภคได้ในแต่ละวัน 40 มก.)
- ผู้ที่ให้นมบุตร : 12 มก. (ปริมาณสุงสุดที่สามารถบริโภคได้ในแต่ละวัน 40 มก.)
ยาซิงค์ซัลเฟตแบบฉีดเข้าหลอดเลือดดำ
- ผู้ใหญ่ที่มีกระบวนการเผาผลาญคงที่รับสารอาหารผ่านทางหลอดเลือดดำใหญ่ (TPN) : สังกะสี 2.5 ถึง 4 มก./วัน
- ผู้ที่มีภาวะหยุดการสลายสารอาหารเฉียบพลัน (Acute catabolic states) รับสารอาหารผ่านทางหลอดเลือดดำใหญ่ : แนะนำให้เพิ่มสังกะสี 2 มก. ต่อวัน
- ผู้ใหญ่ที่มีเสถียรภาพที่สูญเสียน้ำจากลำไส้เล็ก : แนะนำให้เพิ่มสังกะสี 12.2 มก./ลิตรของปริมาณน้ำในลำไส้เล็กที่สูญเสียไป หรือเพิ่มสังกะสี 17.1 มก./กก. ของอุจจาระหรือของเสียที่ได้จากการผ่าตัดลำไส้เล็กเปิดทางหน้าท้อง (ileostomy)
ขนาดยาซิงค์ซัลเฟตสำหรับเด็ก
ขนาดยาสำหรับเด็กเพื่อเป็นอาหารเสริม
ปริมาณสารอาหารที่ควรได้รับในแต่ละวันของธาตุสังกะสีมีดังนี้
อายุ 0 ถึง 6 เดือน
- เพศชาย : 2 มก. (ปริมาณสุงสุดที่สามารถบริโภคได้ในแต่ละวัน 4 มก.)
- เพศหญิง : 2 มก. (ปริมาณสุงสุดที่สามารถบริโภคได้ในแต่ละวัน 4 มก.)
อายุ 7 ถึง 12 เดือน
- เพศชาย : 3 มก. (ปริมาณสุงสุดที่สามารถบริโภคได้ในแต่ละวัน 5 มก.)
- เพศหญิง : 3 มก. (ปริมาณสุงสุดที่สามารถบริโภคได้ในแต่ละวัน 5 มก.)
อายุ 1 ถึง 3 ปี
- เพศชาย : 3 มก. (ปริมาณสุงสุดที่สามารถบริโภคได้ในแต่ละวัน 7 มก.)
- เพศหญิง : 3 มก. (ปริมาณสุงสุดที่สามารถบริโภคได้ในแต่ละวัน 7 มก.)
อายุ 4 ถึง 8 ปี
- เพศชาย : 5 มก. (ปริมาณสุงสุดที่สามารถบริโภคได้ในแต่ละวัน 12 มก.)
- เพศหญิง : 5 มก. (ปริมาณสุงสุดที่สามารถบริโภคได้ในแต่ละวัน 12 มก.)
อายุ 9 ถึง 13 ปี
- เพศชาย : 8 มก. (ปริมาณสุงสุดที่สามารถบริโภคได้ในแต่ละวัน 23 มก.)
- เพศหญิง : 8 มก. (ปริมาณสุงสุดที่สามารถบริโภคได้ในแต่ละวัน 23 มก.)
อายุ 14 ถึง 18 ปี
- เพศชาย : 11 มก. (ปริมาณสุงสุดที่สามารถบริโภคได้ในแต่ละวัน 34 มก.)
- เพศหญิง : 9 มก. (ปริมาณสุงสุดที่สามารถบริโภคได้ในแต่ละวัน 34 มก.)
- ผู้ที่ตั้งครรภ์ : 12 มก. (ปริมาณสุงสุดที่สามารถบริโภคได้ในแต่ละวัน 40 มก.)
- ผู้ที่ให้นมบุตร : 13 มก. (ปริมาณสุงสุดที่สามารถบริโภคได้ในแต่ละวัน 40 มก.)
ยาซิงค์ซัลเฟตแบบฉีดเข้าหลอดเลือดดำ
- ทารกครบกำหนดคลอดและเด็กที่อายุไม่เกิน 5 ปี : แนะนำขนาดยาสังกะสี 100 ไมโครกรัม/กก./วัน
- ทารกคลอดก่อนกำหนด (น้ำหนักแรกเกิดน้อยกว่า 1500 กรัม) น้ำหนักตัวไม่เกิน 3 กก. :แนะนำขนาดยาสังกะสี 300 ไมโครกรัม/กก./วัน
รูปแบบของยา
ความแรงและรูปแบบของยามีดังนี้
- ยาเม็ด
- ยาสำหรับฉีด
กรณีฉุกเฉินหรือใช้ยาเกินขนาด
หากเกิดเหตุฉุกเฉินหรือใช้ยาเกินขนาด ควรแจ้งเหตุฉุกเฉิน หรือนำส่งห้องฉุกเฉินใกล้บ้านทันที
กรณีลืมใช้ยา
หากคุณลืมใช้ยาควรรีบใช้ทันทีที่นึกได้ หรือถ้าหากใกล้ถึงเวลาใช้ยาครั้งต่อไป ให้ข้ามรอบไปใช้ยาตามตารางปกติได้เลย ไม่ควรเพิ่มปริมาณยา
Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรคหรือการรักษาโรคแต่อย่างใด