backup og meta

ยาแก้ปวดและแก้อักเสบ "มีลอกซิแคม" ช่วยอะไรคุณได้บ้าง

ยาแก้ปวดและแก้อักเสบ "มีลอกซิแคม" ช่วยอะไรคุณได้บ้าง

ยามีลอกซิแคม (Meloxicam) อยู่ในกลุ่มยาต้านอาการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs) เป็นยาที่ใช้ในการรักษาผู้ป่วยข้ออักเสบรูมาตอยด์ (rheumatoid arthritis) โรคข้อกระดูกสันหลังอักเสบยึดติด (ankylosing spondylitis) และ ข้อเสื่อม (osteoarthritis) ยาแก้ปวดและแก้อักเสบ “มีลอกซิแคม’ นี้ อยู่ในรูปแบบของยาเม็ดธรรมดาและยาเม็ดชนิดใช้อมละลายในปาก (orodispersible tablets)

ฤทธิ์ของ ยาแก้ปวดและแก้อักเสบ “มีลอกซิแคม’

ยามีลอกซิแคม ออกฤทธิ์โดยการยับยั้งเอนไซม์ไซโคลออกซิเจเนส (cyclo-oxygenase/COX) ซึ่งสร้างสารโพรสตาแกลนดิน (prostaglandins) ในบริเวณที่ได้รับบาดเจ็บ หรือถูกทำลาย สารดังกล่าวเป็นต้นเหตุของความรู้สึกเจ็บปวดและการอักเสบ ด้วยคุณสมบัติในการยับยั้งเอนไซม์ดังกล่าว ยาเมลอกซิแคม จึงช่วยลดอาการปวดรุนแรง และการอักเสบในผู้ป่วยได้

ข้อควรรู้ก่อนการใช้ยามีลอกซิแคม

ตามที่ทราบกันว่า เราสามารถใช้ยาชนิดต่างๆ ได้ หากยาชนิดนั้นเหมาะสมกับภาวะสุขภาพ ยาเฉพาะบางจำพวกจำเป็นต้องระมัดระวังในการใช้เป็นพิเศษ ดังนั้น ก่อนที่คุณจะใช้ยามีลอกซิแคม คุณควรแจ้งให้แพทย์ทราบ หากคุณมีภาวะดังต่อไปนี้

  • ตั้งครรภ์ มีแผนจะตั้งครรภ์ หรืออยู่ระหว่างการให้นมบุตร
  • สูบบุหรี่
  • ใช้ยาชนิดอื่นๆ อยู่ ทั้งที่แพทย์สั่ง หรือยาสมุนไพร หรือ อาหารเสริม
  • เคยมีแผลในกระเพาะอาหารหรือเคยมีอาการลำไส้อักเสบ
  • เคยมีอาการเลือดคั่ง
  • เคยมีอาการแพ้ยา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ยาในกลุ่มต้านอาการอักเสบ (NSAIDs)
  • เป็นโรคเกี่ยวกับตับหรือไต
  • มีปัญหาเกี่ยวกับระบบไหลเวียนโลหิต
  • มีปริมาณน้ำตาลในเลือด ระดับคอเลสเตอรอลสูง หรือความดันโลหิตสูง
  • เป็นโรคแพ้ภูมิตัวเอง (systemic lupus)
  • มีอาการโรคหอบหืดหรืออาการแพ้ต่างๆ

วิธีการใช้ยามีลอกซิแคม

นอกจากการใช้ยาตามที่แพทย์สั่งแล้ว คุณควรอ่านคำแนะนำการใช้ยาบนเอกสารกำกับยา ซึ่งมักบรรจุอยู่ในบรรจุภัณฑ์ เพื่อจะได้ทราบรายละเอียดของยา รวมถึงผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นได้

คุณควรปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัดในเรื่องของขนาดยาที่ใช้

สำหรับชนิดเม็ด

ควรรับประทานหลังอาหาร ดื่มน้ำมากๆ ในขณะกินยา

สำหรับยาที่ละลายในปาก

ดื่มน้ำก่อนการใช้ยา นำยาออกจากผลิตภัณฑ์โดยอย่าให้ยาชื้น จากนั้น อมยาให้ยาค่อยๆ ละลาย รอประมาณ 5 นาที และดื่มน้ำตามเพื่อกลืนยาที่ละลาย

อย่าเคี้ยวหรือกลืนยา หากตัวยาไม่ละลาย ควรใช้ยาตรงเวลาทุกวัน หากคุณลืมทานยา ควรทานยาทันทีเมื่อนึกได้ แต่หากลืมกินยาตลอดทั้งวัน ไม่ควรเพิ่มปริมาณยาเป็น 2 เท่าในวันถัดไป

วิธีการเก็บรักษายามีลอกซิแคม

ควรเก็บรักษายาในอุณหภูมิที่เย็นและแห้ง ไม่ควรเก็บยาในที่ถูกแสงและความร้อน และเก็บยาไว้ในบรรจุภัณฑ์เดิม

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัย หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

[embed-health-tool-bmi]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Meloxicam for pain and inflammation. https://patient.info/medicine/meloxicam-for-pain-and-inflammation Accessed May 31, 2017

Meloxicam. https://www.webmd.com/drugs/2/drug-911/meloxicam-oral/details. Accessed October 30, 2019

Meloxicam. https://www.drugs.com/meloxicam.html. Accessed October 30, 2019

เวอร์ชันปัจจุบัน

02/02/2021

เขียนโดย ฤทธิศักดิ์ วงศ์วุฒิพงษ์

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย เภสัชกรอาชานนท์ สมศักดิ์

อัปเดตโดย: Nattavara Pasathan


บทความที่เกี่ยวข้อง

ยาแก้เจ็บคอ ควรใช้เมื่อไหร่ดี มีข้อควรระวังอย่างไร

เบต้า บล็อกเกอร์ (Beta Blockers) อีกหนึ่ง ยาลดความดัน ที่คุณควรรู้จัก


ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

เภสัชกรอาชานนท์ สมศักดิ์

ยาและอาหารเสริม · Hello Health Group


เขียนโดย ฤทธิศักดิ์ วงศ์วุฒิพงษ์ · แก้ไขล่าสุด 02/02/2021

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา