backup og meta

เจนเชียนไวโอเลต (Gentian Violet)

เจนเชียนไวโอเลต (Gentian Violet)

ข้อบ่งใช้

ยา เจนเชียนไวโอเลต ใช้สำหรับ

ยา เจนเชียนไวโอเลต (Gentian Violet) มักใช้เพื่อรักษาการติดเชื้อราที่ผิวหนัง เช่น โรคกลาก (ringworm) หรือโรคน้ำกัดเท้า นอกจากนี้ ยังมีฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียแบบอ่อนๆ และอาจใช้กับแผลบาดและรอยถลอกขนาดเล็ก เพื่อป้องกันการติดเชื้อ

แพทย์อาจใช้ยานี้เพื่อรักษาการติดเชื้อราภายในปาก (thrush) ได้อีกด้วย

วิธีใช้ยาเจนเชียนไวโอเลต

ก่อนใช้ยา ควรทำความสะอาดบริเวณที่มีอาการ และเช็ดให้แห้ง จากนั้นจึงทายาโดยใช้ก้านสำลี เพื่อป้องกันไม่ให้สีย้อมติดที่มือ ทายาเจนเชียนไวโอเลตลงบนบริเวณที่มีอาการ โดยปกติ คือ วันละหนึ่งหรือสองครั้งหรือตามที่แพทย์กำหนด

ทายาลงบริเวณที่มีอาการเท่านั้น และควรหลีกเลี่ยงบริเวณรอบข้างที่เป็นปกติ

ล้างมือทันทีหลังจาทายา เว้นแต่ว่าบริเวณที่มีอาการคือที่มือ หลีกเลี่ยงไม่ให้ยาสัมผัสกับดวงตา หากยาสัมผัสถูกดวงตา ให้รีบล้างด้วยน้ำสะอาดอย่างน้อย 15 นาที รับการรักษาในทันที หากมีอาการระคายเคืองที่ดวงตา

ไม่ต้องปิดบริเวณที่มีอาการด้วยพลาสติกหรือผ้าพันแผลกันน้ำ เพราะอาจทำให้มีอาการระคายเคืองได้มากขึ้น

ยานี้สำหรับใช้ภายนอกเท่านั้น ห้ามทายาภายในช่องปาก จมูก หรือหู เว้นแต่แพทย์สั่ง ยานี้มีสีย้อมและสามารถเปื้อนผิวหนังและเสื้อผ้าได้ อย่าทายานี้ลงบนแผลเปิด (แผลมีหนองที่ผิวหนัง) เพราะอาจกลายเป็นเหมือนรอยสักถาวรได้

หากแพทย์สั่งให้คุณใช้ยานี้กับบริเวณที่มีอาการภายในปาก ควรระมัดระวังอย่ากลืนยาลงไป หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับวิธีใช้ยาอย่างเหมาะสม โปรดสอบถามแพทย์หรือเภสัชกร

ควรรับประทานยาเป็นประจำ เพื่อให้ได้รับประโยชน์จากยาสูงสุด และเพื่อให้จำง่ายขึ้น ควรรับประทานยาในเวลาเดียวกันทุกวัน หากแพทย์กำหนดให้คุณใช้ยานี้ ควรใช้ยาจนกระทั่งครบกำหนด แม้ว่าอาการจะหายไปหลังจากไม่กี่วัน การหยุดใช้ยาเร็วเกินไป อาจทำให้การติดเชื้อกำเริบได้

แจ้งให้แพทย์ทราบ หากอาการไม่ดีขึ้นภายใน 3 วัน หรือมีอาการแย่ลง หากสงสัยว่าอาจเกิดปัญหาทางสุขภาพร้ายแรง ให้เข้ารับการรักษาพยาบาลในทันที

การเก็บรักษายาเจนเชียนไวโอเลต

ยาเจนเชียนไวโอเลตควรเก็บที่อุณหภูมิห้อง ให้พ้นแสงและความชื้น เพื่อป้องกันไม่ให้ตัวยาเสื่อมสภาพ ไม่ควรเก็บยานี้ในห้องน้ำหรือช่องแช่แข็ง ยาเจนเชียนไวโอเลตบางยี่ห้ออาจมีวิธีเก็บรักษาแตกต่างกัน จึงควรอ่านคำแนะนำบนบรรจุภัณฑ์หรือสอบถามเภสัชกรเสมอ และโปรดเก็บยาให้พ้นจากมือเด็กและสัตว์เลี้ยงเพื่อความปลอดภัย

ไม่ควรทิ้งยาเจนเชียนไวโอเลตลงในชักโครก หรือเทยาลงในท่อระบายน้ำ เว้นเสียแต่จะได้รับคำแนะนำให้ทำเช่นนั้น หากยาหมดอายุ หรือไม่มีความจำเป็นต้องใช้ยา ควรกำจัดยาด้วยวิธีที่ถูกต้อง โดยสามารถสอบถามข้อมูลวิธีกำจัดยาที่ถูกต้องได้จากเภสัชกร

ข้อควรระวังและคำเตือน

ข้อควรรู้ก่อนใช้ยาเจนเชียนไวโอเลต

ปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกรถ้าหาก

  • คุณกำลังตั้งครรภ์ หรือให้นมบุตร เนื่องจากในช่วงวางแผนตั้งครรภ์ กำลังตั้งครรภ์ หรือให้นมบุตร ควรใช้ยาตามที่แพทย์แนะนำเท่านั้น
  • หากคุณกำลังใช้ยาอื่นอยู่ รวมทั้งยาที่หาซื้อได้เอง เช่น สมุนไพร ยาทางเลือกอื่นๆ
  • หากคุณแพ้สารออกฤทธิ์หรือไม่ออกฤทธิ์ในการรักษา ของยาเจนเชียนไวโอเลตหรือยาอื่นๆ
  • หากคุณมีอาการป่วย มีความผิดปกติ หรือมีสภาวะทางการแพทย์อื่นๆ
  • หากคุณโรคเกี่ยวกับระบบการเผาผลาญอาหาร (metabolic disease) เช่น โรคพอร์ฟิเรีย (porphyria)

ความปลอดภัยต่อการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร

ยังไม่มีงานวิจัยที่น่าเชื่อถือเกี่ยวกับความเสี่ยงในสตรีที่ใช้ยานี้ในช่วงการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร โปรดปรึกษาแพทย์เพื่อหาประโยชน์และความเสี่ยงก่อนการใช้ยานี้

ผลข้างเคียง

ผลข้างเคียงของการใช้ยาเจนเชียนไวโอเลต

ผลข้างเคียงบางอย่างของยา มีดังต่อไปนี้

  • รอยแดง
  • อาการบวม
  • อาการระคายเคืองบริเวณที่ให้ยา

หยุดใช้ยานี้และแจ้งให้แพทย์ทราบทันที หากคุณมีสัญญาณใหม่ของการติดเชื้อที่ผิวหนัง (อาการร้อน กดเจ็บ หนอง) และแผลที่ผิวหนัง

ผลข้างเคียงที่กล่าวมาข้างต้น อาจไม่ได้เกิดกับทุกคน หรือบางคนอาจมีอาการอื่นนอกเหนือจากนี้ หากคุณมีข้อสงสัยใดๆ เกี่ยวกับผลข้างเคียง โปรดปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกร

ปฏิกิริยาของยา

ปฏิกิริยากับยาอื่น

ยาเจนเชียนไวโอเลตอาจเกิดปฏิกิริยากับยาอื่นที่คุณกำลังใช้อยู่ และอาจส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา หรือเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดผลข้างเคียง เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น

คุณควรแจ้งแพทย์หรือเภสัชกรด้วยว่า คุณกำลังใช้ยาอะไรอยู่บ้าง ไม่ว่าจะเป็นยาตามใบสั่งแพทย์ ยาที่ซื้อได้เอง สมุนไพร เป็นต้น และเพื่อความปลอดภัย คุณไม่ควรเริ่ม หยุด หรือเปลี่ยนขนาดยาเองโดยไม่ได้รับความเห็นชอบจากแพทย์

ปฏิกิริยากับอาหารหรือแอลกอฮอล์

ยาเจนเชียนไวโอเลตอาจมีปฏิกิริยากับอาหารหรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา หรือเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดผลข้างเคียง โปรดปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกรก่อนเสมอ

ปฏิกิริยากับอาการโรคอื่น

ยาเจนเชียนไวโอเลตอาจส่งผลให้อาการโรคของคุณแย่ลง หรือส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา โปรดแจ้งสภาวะโรคของคุณให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบก่อนใช้ยาเสมอ

สภาวะทางการแพทย์ที่อาจมีผลกระทบต่อยานี้ คือ แผลเปื่อยบนผิวหนังที่ใบหน้า การใช้ยาเจนเชียนไวโอเลตอาจทำให้ผิวหนังเหมือนมีรอยสักได้

ขนาดยา

ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกรทุกครั้งเพื่อรับทราบข้อมูลเพิ่มเติม

ขนาดยาเจนเชียนไวโอเลตสำหรับผู้ใหญ่

ขนาดยาของยาเจนเชียนไวโอเลตนั้นแตกต่างกันไปตามแต่ละบุคคล ควรทำตามคำสั่งของแพทย์ หรือแนวทางบนฉลากยา ทำตามข้อมูลรวมไปถึงขนาดยาเฉลี่ยของยาเจนเชียน ไวโอเลต หากขนาดยาของคุณแตกต่างออกไป อย่าเปลี่ยนขนาดยาเอง เว้นแต่แพทย์สั่ง

ปริมาณของยาที่คุณใช้ขึ้นอยู่กับความแรงของยา นอกจากนี้ จำนวนครั้งที่ใช้ในแต่ละวันและระยะเวลาระหว่างการใช้ยาแต่ละครั้ง ยังขึ้นอยู่กับสภาวะที่คุณกำลังเป็นอยู่ด้วย

ยาในรูปแบบสารละลายเฉพาะที่ – สำหรับการติดเชื้อรา

ทายาลงบนผิวหนังบริเวณที่มีอาการ 2 หรือ 3 ครั้งต่อวัน เป็นเวลา 3 วัน

ขนาดยาเจนเชียนไวโอเลตสำหรับเด็ก

ยาในรูปแบบสารละลายเฉพาะที่ – สำหรับการติดเชื้อรา

ทายาลงบนผิวหนังบริเวณที่มีอาการ 2 หรือ 3 ครั้งต่อวัน เป็นเวลา 3 วัน

รูปแบบของยา

ความแรงและรูปแบบของยามีดังนี้

  • สารละลายยาเจนเชียนไวโอเลต 1%

กรณีฉุกเฉินหรือใช้ยาเกินขนาด

หากเกิดเหตุฉุกเฉินหรือใช้ยาเกินขนาด ควรแจ้งเหตุฉุกเฉิน หรือนำส่งห้องฉุกเฉินใกล้บ้านทันที

กรณีลืมใช้ยา

หากคุณลืมใช้ยาควรรีบใช้ทันทีที่นึกได้ หรือถ้าหากใกล้ถึงเวลาใช้ยาครั้งต่อไป ให้ข้ามรอบไปใช้ยาตามตารางปกติได้เลย ไม่ควรเพิ่มปริมาณยา

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรคหรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

[embed-health-tool-bmi]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Gentian violet Topical. http://www.webmd.com/drugs/2/drug-4397/gentian-violet-topical/details#uses. Accessed December 23, 2016

gentian violet (Topical route). https://www.drugs.com/cons/gentian-violet-topical.html. Accessed December 23, 2016.

Gentian violet. https://www.drugbank.ca/drugs/DB00406. Accessed December 23, 2016.

 

 

เวอร์ชันปัจจุบัน

11/05/2020

เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย เภสัชกรอาชานนท์ สมศักดิ์

อัปเดตโดย: Nattavara Pasathan


บทความที่เกี่ยวข้อง

อาการติดเชื้อบนผิวหนัง ที่มักพบในผู้ป่วยโรคเอดส์ มีอะไรบ้าง

วิธีรักษาปัญหาผดร้อน ที่เกิดขึ้นในช่วงหน้าร้อน


ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

เภสัชกรอาชานนท์ สมศักดิ์

ยาและอาหารเสริม · Hello Health Group


เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา