ข้อบ่งใช้
ลูทีนใช้สำหรับ
ลูทีน (lutein) เรียกกันว่าวิตามินแคโรทีนอยด์ (Carotenoids) มีความเกี่ยวข้องกับเบต้าแคโรทีนและวิตามินเอ อาหารที่เต็มไปด้วยลูทีน มีทั้ง บล็อคโคลี่ ปวยเล้ง คะน้า ข้าวโพด พริกหยวก กีวี่ องุ่น น้ำส้มคั้น แตง และน้ำเต้า
หลายคนคิดถึงลูทีนในฐานะของ “วิตามินสำหรับดวงตา’ ใช้เพื่อป้องกันโรคตารวมถึงโรคจอประสาทตาเสื่อมเนื่องจากอายุ ต้อกระจก และโรคจอตามีสารสี (retinitis pigmentosa)
บางคนยังใช้มันเพื่อป้องกันมะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งเต้านม โรคเบาหวานชนิดที่ 2 และโรคหัวใจอีกด้วย
การทำงานของลูทีน
ยังไม่มีงานวิจัยเกี่ยวกับการทำงานของลูทีนที่มากพอ โปรดปรึกษากับแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม อย่างไรก็ตามเป็นที่ทราบกันว่าลูทีนคือหนึ่งในสองแคโรทีนอยด์หลัก ที่พบเป็นเม็ดสีในดวงตาของมนุษย์ (ในส่วนที่เรียกว่ามาคูลาและจอประสาทตา) คาดว่ามันทำหน้าที่เป็นตัวกรองแสง ปกป้องเนื้อเยื่อตาไม่ให้โดนแสงแดดทำร้าย
ข้อควรระวังและคำเตือน
ข้อควรรู้ก่อนใช้ลูทีน
ปรึกษากับแพทย์ในกรณีดังต่อไปนี้
- คุณกำลังตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร เนื่องจากขณะที่คุณกำลังจะมีลูกหรือกำลังให้นมบุตร คุณควรจะใช้ยาตามคำแนะนำของแพทย์เท่านั้น
- หากคุณกำลังใช้ยาอื่นอยู่ รวมไปถึงยาที่คุณกำลังใช้อยู่ซึ่งสามารถหาซื้อได้โดยไม่ต้องมีใบสั่งยา
- หากคุณมีอาการแพ้กับสารลูทีน ยาอื่นๆ หรือสมุนไพรอื่นๆ
- หากคุณมีอาการเจ็บป่วย มีความผิดปกติ หรืออาการโรคอื่นใด
- หากคุณมีอาการภูมิแพ้อื่นๆ เช่น แพ้อาหาร แพ้สีย้อม แพ้สารกันบูด หรือแพ้สัตว์
ข้อบังคับในการใช้อาหาเสริมนั้น มีเข้มงวดน้อยกว่าข้อบังคับในการใช้ยา ยังต้องการงานวิจัยอีกมากเพื่อบ่งชี้ความปลอดภัย ประโยชน์ของอาหารเสริมนี้จะต้องมีมากกว่าความเสี่ยงก่อนที่จะใช้งาน โปรดปรึกษากับแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม
ความปลอดภัยของลูทีน
ลูทีนนั้นจะปลอดภัยหากรับประทานได้อย่างเหมาะสม การบริโภคลูทีน 6.9-11.7 มก. ต่อวัน ในฐานะส่วนหนึ่งของอาหารดูเหมือนจะปลอดภัย อาหารเสริมลูทีนสามารถใช้ได้อย่างปลอดภัยในการศึกษาหลายชิ้น ในขนาด 15 มก. ต่อวัน เป็นเวลา 2 ปี
ข้อควรระวังเป็นพิเศษและคำเตือน
การตั้งครรภ์และให้นมบุตร: ลูทีนมีแนวโน้มว่าจะปลอดภัย เมื่อใช้ในปริมาณเท่ากับที่พบในอาหาร
ซิสติกไฟโบรซิส (Cystic fibrosis): คนที่เป็นโรคซิสติกไฟโบรซิส (โรคทางพันธุกรรมที่ทำให้สารคัดหลั่งในร่างกายมีความเหนียวข้นปิดปกติ) อาจจะไม่สามารถดูดซึมแคโรทีนอยด์บางชนิดจากอาหารได้ดีเท่าไหร่นัก และมักจะมีระดับลูทีนในเลือดต่ำ ปริมาณที่ร่างกายสามารถดูดซับจากอาหารเสริมลูทีนนั้น อาจจะลดลงในผู้ที่ป่วยเป็นโรคซิสติกไฟโบรซิส
ผลข้างเคียง
ผลข้างเคียงของการใช้ยาลูทีน
หากคุณมีความกังวลเกี่ยวกับผลข้างเคียงใดๆ โปรดปรึกษากับแพทย์
ปฏิกิริยาของยา
ปฏิกิริยาต่อลูทีน
ลูทีนอาจเกิดปฏิกิริยากับยาอื่นที่คุณกำลังใช้อยู่ หรือต่ออาการโรคของคุณ ควรปรึกษากับแพทย์ก่อนการใช้
ขนาดยา
ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษากับแพทย์ทุกครั้งเพื่อรับทราบข้อมูลเพิ่มเติมก่อนใช้ยานี้
ขนาดปกติของการใช้ลูทีน
ขนาดตามการศึกษาวิจัย
รับประทาน
- เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคต้อกระจก และโรคจอประสาทตาเสื่อมเนื่องจากอายุ: ลูทีน 6 มก. ต่อวัน ทั้งทางอาหารหรืออาหารเสริม ผู้ที่รับประทานลูทีนโดยเฉลี่ย 6.9 ถึง 11.7 มก. ต่อวัน ผ่านทางอาหารมีความเสี่ยงในการเป็นโรคจอประสาทตาเสื่อมเนื่องจากอายุและโรคต้อกระจกน้อยที่สุด
- สำหรับการลดอาการของโรคจอประสาทตาเสื่อมเนื่องจากอายุ: อาหารเสริมลูทีน 10 มก. ต่อวัน
- ผักเคลสุก 1 ถ้วย มีสารลูทีน 44 มก. ปวยเล้งสุก 1 ถ้วย มีสารลูทีน 26 มก. บล็อคโคลี่ 1 ถ้วย มีสารลูทีน 3 มก.
ขนาดของลูทีนอาจแตกต่างกันสำหรับผู้ป่วยแต่ละคน ปริมาณที่คุณจะใช้นั้นขึ้นอยู่กับอายุ สุขภาพ และเงื่อนไขอื่นๆ อาหารเสริมนั้นไม่ได้ปลอดภัยเสมอไป โปรดปรึกษาแพทย์ถึงปริมาณที่เหมาะสม
รูปแบบของลูทีน
จุดเด่นและรูปแบบการใช้งานมีดังนี้
- ซอฟท์เจล
- แคปซูล
- รูปแบบตามธรรมชาติในอาหารบางชนิด เช่น บล็อคโคลี่ ปวยเล้ง เคล ข้าวโพด พริกหยวก กีวี่ องุ่น น้ำส้มคั้น แตง และพืชผักกลุ่มฟักทอง
Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรคหรือการรักษาโรคแต่อย่างใด
[embed-health-tool-bmi]