backup og meta

อาหารเสริมเพื่อสุขภาพหัวใจ ที่อาจช่วยคุณต่อสู้กับโรคหัวใจได้

อาหารเสริมเพื่อสุขภาพหัวใจ ที่อาจช่วยคุณต่อสู้กับโรคหัวใจได้

ในปัจจุบัน โรคหัวใจถือเป็นสาเหตุสำคัญอันดับต้นๆ ของการเสียชีวิตในโลก และคงจะยังเป็นเช่นนั้นต่อไป ปัจจัยเสี่ยงสำคัญของโรคหัวใจและหลอดเลือด ก็คือคอเลสเตอรอลและความดันโลหิต ซึ่งในการควบคุมปัจจัยเสี่ยงเหล่านี้ ด้วยการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมและการใช้ยาแล้ว ก็ยังมีอาหารเสริมหรือผลิตภัณฑ์เสริมอาหารบางอย่าง ที่มีงานวิจัยชี้ให้เห็นว่า สามารถช่วยรักษาความดันโลหิต ลดระดับคอเลสเตอรอล และจำกัดปัจจัยต่างๆ ที่ทำให้เกิดโรคหัวใจได้ และนี่คือ อาหารเสริมเพื่อสุขภาพหัวใจ บางอย่างที่อาจเป็นประโยชน์แก่เราได้

เส้นใยอาหาร

เส้นใยอาหาร หรือ ไฟเบอร์ ซึ่งพบได้ตามธรรมชาติในธัญพืช ผลไม้ ผัก และถั่ว ช่วยลดปริมาณคอเลสเตอรอลที่ร่างกายดูดซึมจากอาหาร ให้พยายามบริโภคใยอาหารประจำวันอย่างน้อย 25 ถึง 30 กรัม แต่สำหรับผู้ชายที่มีอายุต่ำกว่า 51 ปี ควรตั้งเป้าหมายไว้ 38 กรัมต่อวัน คุณสามารถบรรลุเป้าหมายดังกล่าวได้จากการกินอาหาร ซึ่งจัดว่าเป็นวิธีที่ดีที่สุด

หรือคุณสามารถได้รับเส้นใยอาหารจากอาหารเสริมบางอย่าง อย่างเช่น เทียนเกล็ดหอย (Blond psyllium husk) ส่วนผสมซึ่งพบได้บ่อยในอาหารเสริมใยอาหาร มีสรรพคุณในการลด LDL ซึ่งเป็นคอเลสเตอรอล “ไม่ดี’ ในขณะที่สามารถทำให้ HDL ซึ่งเป็นคอเลสเตอรอล “ดี’ เพิ่มสูงขึ้นได้ นอกจากนี้ ยังมีอาหารเสริมใยอาหารอื่นๆ เช่น ไฟเบอร์ชนิดละลายน้ำจากธัญพืชกลุ่มข้าวสาลี (wheat dextrin) เมทิลเซลลูโลส (methylcellulose) โพลีคาร์โบฟิล (polycarbophil) และแคลเซียม

มื่อรับประทานอาหารเสริมใยอาหาร ห้ามใจร้อน ให้ค่อยๆ เพิ่มปริมาณอย่างช้าๆ ทีละน้อย ซึ่งสามารถช่วยให้คุณหลีกเลี่ยงการเกิดตะคริวและการมีแก๊สได้ การดื่มน้ำในปริมาณที่เพียงพอเมื่อเพิ่มการรับประทานใยอาหารก็เป็นสิ่งจำเป็น

สเตอรอล และสตานอล

คุณสามารถรับประทานถั่วและธัญพืชเพื่อให้ได้รับสเตอรอล (Sterol) และสตานอล (Stanol) ซึ่งเป็นไฟโตสเตอรอล (Phytosterol) สารสำคัญในพืชที่ช่วยในการลดไขมันในเส้นเลือด หรือคุณอาจเลือกอาหารเสริมเฉพาะอย่างก็ได้ ด้วยคุณสมบัติในการช่วยลดปริมาณคอเลสเตอรอลที่ร่างกายดูดซึมจากอาหาร ทำให้สารทั้สองชนิดนี้มีประโยชน์ต่อสุขภาพหัวใจ นอกจากนี้ ยังมีการเติมสเตอรอลและสตานอลลงในอาหารหลายชนิด เช่น น้ำส้ม เนยเทียม โยเกิร์ต การรับประทานสารไฟโตสเตอรอลทั้งสองชนิดี้ ในปริมาณเพียง 2 กรัมต่อวัน สามารถทำให้คุณรักษาระดับคอเลสเตอรอลไม่ดี ให้อยู่ในระดับต่ำได้

ไลโคปีน

ไลโคปีน (Lycopene) พบได้ในผลไม้และผักจำนวนมาก แต่มะเขือเทศและผลิตภัณฑ์จากมะเขือเทศมีไลโคปีนสูงมากเป็นพิเศษ โดยมีหลักฐานชัดเจนที่แสดงให้เห็นว่า ไลโคปีนมีคุณสมบัติในการต้านอนุมูลอิสระได้เป็นอย่างมาก การศึกษาเผยว่าการมีไลโคปีนระดับสูงในเลือด สามารถลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจได้ การศึกษาอีกประการหนึ่งเมื่อเร็วๆ นี้เผยว่า ผู้ชายที่มีระดับไลโคปีนต่ำสุด มีความเสี่ยงมากกว่าถึงสามเท่าในการเป็นโรคหลอดเลือดสมอง (stroke) หรืออาการเกี่ยวกับหลอดเลือดหัวใจเฉียบพลัน (acute coronary events)

นอกจากนี้ การศึกษายังเผยอีกด้วยว่า เมื่อระดับไลโคปีนในเลือดต่ำ คราบที่ผนังหลอดเลือดมักจะหนาขึ้น

กรดไขมันโอเมกา-3

อาหารจากพืช เช่น วอลนัท เมล็ดแฟลกซ์ และอาหารจากสัตว์ เช่น ปลาน้ำเย็น (ปลาแซลมอน ปลาทูน่า) อุดมด้วยกรดไขมันโอเมกา-3 (omega-3 fatty acids) ในด้านของสุขภาพหัวใจ นักวิจัยได้มีการทดลองเกี่ยวกับน้ำมันปลาเป็นเวลาหลายปี และมีหลักฐานเป็นจำนวนมาก ที่แสดงให้เห็นถึงประโยชน์ของน้ำมันปลา ในการลดความเสี่ยงในการเป็นโรคหัวใจหรือโรคหลอดเลือดสมอง นอกจากนี้ ยังสามารถเพิ่มความไวต่ออินซูลิน (insulin sensitivity) และลดความเสี่ยงในการเสียชีวิตจากโรคหัวใจที่กะทันหันได้อีกด้วย

หน้าที่สำคัญที่สุดของกรดไขมันโอเมกา-3 ที่ต้องกล่าวถึงอีกอย่างก็คือ ช่วยต้านการอักเสบ การอักเสบสามารถทำให้เกิดโรคหัวใจ ทำให้มีอาการของโรคหัวใจแย่ลง หรือเร่งการเกิดโรคหัวใจได้ มีความเกี่ยวข้องกันระหว่างระดับกรดไขมันโอเมกา-3 ที่ต่ำ และปัญหาต่างๆ ที่สัมพันธ์กับโรคหัวใจ รวมทั้งโรคสมาธิสั้น (ADHD) อาหารเสริมกรดไขมันโอเมกา-3 สามารถมีประโยชน์มากสำหรับทุกคน ซึ่งรวมทั้งเด็กด้วย

Hello Health Group ม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค และการรักษาโรคแต่อย่างใด

[embed-health-tool-bmi]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

9 Supplements for Heart Health. https://www.betternutrition.com/features-dept/supplements-for-heart-health. Accessed August 23, 2017

6 Supplements for Heart Health. http://www.webmd.com/vitamins-and-supplements/supplements-heart-healthy#1. Accessed August 23, 2017

Top 11 supplements for heart health. https://www.nutritionexpress.com/showarticle.aspx?articleid=786. Accessed August 23, 2017

เวอร์ชันปัจจุบัน

08/02/2021

เขียนโดย ธีรวิทย์ บุญราศรี

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: pimruethai


บทความที่เกี่ยวข้อง

สุขภาพหัวใจ แข็งแรงได้ด้วยการออกกำลังกายแบบไหนบ้าง

สัญญาณหัวใจล้มเหลว อาการบอกเหตุที่คุณควรต้องรู้


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ธีรวิทย์ บุญราศรี · แก้ไขล่าสุด 08/02/2021

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา