ข้อบ่งใช้
ธีโอฟิลลีน ใช้สำหรับ
ธีโอฟิลลีน (Theophylline) ใช้ในการรักษาและป้องกันอาการหายใจผิดปกติ และหายใจลำบากที่เกิดจากโรคปอดเรื้อรัง (เช่น โรคหอบหืด ถุงลมโป่งพอง หลอดลมอักเสบเรื้อรัง) ธีโอฟิลลีนอยู่ในกลุ่มยาที่เรียกว่า แซนทีน (xanthines) ออกฤทธิ์ในระบบทางเดินหายใจ โดยการคลายกล้ามเนื้อเพื่อเปิดทางอากาศ และทำให้หายใจสะดวกขึ้น รวมถึงลดการตอบสนองของปอดต่อสารระคายเคือง การควบคุมปัญหาในการหายใจ และสามารถลดปัญหาของการใช้ชีวิตประจำวันได้
ธีโอฟิลลีนไม่สามารถใช้งานได้ทันที ทางการแพทย์นั้นแนะนำให้ใช้ยาสำหรับสูด เช่น ยาอัลบูเทลอล (albuterol) เพื่อรักษาการหายใจถี่หรือหอบหืด ควรพกยาสำหรับสูดที่บรรเทาอาการได้อย่างรวดเร็วติดตัว ปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรเพื่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม
วิธีการใช้ ธีโอฟิลลีน
รับประทานวันละ 1 ถึง 2 ครั้ง ตามที่แพทย์แนะนำ ธีโอฟิลลีนอาจทำให้ท้องไส้ปั่นป่วน ยานี้ใช้ได้ผลดีที่สุดเมื่อปริมาณยาในร่างกายของคุณอยู่ในระดับที่เหมาะสม ควรใช้ยาในช่วงเวลาเดียวกันโปรดปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร เกี่ยวกับช่วงเวลาที่ดีที่สุดในการใช้ยาธีโอฟิลลีนแต่ละยี่ห้อ
อย่าบดหรือเคี้ยวยา ซึ่งเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดผลข้างเคียง นอกจากนี้อย่าแบ่งเม็ดยา เว้นแต่จะมีเส้นแบ่งให้แบ่งเม็ดยา ให้รับประทานทั้งเม็ดหรือที่แบ่งแล้วโดยไม่บดหรือเคี้ยว
หากคุณรับประทานแคปซูล ให้กลืนลงไปในครั้งเดียว ถ้าคุณไม่สามารถกลืนได้ คุณอาจเปิดแคปซูล และโรยผงยาลงบนอาหาร รับประทานอาหารที่มียาโรยอยู่ทันทีโดยไม่ต้องเคี้ยว จากนั้น ดื่มน้ำเปล่า (8 ออนซ์หรือ 240 มิลลิลิตร)
ปริมาณยาขึ้นอยู่กับโรค และการตอบสนองต่อการรักษา อายุ น้ำหนัก ระดับยาในเลือด และยาอื่นๆ ใช้ยานี้เป็นประจำเพื่อให้ได้รับประสิทธิภาพสูงสุด รับประทานยาในช่วงเวลาเดียวกันเพื่อง่ายต่อการจำ
การเก็บรักษา ธีโอฟิลลีน
- เก็บไว้ในอุณหภูมิห้อง รวมถึงเก็บให้พ้นจากแสงและความชื้น เพื่อป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับยา
- ควรเก็บยาให้พ้นมือเด็กและสัตว์เลี้ยง
- คุณไม่ควรทิ้งธีโอฟิลลีนลงในชักโครก หรือเทลงในท่อระบายน้ำ เว้นแต่จะได้รับคำแนะนำให้ทำเช่นนั้น สิ่งสำคัญคือทิ้งยาเมื่อยาหมดอายุ หรือไม่จำเป็นต้องใช้ยาอีกต่อไป
ธีโอฟิลลีนแต่ละยี่ห้ออาจมีวิธีเก็บแตกต่างกันไป อ่านคำแนะนำการเก็บรักษาบนฉลากผลิตภัณฑ์ หรือสอบถามแพทย์ผู้เชี่ยวชาญและเภสัชกรจัดจำหน่าย เพื่อความปลอดภัย
ข้อควรระวังและคำเตือน
ข้อควรรู้ก่อนใช้ ธีโอฟิลลีน
ก่อนการตัดสินใจใช้ธีโอฟิลีน ควรพิจารณาถึงความเสี่ยงโดยผ่านการวินิยฉัยของแพทย์ สิ่งที่คุณควรคำนึงถึงมี ดังนี้
แจ้งให้แพทย์ทราบหากคุณเคยมีอาการผิดปกติหรืออาการแพ้ใดๆ กับยาชนิดนี้ หรือยาชนิดอื่นๆ นอกจากนี้ควรบอกให้ผู้ให้บริการทางการแพทย์ทราบ หากคุณมีอาการแพ้อื่นๆร่วมด้วย เช่น อาหาร สารย้อมสี สารกันบูดหรือสัตว์ สำหรับยาที่ขายตามร้านขายยา โปรดอ่านฉลากหรือส่วนผสมบนบรรจุภัณฑ์อย่างละเอียด
ผู้ป่วยเด็ก
ศึกษาการใช้ยาที่เหมาะสมในปัจจุบัน เด็กอายุต่ำกว่า 1 ปี มีแนวโน้มที่จะเกิดผลข้างเคียงที่รุนแรงขึ้น ซึ่งอาจจำเป็นต้องใช้ยาด้วยความระมัดระวัง และปรับปริมาณยาสำหรับผู้ป่วยที่ได้รับ ธีโอฟิลลีน ได้อย่างเหมาะสม
ผู้สูงอายุ
ผู้สูงอายุอาจรู้สึกไวต่อผลของ ธีโอฟิลลีน มากกว่าผู้ที่อายุน้อยกว่า และมีแนวโน้มที่จะมีปัญหาของไต ตับ หัวใจ หรือปอด ซึ่งอาจจำเป็นต้องใช้ยาด้วยความระมัดระวัง และการปรับปริมาณยาสำหรับผู้ป่วยที่ได้รับ ธีโอฟิลลีน ได้อย่างเหมาะสม
ความปลอดภัยต่อการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร
ไม่มีการวิจัยแน่ชัดในสตรีตั้งครรภ์ ที่จะระบุความเสี่ยงขณะที่ใช้ระหว่างตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร โปรดปรึกษาแพทย์และได้รับการอนุญาตจากแพทย์ก่อนการใช้
ผลข้างเคียง
ผลข้างเคียงของการใช้ ธีโอฟิลลีน
หากมีอาการเหล่านี้ซึ่งเป็นสัญญาณของอาการแพ้ ได้แก่ ลมพิษ หายใจลำบาก หน้า ริมฝีปาก ลิ้นหรือคอบวม หยุดใช้ ธีโอฟิลลีน และไปโรงพยาบาลทันที หากเกิดผลข้างเคียงที่ร้ายแรง เช่น
- คลื่นไส้ อาเจียนรุนแรงหรือต่อเนื่อง
- หัวใจเต้นเร็วหรือไม่สม่ำเสมอ
- การชัก
- มึนงง ใจสั่นหรือตัวสั่น
- ปวดศีรษะอย่างรุนแรง
- ภาวะโพแทสเซียมต่ำ (สับสน อัตราการเต้นของหัวใจไม่สม่ำเสมอ กระหายน้ำ ปัสสาวะมากขึ้น กล้ามเนื้ออ่อนแรงหรือรู้สึกชา)
- น้ำตาลในเลือดสูง (อยากอาหาร ปากแห้ง มีกลิ่นปาก ง่วงซึม ผิวแห้ง ตาพร่ามัว น้ำหนักลด)
ผลข้างเคียงที่ร้ายแรงน้อยกว่าอาจรวมถึง
- ปวดท้อง ท้องร่วง ปวดท้อง
- ปวดศีรษะ
- เหงื่อออก
- ปัญหาการนอนหลับ (นอนไม่หลับ)
- รู้สึกกระวนกระวายใจ กังวลหรือหงุดหงิด
ไม่ใช่ทุกคนที่จะแสดงอาการอันเนื่องมาจากผลข้างเคียงเหล่านี้ อาจมีผลข้างเคียงอื่นนอกเหนือข้างต้น หากคุณมีความกังวลเรื่องผลข้างเคียง โปรดปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร
ปฏิกิริยาของยา
ปฏิกิริยากับยาอื่น
ธีโอฟิลลีน อาจเกิดปฏิกิริร่วมกับยาตัวอื่นที่คุณกำลังรับประทานอยู่ และอาจส่งผลให้ยาที่คุณรับประทานออกฤทธิ์ต่างไปจากเดิม หรือเพิ่มความเสี่ยงของผลข้างเคียงที่รุนแรง ควรแจ้งรายชื่อยาทั้งหมดที่คุณใช้ให้แพทย์ผู้เชี่ยวชาญทราบเพื่อความปลอดภัย ไม่ควรเริ่มหรือหยุดใช้ยา รวมถึงเพิ่ม ลด ปริมาณของยา โดยไม่ได้รับอนุญาตจากแพทย์
ไม่แนะนำให้ใช้ ธีโอฟิลลีน กับยาต่อไปนี้ร่วมกัน
- ยาอะมิแฟมพริดีน (Amifampridine)
- ยาไรโอคิกูแอท (Riociguat)
ปกติแล้วจะไม่แนะนำให้ใช้ ธีโอฟิลลีน กับยาต่อไปนี้ แต่ในบางกรณีมีความจำเป็นต้องใช้ร่วมกัน แพทย์อาจเปลี่ยนปริมาณยาหรือความถี่ของยาอย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งสองอย่างลดลง
- ยาอะคริวาสทีน (Acrivastine)
- ยาอะดีโนซีน (Adenosine)
- ยาบลินาทูโมแมบ(Blinatumomab)
- ยาบูโพรพริออน (Bupropion)
- ยาเซริทินิบ(Ceritinib)
- ยาซิเมทิดีน (Cimetidine)
- ยาซิโพรฟลอกซาซิน (Ciprofloxacin)
- ยาโคบิสแตท (Cobicistat)
- ยาเดเฟอราไซร็อกซ์ (Deferasirox)
- ยาดีโซเจสเทรล (Desogestrel)
- ยาไดอีโนเจสต์ (Dienogest)
- ยาไดไฮโดรอาร์เทมิซินิน (Dihydroartemisinin)
- ยาดรอสพิเรโนน (Drospirenone)
- ยาอีโนซาซิน (Enoxacin)
- ยาอิริโธรมัยซิน (Erythromycin)
- ยาเอสทราดิออล ไซพิโอเนท (Estradiol Cypionate)
- ยาเอสทราดิออล วาเลอเรท (Estradiol Valerate)
- ยาอีทินิล เอสทราดิออล (Ethinyl Estradiol)
- ยาอีธิโนดิออล ไดอาซีเตท (Ethynodiol Diacetate)
- ยาอีทินดีน (Etintidine)
- ยาอีโทโนเจสเทรล (Etonogestrel)
- ยาฟลูโคนาโซล (Fluconazole)
- ยาฟลูวอกซามีน (Fluvoxamine)
- ยาฟอสเพนนิโทอิน (Fosphenytoin)
- ยาฮาโลเทน (Halothane)
- ยาไอดีลาลิซิบ (Idelalisib)
- ยาไอโดรซิลาไมด์ (Idrocilamide)
- ยาไอมิพีเนม (Imipenem)
- ยาเลโวฟลอกซาซิน (Levofloxacin)
- ยาเลโวนอร์เจสเทรล (Levonorgestrel)
- ยาเมโดรไซโพรเจสเทอโรน อะซีเตท (Medroxyprogesterone Acetate)
- ยาเมสทรานอล (Mestranol)
- ยาเมซิเลทีน (Mexiletine)
- ยานิโลทินิบ (Nilotinib)
- ยานอเรลเจสโทรมิน (Norelgestromin)
- ยานอเรทินโดรน (Norethindrone)
- ยานอร์เจสทิเมท (Norgestimate)
- ยานอร์เจสเทรล (Norgestrel)
- ยาเพโฟลซาซิน (Pefloxacin)
- ยาเพกอินเตอร์เฟรอนชนิดอัลฟ่าสองเอ (Peginterferon Alfa-2a)
- ยาเพกอินเตอร์เฟรอนชนิดอัลฟ่าสองบี (Peginterferon Alfa-2b)
- ยาเฟนิโทอิน (Phenytoin)
- ยาพิซานโทรน (Pixantrone)
- ยาเรกาเดโนโซน (Regadenoson)
- ยาโรเฟโซคิบ (Rofecoxib)
- ยาซิลทูซิแมบ (Siltuximab)
- ยาทิอาเบนดาโซล (Thiabendazole)
- ยาโทรเลแอนโดมัยซิน (Troleandomycin)
- ยาเวมูราเฟนิบ (Vemurafenib)
- ยาไซลิวตัน (Zileuton)
การใช้ธีโอฟิลลีนกับยาต่อไปนี้ อาจทำให้เกิดความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นจากผลข้างเคียงบางอย่าง แต่บางกรณีการใช้ทั้งสองชนิดร่วมด้วยอาจเป็นการรักษาที่ดีที่สุดสำหรับแต่ละบุคคล แพทย์อาจเปลี่ยนปริมาณยาหรือความถี่ของยาอย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งสองอย่างลดลง
- ยาอะดินาโซแลม (Adinazolam)
- ยาอัลปราโซแลม (Alprazolam)
- ยาอะมิโนกลูเททิไมด์ (Aminoglutethimide)
- ยาอะมิโอดาโรน (Amiodarone)
- ยาอะซิโทรมัยซิน (Azithromycin)
- ยาโบรมาซีแพม (Bromazepam)
- ยาโบรทิโซแลม (Brotizolam)
- ยาคันนาบิส (Cannabis)
- ยาคาร์บามาซีพีน (Carbamazepine)
- ยาคลอร์ไดอะซีโพไซด์ (Chlordiazepoxide)
- ยาคลอบาแซม (Clobazam)
- ยาคลอนาซีแพม (Clonazepam)
- ยาคลอราซีเพท (Clorazepate)
- ยาไดอะซีแพม (Diazepam)
- ยาไดซัลฟิแรม (Disulfiram)
- ยาเอสทาโซแลม (Estazolam)
- ยาเฟบูโซสแตท (Febuxostat)
- ยาฟลูนิทราซีแพม (Flunitrazepam)
- ยาฟลูราซีแพม (Flurazepam)
- ยาฮาลาซีแพม (Halazepam)
- ยาอินเตอร์เฟรอนชนิดอัลฟาสองเอ (Interferon Alfa-2a)
- ยาไอพริฟลาโวน (Ipriflavone)
- ยาไอโซโพรเทเรนอล (Isoproterenol)
- ยาคีตาโซแลม (Ketazolam)
- ยาลอราซีแพม (Lorazepam)
- ยาลอร์เมทาซีแพม (Lormetazepam)
- ยาเมดาซีแพม (Medazepam)
- ยาเมโทเทรกเซท (Methotrexate)
- ยามิดาโซแลม (Midazolam)
- ยาไนลูทาไมด์ (Nilutamide)
- ยาไนทราซีแพม (Nitrazepam)
- ยาออกซาซีแพม (Oxazepam)
- ยาแพนคูโรเนียม (Pancuronium)
- ยาเพนโทซิฟิลลีน (Pentoxifylline)
- ยาฟิโนบาร์บิทอล (Phenobarbital)
- ยาไพเพอรีน (Piperine)
- ยาพราซีแพม (Prazepam)
- ยาโพรพาฟีโนน (Propafenone)
- ยาควอซีแพม (Quazepam)
- ยาไรแฟมพิน (Rifampin)
- ยาไรฟาเพนทีน (Rifapentine)
- ยาไรลูโซล (Riluzole)
- ยาริโทนาเวียร์ (Ritonavir)
- ยาเซโคบาร์บิทอล (Secobarbital)
- สมุนไพรเซนต์จอห์นเวิร์ต (St John’s Wort)
- ยาทาครีน (Tacrine)
- ยาทาโครลิมุส (Tacrolimus)
- ยาเทลิโทรมัยซิน (Telithromycin)
- ยาเทมาซีแพม (Temazepam)
- ยาไทโคลพิดีน (Ticlopidine)
- ยาไทรอะโซแลม (Triazolam)
- ยาไวโลซาซีน (Viloxazine)
- ยาซาฟริลูคัสท์ (Zafirlukast)
ปฏิกิริยากับอาหารหรือแอลกอฮอล์
ธีโอฟิลลีนอาจมีปฏิกิริยากับอาหารหรือแอลกอฮอล์ โดยเปลี่ยนฤทธิ์ยา หรือเพิ่มความเสี่ยงให้ที่จะเกิดผลข้างเคียงที่รุนแรง โปรดปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร ถึงอาหารหรือแอลกอฮอล์ที่อาจทำปฏิกิริยากับยานี้ ก่อนใช้ยา
ปฏิกิริยากับอาการโรคอื่น
ธีโอฟิลลีนอาจส่งผลต่อสุขภาพของคุณ โดยอาจทำให้สุขภาพของคุณย่ำแย่ลงหรือเปลี่ยนฤทธิ์ของยา โปรดแจ้งให้แพทย์และเภสัชกรทราบเกี่ยวกับสุขภาพและโรคประจำตัวของคุณ โดยเฉพาะอาการหรือโรคต่อไปนี้
- ภาวะหัวใจล้มเหลว
- โรคหัวใจ
- มีไข้ 102 องศาฟาเรนไฮต์ หรือสูงกว่า เป็นเวลา 24 ชั่วโมงหรือมากกว่านั้น
- ภาวะพร่องฮอร์โมนไทรอยด์ (underactive thyroid)
- การติดเชื้อรุนแรง (เช่นภาวะติดเชื้อแบคทีเรีย)
- โรคไตในเด็กอายุต่ำกว่า 3 เดือน
- โรคตับ (เช่น โรคตับแข็ง โรคตับอักเสบ)
- อาการบวมน้ำในปอด (โรคปอด)
- ช็อก (โรคร้ายแรงซึ่งเลือดไหลเวียนน้อยมากในร่างกาย) ใช้ยาด้วยความระมัดระวัง ผลกระทบอาจเพิ่มขึ้น เนื่องจากการกำจัดยาออกจากร่างกายเป็นไปอย่างช้า
- ปัญหาจังหวะการเต้นของหัวใจ (เช่น ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ)
- ชักหรือเคยชักมาก่อน
- แผลในกระเพาะอาหาร ควรใช้ยาด้วยความระมัดระวัง อาจทำให้อาการแย่ลง
ขนาดยา
ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรทุกครั้ง ก่อนใช้ยานี้
ขนาดธีโอฟิลลีนสำหรับผู้ใหญ่
ขนาดยาสำหรับรักษาโรคหอบหืดชนิดเฉียบพลัน
ขนาดยาเริ่มต้น : 5 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม สำหรับผู้ป่วยที่ไม่ได้รับธีโอฟิลลีน(theophylline) หรือ ยาอะมิโนฟิลลีน (aminophylline)
ขนาดต่อเนื่อง:
ผู้ที่ไม่สูบบุหรี่ : 10 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมต่อวัน ไม่เกิน 900 มิลลิกรัมต่อวัน
ผู้ที่สูบบุหรี่ : 16 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมต่อวัน
ผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจล้มเหลว หรือโรคปอดอุดกั้นชนิดเรื้อรัง : 5 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมต่อวัน ไม่เกิน 400 มิลลิกรัมต่อวัน
ขนาดยาทั่วไปที่มีผลต่อการรักษาโรคหอบหืด
ขนาดยาเริ่มต้น: 5 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม สำหรับผู้ป่วยที่ไม่ได้รับธีโอฟิลลีน(theophylline) หรือ ยาอะมิโนฟิลลีน (aminophylline)
ขนาดต่อเนื่อง :
ผู้ที่ไม่สูบบุหรี่ : 10 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมต่อวัน ไม่เกิน 900 มิลลิกรัมต่อวัน
ผู้ที่สูบบุหรี่ : 16 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมต่อวัน
ผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจล้มเหลวหรือโรคปอดอุดกั้นชนิดเรื้อรัง: 5 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมต่อวัน ไม่เกิน 400 มิลลิกรัมต่อวัน
ขนาดยาสำหรับผู้สูงอายุที่เป็นหอบหืดชนิดเฉียบพลัน
ขนาดยาเริ่มต้น: 5 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม สำหรับผู้ป่วยที่ไม่ได้รับ ธีโอฟิลลีน (theophylline) หรือ ยาอะมิโนฟิลลีน (aminophylline)
ขนาดยาต่อเนื่อง :
ผู้ที่ไม่สูบบุหรี่ : 10 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมต่อวัน ไม่เกิน 900 มิลลิกรัมต่อวัน
ผู้ที่สูบบุหรี่ : 16 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมต่อวัน
ผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจล้มเหลวหรือโรคปอดอุดกั้นชนิดเรื้อรัง : 5 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมต่อวัน ไม่เกิน 400 มิลลิกรัมต่อวัน
ขนาดยาที่มีผลต่อการรักษาผู้สูงอายุที่เป็นโรคหอบหืด
ขนาดยาเริ่มต้น: 5 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม สำหรับผู้ป่วยที่ไม่ได้รับ ธีโอฟิลลีน (theophylline) หรือ ยาอะมิโนฟิลลีน (aminophylline)
ขนาดยาต่อเนื่อง :
ผู้ที่ไม่สูบบุหรี่และมีสุขภาพดี : 10 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมต่อวัน ไม่เกิน 900 มิลลิกรัมต่อวัน
ผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจล้มเหลวหรือโรคปอดอุดกั้นชนิดเรื้อรัง : 5 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมต่อวัน ไม่เกิน 400 มิลลิกรัมต่อวัน
ปริมาณของยาธีโอพิลลีนสำหรับเด็ก
ขนาดยาเริ่มต้น :
หากไม่ใช้ธีโอฟิลลีนใน 24 ชั่วโมงก่อนหน้านี้ : 5 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม เป็นปริมาณยาเพื่อให้ได้ซีรัมที่มีความเข้มข้นประมาณ 10 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร ควรให้ขนาดยาเริ่มต้น โดยใช้ยาที่ออกฤทธิ์ทันที มากกว่ายาที่ออกฤทธิ์ในระยะยาว
หากใช้ธีโอฟิลลีนใน 24 ชั่วโมงก่อนหน้านี้ : อาจต้องให้ธีโอฟิลลีนขนาด 2.5 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ในกรณีฉุกเฉิน เมื่อไม่มีความเข้มข้นของซีรัมเพียงพอ ขนาดยาอาจคำนวณโดยใช้ (เมื่อทราบระดับซีรัม) : [ความเข้มข้นของเลือดที่ต้องการ – ความเข้มข้นของเลือดที่วัดได้] หารด้วย 2 (สำหรับทุก 1 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมที่ให้ ธีโอฟิลลีน ระดับเลือดจะเพิ่มขึ้นประมาณ 2 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร)
ขนาดยาต่อเนื่อง :
อายุน้อยกว่า 42 วัน : 4 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมต่อวัน
อายุ 42 วันถึง 181 วัน : รับประทานยา 10 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมต่อวัน หรือขนาดยาสำรอง : [(0.2 x อายุในสัปดาห์) + 5] x กิโลกรัม = ปริมาณรับประทาน 24 ชั่วโมงเป็นมิลลิกรัม
อายุ 6 เดือนขึ้นไปแต่น้อยกว่า 12 เดือน : 12 ถึง 18 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมต่อวันหรือขนาดยาสำรอง : [(0.2 x อายุในสัปดาห์) + 5] x กิโลกรัม = ปริมาณรับประทาน 24 ชั่วโมงเป็นมิลลิกรัม
อายุ 1 ปีถึง 8 ปี: 20 ถึง 24 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมต่อวัน
อายุ 9 ปีถึง 11 ปี : 16 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมต่อวัน
อายุ 12 ปีถึง 15 ปี : 13 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมต่อวัน
อายุ 16 ปีหรือมากกว่า : 10 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมต่อวัน ไม่เกิน 900 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมต่อวัน
รูปแบบของยา
ธีโอฟิลลีน มีรูปแบบดังต่อไปนี้
- แคปซูล : 100, 200, 300 และ 400 มิลลิกรัม
- ยาน้ำ : 80 มิลลิกรัมต่อ 15 มิลลิลิตร (473 มิลลิลิตร)
- สารละลาย : 80 มิลลิกรัมต่อ 15 มิลลิลิตร
- ยาเม็ด : แคปซูล : 100, 200, 300, 450 และ 600 มิลลิกรัม
กรณีฉุกเฉินหรือการใช้ยาเกินขนาด
หากเกิดเหตุฉุกเฉินหรือใช้ยาเกินขนาด ควรแจ้งเหตุฉุกเฉิน หรือนำส่งห้องฉุกเฉินใกล้บ้านโดยทันที
กรณีลืมใช้ยา
หากคุณลืมใช้ยาควรรีบใช้ทันทีที่นึกได้ หรือถ้าหากใกล้ถึงเวลาใช้ยาครั้งต่อไป ให้ข้ามรอบไปใช้ยาตามตารางปกติ ไม่ควรเพิ่มปริมาณของยา
Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรคหรือการรักษาโรคแต่อย่างใด
[embed-health-tool-bmi]