backup og meta
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ถามคุณหมอ
บันทึก
สารบัญ

ทรามาดอล (Tramadol)

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย เภสัชกรอาชานนท์ สมศักดิ์ · ยาและอาหารเสริม · Hello Health Group


เขียนโดย ปราโมทย์ วงศ์คำ · แก้ไขล่าสุด 23/03/2021

ทรามาดอล (Tramadol)

ข้อบ่งใช้

ทรามาดอล ใช้สำหรับ

ทรามาดอล (Tramadol) เป็นยาในกลุ่มนาร์โคติค (narcotic analgesics) หรือยาแก้ปวดชนิดเสพติด ใช้เพื่อบรรเทาอาการเจ็บ ระดับปานกลางจนถึงรุนแรง โดยตัวยาจะเข้าไปทำงานในสมอง เพื่อเปลี่ยนความรู้สึก และการตอบสนองของร่างกายต่อความเจ็บปวด

วิธีการใช้ยา ทรามาดอล

  • รับประทานยาตัวนี้ตามที่แพทย์สั่งทุก ๆ 4 ถึง 6 ชั่วโมง ตามที่ต้องการ สำหรับบรรเทาอาการปวด คุณอาจรับประทานเพียงตัวยาอย่างเดียว หรือรับประทานยาพร้อมกับอาหารก็ได้ การรับประทานยาพร้อมอาหาร อาจช่วยลดอาการคลื่นไส้ สอบถามแพทย์หรือเภสัชกรของคุณเกี่ยวกับทางเลือกอื่น ๆ เพื่อลดอาการคลื่นไส้ เช่น นอนลง 1-2 ชั่วโมง โดยขยับศีรษะให้น้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้
  • ขนาดยาจะขึ้นอยู่กับอาการทางการแพทย์ และการตอบสนองของร่างกายคุณ เพื่อลดความเสี่ยงของผลข้างเคียง แพทย์ของคุณอาจสั่งให้คุณรับประทานยาตัวนี้ในขนาดต่ำและค่อยๆ เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ
  • ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างระมัดระวัง ขนาดยาสูงสุดที่แนะนำคือ 400 มิลลิกรัมต่อวัน หากคุณมีอายุ 75 ปีขึ้นไป ขนาดยาสูงสุดที่แนะนำ คือ 300 มิลลิกรัมต่อวัน อย่าเพิ่มขนาดยา รับประทานบ่อยเกินหรือนานเกินกว่าที่แพทย์จ่ายให้ ควรหยุดรับประทานยาอย่างเหมาะสม
  • ยาแก้ปวดจะมีประสิทธิภาพทำงานได้ดีที่สุด เมื่อใช้ในขณะที่มีสัญญาณแรกเกิดขึ้น หากคุณรอจนกว่าอาการปวดทรุดลง ตัวยาอาจไม่ได้ผล
  • หากคุณมีอาการเจ็บเกิดขึ้นต่อเนื่อง เช่น โรคข้ออักเสบ แพทย์ของคุณอาจสั่งให้คุณรับประทานยานาร์โคติคในระยะยาว แต่ส่วนยาแก้ปวดที่ไม่ใช่นาร์โคติคอื่น ๆ อย่างยาอะเซตามิโนเฟน (acetaminophen) ยาไอบูโพรเฟน (ibuprofen) อาจถูกจ่ายมาพร้อมกับยาชนิดนี้ โปรดสอบถามแพทย์หรือเภสัชกรของคุณ เกี่ยวกับการใช้ยาทรามาดอลควบคู่กับยาตัวอื่นอย่างปลอดภัยอีกครั้ง
  • ยาตัวนี้อาจทำให้เกิดอาการถอนยา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หากใช้ยาตัวนี้เป็นเวลานาน หรือใช้ในขนาดยาที่สูง เพื่อป้องกันปฏิกิริยาการถอนยานี้ แพทย์ของคุณอาจให้ลดขนาดยาลดอย่างช้า ๆ
  • เมื่อใช้ยาตัวนี้เป็นเวลานาน อาจทำให้ไม่ได้ผลแล้วเช่นกัน พูดคุยกับแพทย์ของคุณหากยาตัวนี้ไม่ได้ผลเพื่อปรับเปลี่ยนตัวยาใหม่
  • อาจก่อให้เกิดพฤติกรรมอยากใช้ยาแบบผิดปกติ หรืออาการติดยา โปรดรับประทานยาตัวนี้ให้ตรงตามที่แพทย์กำหนดให้ เพื่อบรรเทาความเสี่ยงของอาการติดยา

การเก็บรักษายา ทรามาดอล

  • ยาทรามาดอลควรเก็บในอุณหภูมิห้อง หลีกเลี่ยงแสงหรือความชื้น เพื่อป้องกันไม่ให้ตัวยาเกิดความเสียหาย
  • เก็บยาให้ห่างจากมือเด็ก และสัตว์เลี้ยง
  • ไม่ควรทิ้งลงในชักโครก หรือเทยาลงในท่อระบายน้ำ ควรกำจัดยาด้วยวิธีที่ถูกต้องเมื่อยาหมดอายุ หรือไม่มีความจำเป็นต้องใช้งาน

ยาทรามาดอลบางยี่ห้ออาจจะต้องเก็บรักษาแตกต่างกัน ตรวจสอบฉลากข้างบรรจุภัณฑ์หรือสอบถามแพทย์และเภสัชกรเพิ่มเติมเพื่อความปลอดภัย

ข้อควรระวังและคำเตือน

ข้อควรรู้ก่อนใช้ยา ทรามาดอล

ในการตัดสินใจใช้ยา จำเป็นพิจารณาถึงประโยชน์ และความเสี่ยงของการรับประทานยา รวมถึงปัจจัยของภาวะทางสุขภาพ ดังต่อไปนี้

แจ้งแพทย์ของคุณ หากคุณเคยมีอาการผิดปกติหรืออาการแพ้ใด ๆ ต่อยาตัวนี้ หรือยาตัวอื่น ๆ นอกจากนี้ คุณควรบอกผู้เชี่ยวชาญด้านการดูแลสุขภาพของคุณทราบ หากคุณมีอาการแพ้ เช่น อาหาร สีย้อม สารกันบูดหรือสัตว์ สำหรับผลิตภัณฑ์ยาที่ไม่ต้องใช้ใบสั่งแพทย์ อ่านฉลากหรือส่วนผสมบนบรรจุภัณฑ์อย่างละเอียด

  • เด็กเล็ก

ไม่มีการค้นพบวิจัยที่เกี่ยวกับความสัมพันธ์ของอายุต่อผลกระทบของยา Rybix™ ODT ยา Ryzolt™ และยา Ultram® ในเด็กวัยต่ำกว่า 16 ปี รวมทั้งไม่มีการแสดงให้เห็นชัดถึงความปลอดภัยและประสิทธิภาพของยา

  • ผู้สูงอายุ

งานวิจัยในปัจจุบัน ไม่ได้แสดงให้เห็นถึงปัญหาเฉพาะที่เกิดขึ้นในผู้สูงอายุมากนัก ทำให้ต้องจำกัดประโยชน์ของการใช้ยาทรามาดอลอย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยสูงอายุมีความเป็นไปได้มากที่จะเกิดผลข้างเคียงที่ไม่พึงประสงค์ได้ เช่น ท้องผูก หน้ามืด เวียนหัว ท้องไส้ปั่นป่วน อ่อนแรง ปัญหาของตับที่เกี่ยวกับอายุ ปัญหาไต และหัวใจ เป็นต้น ซึ่งอาจต้องการคำแนะนำถึงการปรับขนาดยาสำหรับผู้ป่วยที่รับประทานยาทรามาดอล

ความปลอดภัยในช่วงตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร

ไม่มีข้อมูลเพียงพอเกี่ยวกับวิธีใช้ยาตัวนี้ ในช่วงตั้งครรภ์ และให้นมบุตร ทุกครั้งโปรดปรึกษากับหมอของคุณ เพื่อประโยชน์และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นได้ก่อนใช้ยา

ผลข้างเคียง

ผลข้างเคียงจากการใช้ยา ทรามาดอล

เข้ารับความช่วยเหลือทางการแพทย์ทันที หากคุณมีสัญญาณใด ๆ ก็ตามของปฏิกิริยาภูมิแพ้ โรคลมพิษ ปัญหาในการหายใจ อาการบวมบนใบหน้า ริมฝีปาก ลิ้นและคอ อีกทั้งควรหยุดใช้ยาและโทรแจ้งหมอของคุณทันที หากคุณมีผลข้างเคียงรุนแรง ได้แก่

  • เห็นภาพหลอน
  • มีไข้
  • หัวใจเต้นเร็ว ชีพจรต่ำ
  • คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย
  • อาการชัก อาจถึงขั้นหมดสติ
  • รอยแดง ตุ่มพุพอง ผื่นผิวหนังลอก

อาจผลข้างเคียงที่ไม่รุนแรงที่อาจเกิดขึ้น ได้แก่

  • เวียนหัว รู้สึกหัวหมุน
  • ท้องผูก ท้องไส้ปั่นป่วน
  • ปวดหัว
  • ง่วงซึม
  • รู้สึกวิตกกังวลหรือกระวนกระวาย

ไม่ใช่ทุกคนที่จะแสดงอาการอันเนื่องมาจากผลข้างเคียงเหล่านี้ อาจมีผลข้างเคียงอื่นที่ไม่ได้ระบุไว้ข้างต้น หากคุณมีความกังวลเรื่องผลข้างเคียง โปรดปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร

ปฏิกิริยาของยา

ปฏิกิริยากับยาอื่น

ยาทรามาดอลอาจเกิดปฏิกิริยากับยาตัวอื่นที่คุณใช้อยู่ โดยสามารถเปลี่ยนประสิทธิภาพการทำงานของยา หรือเพิ่มความเสี่ยงต่อผลข้างเคียงที่รุนแรงได้ เพื่อหลีกเลี่ยงการเกิดปฏิกิริยาระหว่างยา คุณควรแจ้งรายชื่อยาทั้งหมดที่คุณใช้อยู่ รวมถึงอาหารเสริม และสมุนไพรต่าง ๆ ให้แพทย์ และเภสัชกรทราบ เพื่อความปลอดภัยของคุณอย่าเริ่ม หยุด หรือเปลี่ยนขนาดยา โดยไม่ได้รับความเห็นชอบจากแพทย์

ที่สำคัญแพทย์อาจไม่แนะนำให้ใช้ยาตัวนี้ร่วมกับยา ดังต่อไปนี้

  • ยานัลเตรโซน (Naltrexone)
  • ยาราซากิไลน์ (Rasagiline)
  • ยาเซเลกิไลน์ (Selegiline)

ไม่แนะนำให้ใช้ยาตัวนี้ร่วมกับยาเหล่านี้ แต่อาจจำเป็นต้องใช้ร่วมกันในบางกรณีเท่านั้น โดยอาจเปลี่ยนตัวยา หรือจำนวนครั้งของการใช้ยาตัวใดตัวหนึ่ง หรือตัวยาทั้งสองชนิด

  • ยาอะเซโนคูมารอล (Acenocoumarol)
  • ยาอะมิตริปไทลีน (Amitriptyline)
  • ยาอะมอคซาพิน (Amoxapine)
  • ยาแอมเฟตามีน (Amphetamine)
  • ยาบรอมเพริดอล (Bromperidol)
  • ยาบรอมฟีนิรามีน (Brompheniramine)
  • ยาบูโพรเพียน (Bupropion)
  • ยาบูสไพโรน (Buspirone)
  • ยาคาร์บามาเซพิน (Carbamazepine)
  • ยาคาร์บิโนซามีน (Carbinoxamine)
  • ยาเซริทินิบ (Ceritinib)
  • ยาคลอเฟนิรามีน (Chlorpheniramine)
  • ยาคลอโพรมาซิน (Chlorpromazine)
  • ยาคลอโพรทิซีน (Chlorprothixene)
  • ยาซิตาโลแพรม (Citalopram)
  • ยาคลาริโทรมายซิน (Clarithromycin)
  • ยาโคลบาแซม (Clobazam)
  • ยาโคลมิพรามีน (Clomipramine)
  • ยาคลอกีไลน์ (Clorgyline)
  • ยาโคลวอคซามีน (Clovoxamine)
  • ยาโคบิซิสแทท (Cobicistat)
  • โคเคน (Cocaine)
  • ยาคริโซตินิบ (Crizotinib)
  • ยาไซโครเบนซาพรีน (Cyclobenzaprine)
  • ยาเดบราเฟนิบ (Dabrafenib)
  • ยาเดซิพรามีน (Desipramine)
  • ยาเดสเวนลาฟาซีน (Desvenlafaxine)
  • ยาเดซโทรแอมเฟตามีน (Dextroamphetamine)
  • ยาเดซโทรเมทอร์ฟาน (Dextromethorphan)
  • ยาโดลาเซตรอน (Dolasetron)
  • ยาโดธิอีพิน (Dothiepin)
  • ยาโดเซพิน (Doxepin)
  • ยาดูลอคเซติน (Duloxetine)
  • ยาเอเลทริปทัน (Eletriptan)
  • ยาเอสซิตาโลแพรม (Escitalopram)
  • ยาเอสลิคาร์บาเซพิน อะซีเตท (Eslicarbazepine Acetate)
  • ยาเอโทโพรพาซีน (Ethopropazine)
  • ยาเฟมอคเซติน (Femoxetine)
  • ยาเฟนทานีล (Fentanyl)
  • ยาฟลูโคนาโซล (Fluconazole)
  • ยาฟลูออกเซติน (Fluoxetine)
  • ยาฟลูเพนธิซอล Flupenthixol)
  • ยาฟลูฟีนาซีน (Fluphenazine)
  • ยาฟลูวอคซามีน (Fluvoxamine)
  • ยากรานิเซตรอน (Granisetron)
  • ยาฮาโลเพริดอล (Haloperidol)
  • ยาไฮโดรโคดอน (Hydrocodone)
  • ยาไฮดรอกซีทริปโทฟาน (Hydroxytryptophan)
  • ยาไอเดลาลิซิบ (Idelalisib)
  • ยาไอมิพรามีน (Imipramine)
  • ยาไอโพรไนอะซิด (Iproniazid)
  • ยาไอโซคาร์บอคซาซิด (Isocarboxazid)
  • ยาเคตามีน (Ketamine)
  • ยาเลโวมิลนาซิพราน (Levomilnacipran)
  • ยาลิเนโซลิด (Linezolid)
  • ยาลิเทียม (Lithium)
  • ยาโลเฟพรามีน (Lofepramine)
  • ยาลอร์คาเซริน (Lorcaserin)
  • ยาเมคลิซีน (Meclizine)
  • ยาเมลเพโรน (Melperone)
  • ยาเมเพริดีน (Meperidine)
  • ยาเมโซริดาซีน (Mesoridazine)
  • ยาเมทาโดน (Methadone)
  • ยาเมโทไทรเมพราซีน (Methotrimeprazine)
  • ยาเมทิลีน บลู (Methylene Blue)
  • ยาเมโทโคลพราไมด์ (Metoclopramide)
  • ยามิลนาซิพราน (Milnacipran)
  • ยามิราเบกรอน (Mirabegron)
  • ยาเมียตาซาพิน (Mirtazapine)
  • ยาไมโทเทน (Mitotane)
  • ยาโมโคลเบไมด์ (Moclobemide)
  • ยาโมลินดอน (Molindone)
  • มอร์ฟีน (Morphine)
  • มอรืฟีน ซัลเฟต ไลโปโซม (Morphine Sulfate Liposome)
  • ยานาราทริปแทน (Naratriptan)
  • ยาเนฟาโซโดน (Nefazodone)
  • ยานิโลทานิบ (Nilotinib)
  • ยานอร์ทริปไทไลน์ (Nortriptyline)
  • ยาโอลานซาพีน (Olanzapine)
  • ยาออกซีโคโดน (Oxycodone)
  • ยาออกซีมอร์โฟน (Oxymorphone)
  • ยาพาโรโนเซตรอน (Palonosetron)
  • ยาพาร์กีไลน์ (Pargyline)
  • ยาพาโรเซติน (Paroxetine)
  • ยาเพจินเตอเฟรอน อัลฟา-2บี (Peginterferon Alfa-2b)
  • ยาเพนฟลูริดอล (Penfluridol)
  • ยาเพนตาโซซีน (Pentazocine)
  • ยาเพอร์ฟีนาซีน (Perphenazine)
  • ยาฟีเนลซีน (Phenelzine)
  • ยาพิโมไซด์ (Pimozide)
  • ยาไพเพอราควิน (Piperaquine)
  • ยาไพโพเทียอะซีน (Pipotiazine)
  • ยาพริมิดอน (Primidone)
  • ยาโพรคาร์บาซีน (Procarbazine)
  • ยาโพรคลอเพราซีน (Prochlorperazine)
  • ยาโพรมาซีน (Promazine)
  • ยาโพรเมทาซีน (Promethazine)
  • ยาโพรพิโอมาซีน (Propiomazine)
  • ยาโพรพอคซีฟีน (Propoxyphene)
  • ยาโพรทริปไทลีน (Protriptyline)
  • ยาเรมอคซิไพรด์ (Remoxipride)
  • ยาไรสเพอริดอน (Risperidone)
  • ยาไรซาทริปแทน (Rizatriptan)
  • ยาเซอร์ทราไลน์ (Sertraline)
  • ยาไซบูทรามีน (Sibutramine)
  • ยาซิลทูซิแมป (Siltuximab)
  • สมุนไพรเซนต์ จอห์น วอรท์ (St John’s Wort)
  • ยาซัลพิไรด์ (Sulpiride)
  • ยาซูมาทริปแทน (Sumatriptan)
  • ยาซูโวเรแซนท์ (Suvorexant)
  • ยาทาเพนทาดอล (Tapentadol)
  • ยาธิเอทิลเพอราซีน (Thiethylperazine)
  • ยาธิโอไรดาซีน (Thioridazine)
  • ยาธิโอธิซีน (Thiothixene)
  • ยาทรานิลไซโพรมีน (Tranylcypromine)
  • ยาทราโซดอน (Trazodone)
  • ยาทริฟลูโอเพอราซีน (Trifluoperazine)
  • ยาทริฟลูโพรมาซีน (Triflupromazine)
  • ยาทริเมพราซีน (Trimeprazine)
  • ยาทริมิพรามีน (Trimipramine)
  • กรดวัลโพรอิค (Valproic Acid)
  • ยาเวนลาฟาซีน (Venlafaxine)
  • ยาวิลาโซดอน (Vilazodone)
  • ยาวอร์ทิออกเซติน (Vortioxetine)
  • ยาโซลมิทริปแทน (Zolmitriptan)
  • ยาซูคลอเพนทิโซล (Zuclopenthixol)

การใช้ยาตัวนี้ร่วมกับยาใด ๆ ดังต่อไปนี้ อาจเพิ่มความเสี่ยงของผลข้างเคียงบางประการ แต่การใช้ยาร่วมกันอาจเป็นการรักษาที่ดีที่สุดสำหรับคุณ

  • ยาไดโกซิน (Digoxin)
  • ยาเพแรมพาเนล (Perampanel)
  • ยาควินิดีน (Quinidine)
  • ยาวาร์ฟาริน (Warfarin)
  • ปฏิกิริยากับอาหารหรือแอลกอฮอล์

    ยาทรามาดอลอาจมีปฏิกิริยากับอาหารหรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา หรือเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดผลข้างเคียง โปรดปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกรก่อนเสมอ

    ปฏิกิริยากับอาการโรค

    ยาทรามาดอลอาจส่งผลให้อาการโรคของคุณแย่ลง หรือส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา โปรดแจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบถึงสภาวะโรคของคุณก่อนใช้ยาเสมอ โดยเฉพาะ

    • พฤติกรรมการดื่มแอลกอฮอล์ในทางที่ผิด
    • โรคซึมเศร้าจากระบบประสาทส่วนกลาง
    • พฤติกรรมใช้ยาในทางที่ผิด
    • อาการบาดเจ็บที่หัว
    • ปัญหาฮอร์โมน
    • แรงกดดันภายในหัวเพิ่มมากขึ้น
    • โรคติดเชื้อในระบบประสาทส่วนกลาง (CNS)
    • โรคจิตเภช
    • โรคภูมิแพ้ฟีนิลคีโตนูเรีย
    • อาการชัก หรือโรคลมชัก
    • ปัญหาทางกระเพาะขั้นรุนแรง ควรใช้อย่างระมัดระวัง โอกาสของการเกิดผลข้างเคียงรุนแรงอาจเพิ่มขึ้น
    • ปัญหาปอดหรือการหายใจขั้นรุนแรง เช่น โรคหอบหืด ภาวะความดันคาร์บอนไดออกไซด์ในเลือดสูง (hypercapnia) ไม่ควรนำมาใช้ในผู้ป่วยที่มีอาการนี้
    • โรคไต
    • โรคตับ
    • หากคุณเป็นโรคฟีนิลคีโตนูเรีย (phenylketonuria) ยาเม็ดแตกตัวในปากที่มีส่วนผสมของสารฟีนิลอะลานีน (phenylalanine) สามารถทำให้อาการทรุดลงได้

    เข้าใจขนาดยา

    ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ใดๆ ทุกครั้งควรปรึกษาแพทย์ของคุณเพื่อรับทราบข้อมูลเพื่อเติมก่อนการใช้ยานี้

    ขนาดยาทรามาดอลสำหรับผู้ใหญ่

    • สำหรับอาการปวดเรื้อรังระดับน้อยจนถึงปานกลาง ไม่จำเป็นต้องการให้ผลของยาแก้ปวดออกชนิดฤทธิ์ไว

    ขนาดยาเริ่มต้น : 25 มิลลิกรัม ทุก ๆ เช้า

    การไตเตรท : เพิ่มขนาดยา 25 มิลลิกรัมเป็นยาแยก ทุก ๆ 3 วัน เพื่อให้ขนาดยาถึง 100 มิลลิกรัมต่อวัน โดยรับประทานทีละ 25 มิลลิกรัม 4 ครั้งต่อวัน จากนั้น ขนาดยาโดยรวมต่อวันอาจเพิ่มอีก 50 มิลลิกรัมเท่าที่ยังปรับตัวกับยาได้ ทุก ๆ 3 วัน เพื่อให้ขนาดยาถึง 200 มิลลิกรัมต่อวัน โดยรับประทานทีละ 50 มิลลิกรัม 4 ครั้งต่อวัน

    ขนาดยาคงที่ : หลังการไตเตรท อาจให้ยาทรามาดอล 50 มิลลิกรัมจนถึง 100 มิลลิกรัมตมที่ต้องการสำหรับบรรเทาอาการปวด ทุก ๆ 4 ถึง 6 ชั่วโมง โดยไม่ให้เกิน 400 มิลลิกรัมต่อวัน

    • สำหรับจัดการอาการปวดเรื้อรังระดับปานกลางจนถึงรุนแรงในผู้ใหญ่

    ขนาดยาเริ่มต้น : 100 มิลลิกรัม วันละครั้ง และไตเตรทเพิ่มขึ้นทุก ๆ 100 มิลลิกรัม เท่าที่จำเป็น ทุก ๆ 5 วัน เพื่อบรรเทาอาการปวด โดยขึ้นอยู่การทนสภาพยาของแต่ละบุคคล

    ขนาดยาสูงสุด : ไม่ควรให้ยาเม็ดออกฤทธิ์นานเกินกว่า 300 มิลลิกรัมต่อวัน

    สำหรับผู้ป่วยที่ต้องการให้ผลของยาแก้ปวดชนิดออกฤทธิ์ทันที และประโยชน์ที่มีมากกว่าความเสี่ยงสำหรับผู้ป่วยในการหยุดใช้ยาเนื่องจากอาการไม่พึงประสงค์ที่เกี่ยวข้องกับขนาดยาเริ่มต้นที่มากขึ้น

    ขนาดยา : ควรให้ยา 50-100 มิลลิกรัม เท่าที่จำเป็นสำหรับบรรเทาอาการปวด ทุก ๆ 4-6 ชั่วโมง โดยไม่ให้ขนาดยาเกิน 400 มิลลิกรัมต่อวัน

    ผู้ป่วยที่ไม่ได้รักษาด้วยยาทรามาดอลออกฤทธิ์ทันที (IR)

    ขนาดยาเริ่มต้น : 100 มิลลิกรัม วันละครั้ง และไตเตรทเพิ่มขึ้นทุก ๆ 100 มิลลิกรัม เท่าที่จำเป็น ทุก ๆ 5 วัน

    ขนาดยาสูงสุด : 300 มิลลิกรัมต่อวัน

    ผู้ป่วยที่กำลังรักษาด้วยยาทรามาดอลออกฤทธิ์ทันที (immediare release)

    คำนวณระยะเวลาออกฤทธิ์ยาใน 24ชั่วโมงของยาทรามาดอลออกฤทธิ์ทันที

    ขนาดยาเริ่มต้น : ลดขนาดยาครั้งต่อไปต่ำสุด 100 มิลลิกรัม ขนาดยาครั้งต่อไป อาจขึ้นอยู่กับความต้องการและความทนต่อสภาพยาของผู้ป่วยแต่ละบุคคล

    ขนาดยาสูงสุด : 300 มิลลิกรัมต่อวัน

    เนื่องจากข้อจำกัดในการเลือกขนาดยาทรามาดอลออกฤทธิ์นานที่ไม่ยืดหยุ่นมากนัก ผู้ป่วยบางคนที่รักษาด้วยยาทรามาดอลออกฤทธิ์ทันที อาจปรับตัวไม่ได้

    ขนาดยาทรามาดอลสำหรับเด็ก

    อายุ 4 ถึง 16 ปี

    ยาชนิดออกฤทธิ์ทันที : 1-2 มิลลิกรัม/กิโลกรัม/ครั้ง ทุก ๆ 4-6 ชั่วโมง

    ขนาดยาสูงสุดต่อวัน : 100 มิลลิกรัม

    ขนาดยาสูงสุดต่อวัน : คือขนาดยาน้อยกว่า 8 มิลลิกรัม/กิโลกรัม/วัน หรือ 400 มิลลิกรัมต่อวัน

    อายุตั้งแต่ 16 ปีขึ้นไป

    ขนาดยาเริ่มต้น : 50 ถึง 100 มิลลิกรัม ทุก ๆ 4-6 ชั่วโมง

    ขนาดยาสูงสุด : 400 มิลลิกรัมต่อวัน

    อีกทางเลือกหนึ่งสำหรับผู้ป่วยที่ไม่ต้องการให้เกิดผลลัพธ์อย่างรวดเร็ว ผลข้างเคียงอาจลดลงได้ด้วยการให้ขนาดยาเริ่มต้นที่ 25 มิลลิกรัมต่อวัน เพิ่มขนาดยาขึ้น 25 มิลลิกรัม ทุก ๆ 3 วัน และเพิ่มเป็น 25 มิลลิกรัม 4 ครั้งต่อวัน ขนาดยาอาจสามารถเพิ่มเป็น 50 มิลลิกรัม ทุก ๆ 3 วัน ในขณะที่ยังปรับตัวกับยาได้ จนถึง 50 มิลลิกรัม 4 ครั้งต่อวัน

    อายุตั้งแต่ 16 ปีขึ้นไป ในยาเม็ดชนิด Oral Disintegrating Tablet (ODT)

    ขนาดยาเริ่มต้น : 50 ถึง 100 มิลลิกรัม ทุก ๆ 4-6 ชั่วโมง

    ขนาดยาสูงสุด : 400 มิลลิกรัมต่อวัน

    อีกทางเลือกหนึ่ง สำหรับผู้ป่วยที่ไม่ต้องการให้เกิดผลลัพธ์อย่างรวดเร็ว ผลข้างเคียงอาจลดลง โดยการให้ขนาดยาเริ่มต้นที่ 25 มิลลิกรัมต่อวัน เพิ่มขนาดยาขึ้น 25 มิลลิกรัม ทุก ๆ 3 วัน และเพิ่มเป็น 25 มิลลิกรัม 4 ครั้งต่อวัน ขนาดยาอาจเพิ่มเป็น 50 มิลลิกรัม ทุก ๆ 3 วัน ในขณะที่ยังปรับตัวกับยาได้ จนถึง 50 มิลลิกรัม 4 ครั้งต่อวัน

    ขนาดยาสูงสุด : 400 มิลลิกรัมต่อวัน

    อายุตั้งแต่ 16 ปีขึ้นไป สำหรับยาชนิดออกฤทธิ์นาน

    ขนาดยาเริ่มต้น : 100 มิลลิกรัม วันละครั้ง

    ไตเตรทเพิ่มขึ้นทีละ 100 มิลลิกรัม ทุก ๆ 2 ถึง 3 วันหากจำเป็นสำหรับควบคุมอาการปวด

    ขนาดยาสูงสุด : 300 มิลลิกรัมต่อวัน

    รูปแบบของยา

    ยาทรามาดอลมีให้เลือกใช้ในรูปแบบและฤทธิ์ยาดังต่อไปนี้ได้แก่ ยาแคปซูล ยาเม็ดละลายน้ำ ยาเม็ดชนิด orodispersible tablet ยาเม็ด ยาแคปซูลชนิดควบคุมการปลดปล่อย และยาฉีดเข้ากระแสเลือด

    กรณีฉุกเฉินหรือใช้ยาเกินขนาด

    หากเกิดเหตุฉุกเฉิน หรือใช้ยาเกินขนาด ควรแจ้งเหตุฉุกเฉินหรือนำส่งโรงพยาบาลใกล้บ้านโดยทันที โดยอาการของการใช้ยาเกินขนาด ได้แก่

    • ขนาดของรูม่านตาเล็กลง
    • หายใจลำบาก
    • ง่วงซึมขั้นรุนแรง
    • หมดสติ
    • โคม่า (หมดสติไปช่วงเวลาหนึ่ง)
    • การเต้นของหัวใจช้าลง
    • กล้ามเนื้ออ่อนแรง
    • หนาว ผิวหนังลอก

    กรณีลืมใช้ยา

    หากคุณลืมรับประทานยาควรรีบรับประทานทันทีที่นึกได้ หรือถ้าหากใกล้ถึงเวลารับประทานยาครั้งต่อไป ให้ข้ามรอบไปรับประทานยาตามตารางปกติได้เลย ไม่ควรเพิ่มปริมาณยา

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

    เภสัชกรอาชานนท์ สมศักดิ์

    ยาและอาหารเสริม · Hello Health Group


    เขียนโดย ปราโมทย์ วงศ์คำ · แก้ไขล่าสุด 23/03/2021

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา