backup og meta

อัลฟาแคลซิดอล (Alfacalcidol)

Uses

ยาอัลฟาแคลซิดอลใช้สำหรับ

ยาอัลฟาแคลซิดอล (Alfacalcidol) มักใช้เพื่อรักษาอาการดังนี้

  • รักษาและป้องกันภาวะของกระดูกที่เกิดจากอาการไตวาย (ภาวะกระดูกเสื่อม)
  • รักษาอาการป่วยหรือผิดปกติต่างๆ ที่ส่งผลต่อต่อมพาราไทรอยด์ที่ทำหน้าที่ผลิตสารที่เรียกว่าฮอร์โมนพาราไทรอยด์
  • ปรับระดับภาวะแคลเซียมในเลือดต่ำของทารกแรกเกิด หรือไฮโปแคลซีเมีย (hypocalcaemia)
  • รักษากระดูกกร่อนเนื่องจากขาดแคลเซียม ((rickets/osteomalacia)

ในบางครั้งแพทย์อาจสั่งยานี้ เพื่อรักษาอาการอื่นที่ไม่ได้ระบุไว้ข้างต้น

วิธีการใช้ยาอัลฟาแคลซิดอล

ยาชนิดนี้อยู่ในรูปแบบแคปซูล (สำหรับรับประทาน) ยาหยอด (ทางปาก) หรือ การฉีด (เข้าหลอดเลือดดำ)

ควรใช้ยานี้เป็นประจำเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด

ควรใช้ยาเวลาเดียวกันเป็นประจำทุกวัน เว้นแต่ได้รับคำแนะนำจากแพทย์

อาจใช้เวลาหลายวันก่อนจะเห็นผลจากการใช้ยา

แพทย์อาจมีคำแนะนำเกี่ยวกับขนาดยาที่ใช้แตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับปัญหาสุขภาพต่างๆ

การเก็บรักษายาอัลฟาแคลซิดอล

ควรเก็บรักษายาอัลฟาแคลซิดอลในอุณหภูมิห้อง รวมถึงเก็บให้พ้นจากแสงและความชื้น เพื่อป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับยา คุณไม่ควรเก็บไว้ในห้องน้ำหรือตู้เย็น ยาอัลฟาแคลซิดอลแต่ละยี่ห้ออาจมีวิธีเก็บแตกต่างกันไป สิ่งสำคัญคือการอ่านคำแนะนำการเก็บรักษายาบนบรรจุภัณฑ์ หรือสอบถามเภสัชกร เพื่อความปลอดภัย คุณควรเก็บยาให้พ้นมือเด็กและสัตว์เลี้ยง

คุณไม่ควรทิ้งยาอัลฟาแคลซิดอลลงในชักโครก หรือเทลงในท่อระบายน้ำ เว้นแต่คุณได้รับคำแนะนำให้ทำอย่างนั้น สิ่งสำคัญคือทิ้งยาเมื่อยาหมดอายุ หรือไม่จำเป็นต้องรับประทานอีกต่อไป ควรปรึกษาเภสัชกรเพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีทิ้งยาอย่างปลอดภัย

ข้อควรระวังและคำเตือน

สิ่งที่ควรรู้ก่อนใช้ยาอัลฟาแคลซิดอล

ควรแจ้งแพทย์ก่อนใช้ยา ในกรณีดังต่อไปนี้

  • คุณกำลังตั้งครรภ์หรืออยู่ในช่วงให้นมบุตร เนื่องจากขณะที่คุณตั้งครรภ์หรือให้นม คุณควรใช้ยาตามคำแนะนำของแพทย์
  • อยู่ระหว่างการใช้ยาชนิดอื่น รวมถึงยาที่คุณซื้อโดยไม่มีใบสั่งยา เช่น สมุนไพร และการรักษาโดยแพทย์ทางเลือก
  • มีอาการแพ้ต่อส่วนประกอบของอัลฟาแคลซิดอล และยาชนิดอื่น ทั้งสารออกฤทธิ์และไม่ออกฤทธิ์
  • มีอาการป่วย ผิดปกติ หรือมีปัญหาสุขภาพอื่นๆ
  • แพ้วิตามินดี หรือมีอาการแพ้อื่นๆ

ก่อนการผ่าตัดหรือเข้ารับบริการทันตกรรม ควรแจ้งแพทย์ว่าคุณกำลังใช้ยาชนิดนี้อยู่

สำหรับผู้สูงอายุ ควรระมัดระวังการใช้ยาอัลหาแคลซิดอลในผู้สูงอายุที่มีภาวะไตเสื่อม ซึ่งเป็นอาการที่เกิดขึ้นเมื่ออายุมากขึ้น และอาจเกิดผลข้าง

เคียงจากการใช้ยานี้ได้ง่ายขึ้น

ความปลอดภัยต่อการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร

ยังไม่มีการศึกษาในผู้หญิงที่เพียงพอที่จะระบุความเสี่ยง ในการใช้ยาอัลฟาแคลซีดอลระหว่างตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร ควรปรึกษาแพทย์ทุกครั้งเพื่อประเมินข้อดีและความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น ก่อนรับประทานยาชนิดนี้

ผลข้างเคียง

ผลข้างเคียงจากการใช้ยาอัลฟาแคลซิดอล

ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นขณะใช้ยาชนิดนี้ ได้แก่

  • ปวดปัสสาวะบ่อย
  • อวัยวะส่วนต่างๆ เกิดอาการบวม
  • เป็นไข้ร่วมกับเจ็บสีข้าง
  • กระหายน้ำ
  • ปากแห้ง หรือรู้สึกถึงรสชาติโลหะในปาก
  • เหนื่อยล้าหรือปวดกล้ามเนื้อหรือกระดูก
  • คลื่นไส้
  • ท้องผูก
  • อาการคัน
  • ผื่นผิวหนัง
  • ผื่นลมพิษ

อาการแพ้ที่รุนแรงต่อยานี้มักไม่ค่อยเกิดขึ้น แต่หากเกิดอาการแพ้ควรรีบพบแพทย์ อาการแพ้รุนแรงมีดังนี้คือ ผื่น คัน บวมตามอวัยวะ เช่น หน้า ลิ้น ลำคอ อาการเวียนศีรษะ หายใจลำบาก

ไม่ใช่ทุกคนที่จะแสดงอาการอันเนื่องมาจากผลข้างเคียงเหล่านี้ และอาจมีผลข้างเคียงอื่นที่ไม่ได้ระบุไว้ข้างต้น หากคุณมีความกังวลเรื่องผลข้างเคียง โปรดปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร

ปฏิกิริยาของยา

ปฏิกิริยากับยาชนิดอื่น

ยาอัลฟาแคลซิดอลอาจมีปฏิกิริยาต่อยาตัวอื่นที่คุณกำลังรับประทานอยู่ และอาจส่งผลให้ยาที่คุณรับประทานออกฤทธิ์ต่างไปจากเดิม หรือเพิ่มความเสี่ยงของผลข้างเคียงที่รุนแรง เพื่อหลีกเลี่ยงการทำปฏิกิริยาต่อกันระหว่างยาที่อาจเป็นไปได้ คุณควรเก็บรายชื่อยาทั้งหมดที่คุณใช้ (ทั้งยาที่จำหน่ายตามใบสั่งยา ยาที่จำหน่ายโดยไม่ต้องใช้ใบสั่งยา และสมุนไพร) และแจ้งให้แพทย์รวมถึงเภสัชกรทราบ เพื่อความปลอดภัย อย่าเริ่มหรือหยุดรับประทาน รวมถึงเปลี่ยนขนาดยา โดยไม่ได้รับอนุญาตจากแพทย์

ยาที่อาจะทำปฏิกิริยากับยาชนิดนี้มีดังนี้

  • ยากันชัก สำหรับโรคลมชักหรือลมบ้าหมู
  • ยาบาร์บิทูราเรท (Barbiturates) สำหรับโรคเกี่ยวกับการนอนหลับ
  • ยาคาร์ดิแอกไกลโคไซด์ (Cardiac glycosides) เช่น ยาไดจอกซิน (digoxin) สำหรับโรคเกี่ยวกับหัวใจ
  • ยาคอเลสไทรามีน (Colestyramine) สำหรับลดระดับคอเลสเตอรอล หรือช่วยบรรเทาอาการท้องร่วงหรือคันบางชนิด
  • ยาไธอะไซด์ไดยูเรติก (Thiazide diuretics) มักถูกเรียกว่า “ยาขับน้ำ’

ปฏิกิริยากับอาหารหรือแอลกอฮอล์

ยาอัลฟาแคลซิดอลอาจมีปฏิกิริยากับอาหารหรือแอลกอฮอล์โดยเปลี่ยนฤทธิ์ยา หรือเพิ่มความเสี่ยงให้ที่จะเกิดผลข้างเคียงที่รุนแรง

โปรดปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรเพื่อถามถึงอาหารหรือแอลกอฮอล์ที่อาจทำปฏิกิริยากับยานี้ก่อนรับประทานยา

ปฏิกิริยาต่ออาการโรคอื่น

ยาอัลฟาแคลซิดอลอาจส่งผลต่อสุขภาพของคุณ ปฏิกิริยาของยาที่มีต่อร่างกายอาจทำให้สุขภาพของคุณแย่ลง หรือส่งผลต่อฤทธิ์ของยา

โปรดแจ้งให้แพทย์และเภสัชกรทราบเกี่ยวกับสุขภาพและโรคประจำตัวของคุณ อาการโรคอื่นที่อาจมีปฏิกิริยากับยาชนิดนี้ได้แก่

  • ไฮเปอร์แคลซีเมีย (ระดับแคลเซียมในเลือดสูง)
  • ภาวะการสะสมของหินปูน (ระดับแคลเซียมในเนื้อเยื่อของร่างกาย)
  • ปัญหาเกี่ยวกับไต เช่น นิ่วในไต (นิโฟรลีธิเอซีส)

Dosage

ข้อมูลเหล่านี้ไม่สามารถแทนคำปรึกษาทางการแพทย์ ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร ก่อนใช้ยาอัลฟาแคลซิดอล

ขนาดยาอัลฟาแคลซิดอลสำหรับผู้ใหญ่

ขนาดยาที่ใช้ขึ้นอยู่กับอายุ เพศ และประวัติทางการแพทย์ การตอบสนองต่อการรักษา และการใช้ร่วมกับยาบางประเภท

ขนาดยาอัลฟาแคลซิดอลสำหรับเด็ก

ยังไม่มีการระบุขนาดยาที่ใช้สำหรับผู้ป่วยเด็ก การใช้ยานี้ในเด็กอาจส่งผลต่ออันตรายที่เกิดขึ้น ดังนั้น สิ่งสำคัญคือ ควรทำความเข้าใจเรื่องความปลอดภัยก่อนการใช้ยา ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรสำหรับข้อมูลอื่นๆ

รูปแบบของยาอัลฟาแคลซีดอล

อัลฟาแคลซีดอล (Alfacalcidol) อยู่ในรูปแบบดังต่อไปนี้

  • แบบแคปซูล
  • การหยอดในปาก
  • การฉีด

กรณีฉุกเฉินหรือการใช้ยาเกินขนาด

หากเกิดเหตุฉุกเฉินหรือใช้ยาเกินขนาด ควรแจ้งเหตุฉุกเฉินหรือนำส่งห้องฉุกเฉินใกล้บ้านโดยทันที

หากลืมรับประทานควรทำอย่างไร

หากคุณลืมใช้ยาควรรีบใช้ทันทีที่นึกได้ หรือถ้าหากใกล้ถึงเวลาใช้ยาครั้งต่อไป ให้ข้ามรอบไปใช้ยาตามตารางปกติ ไม่ควรเพิ่มขนาดยา

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรค และการรักษาโรคแต่อย่างใด

[embed-health-tool-bmi]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Alfacalcidol. http://drugs.webmd.boots.com/drugs/drug-10-albumin%2C+human+iv.aspx?drugid=10&drugname=albumin%2C+human+iv. Accessed September 19, 2017

Alfacalcidol. https://www.drugs.com/uk/alfacalcidol-0-25-microgram-capsules-leaflet.html. Accessed September 19, 2017

เวอร์ชันปัจจุบัน

31/12/2019

เขียนโดย ฤทธิศักดิ์ วงศ์วุฒิพงษ์

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย เภสัชกรวิสสุตา ชั้นประเสริฐ

อัปเดตโดย: pimruethai


บทความที่เกี่ยวข้อง

ปวดฟันมาก ใช้ ยาแก้ปวดฟัน แบบไหนดี

โคเอนไซม์คิวเทน (CoQ10) เชื่อมโยงกับ สุขภาพหัวใจ อย่างไร


ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

เภสัชกรวิสสุตา ชั้นประเสริฐ

ยาและอาหารเสริม · Hello Health Group


เขียนโดย ฤทธิศักดิ์ วงศ์วุฒิพงษ์ · แก้ไขล่าสุด 31/12/2019

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา