backup og meta

แนฟทิไฟน์ (Naftifine)

แนฟทิไฟน์ (Naftifine)

ข้อบ่งใช้ แนฟทิไฟน์

แนฟทิไฟน์ ใช้สำหรับ

แนฟทิไฟน์ (Naftifine) ใช้เพื่อรักษาโรคน้ำกัดเท้า (athlete’s foot) อาการติดเชื้อราที่ผิวหนัง ยานี้ช่วยกำจัดรอยแดง อาการคัน และผิวลอกเป็นแผ่น ยาแนฟทิไฟน์เป็นยาต้านเชื้อรา ออกฤทธิ์โดยการป้องกันการเจริญเติบโตของเชื้อรา

วิธีการใช้ แนฟทิไฟน์

  • ยานี้ใช้เฉพาะกับผิวหนังเท่านั้น ทําความสะอาดและเช็ดบริเวณที่ต้องการให้แห้ง ทาแนฟทิไฟน์บางๆ ตรงบริเวณที่ต้องการรอบๆ แล้วนวดเบาๆ
  • ใช้ยานี้ตามที่แพทย์กำหนด โดยปกติวันละ 1 ครั้ง เป็นเวลา 2 สัปดาห์ ล้างมือให้สะอาดหลังจากใช้งาน ห้ามพันแผลบริเวณนี้เว้นแต่จะได้รับคำแนะนำจากแพทย์
  • ห้ามใช้ยานี้บริเวณดวงตา ปาก และด้านในอวัยวะเพศ หากยาได้สัมผัสกับส่วนใดส่วนหนึ่ง ควรรีบล้างออกด้วยน้ำสะอาดปริมาณมาก
  • ห้ามทายานี้บ่อยหรือนานเกินกว่าที่กำหนด เพราะอาจจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดผลข้างเคียงได้

ใช้ยานี้เป็นอย่างสม่ำเสมอเพื่อให้ได้รับประโยชน์สูงสุด เพื่อให้ง่ายต่อการจำ ควรใช้ยาในเวลาเดียวกันกับทุกวัน

ใช้ยานี้ต่อไปจนกระทั่งครบกำหนดตามใบสั่งแพทย์ แม้อาการจะหายไปหลังจากเริ่มใช้ยาไม่กี่วัน การหยุดยาก่อนกำหนดสามารถทำให้การติดเชื้อกลับมาเป็นซ้ำได้

แจ้งให้แพทย์ทราบ หากอาการของคุณไม่ดีขึ้นหรือแย่ลง

การเก็บรักษา แนฟทิไฟน์

  • ควรเก็บในอุณหภูมิห้อง หลีกเลี่ยงแสงหรือความชื้น เพื่อป้องกันไม่ให้ตัวยาเกิดความเสียหาย
  • เก็บยาให้ห่างจากมือเด็กและสัตว์เลี้ยง
  • ไม่ควรทิ้งแนฟทิไฟน์ลงในชักโครก หรือเทยาลงในท่อระบายน้ำ ควรกำจัดยาด้วยวิธีที่ถูกต้องเมื่อยาหมดอายุ หรือไม่มีความจำเป็นต้องใช้งาน

แนฟทิไฟน์บางยี่ห้ออาจจะต้องเก็บรักษาแตกต่างกัน ตรวจสอบฉลากข้างบรรจุภัณฑ์หรือสอบถามแพทย์และเภสัชกรเพิ่มเติมเพื่อความปลอดภัย

ข้อควรระวังและคำเตือน

ข้อควรรู้ก่อนใช้ยาแนฟทิไฟน์

  • ก่อนใช้ยาแนฟทิไฟน์ แจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบหากคุณแพ้ยาชนิดนี้หรือยาต้านเชื้อราอื่นๆ เช่น เทอร์บินาฟีน (terbinafine) สอบถามจากแพทย์หรือเภสัชกรสำหรับข้อมูลเพิ่มเติม
  • ก่อนใช้ยานี้ โปรดแจ้งประวัติโรคประจำตัวทางการแพทย์กับแพทย์หรือเภสัชกรของคุณ

ในช่วงการตั้งครรภ์ ควรใช้ยานี้เมื่อจำเป็นเท่านั้นและควรปรึกษาเกี่ยวกับความเสี่ยงและผระโยชน์กับแพทย์ก่อนเสมอ

ยานี้อาจซึมเข้าสู่น้ำนมแม่ที่ให้แก่บุตรได้ โปรดปรึกษาแพทย์ก่อนทุกครั้ง

ความปลอดภัยต่อการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร

ยังไม่มีงานวิจัยที่น่าเชื่อถือเกี่ยวกับความเสี่ยงในสตรีที่ใช้ยานี้ในช่วงการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร โปรดปรึกษาแพทย์เพื่อหาประโยชน์และความเสี่ยงก่อนการใช้ยานี้

แนฟทิไฟน์จัดอยู่ในประเภทของยาที่มีความเสี่ยงต่อสตรีมีครรภ์ หมวด B โดยองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา (FDA)

การจัดประเภทของยาที่มีความเสี่ยงต่อสตรีมีครรภ์โดยองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกามีดังนี้

  • A= ไม่มีความเสี่ยง
  • B= ไม่พบความเสี่ยงในการวิจัยบางชิ้น
  • C= อาจจะมีความเสี่ยง
  • D= มีหลักฐานแสดงถึงความเสี่ยง
  • X= ห้ามใช้
  • N= ไม่ทราบแน่ชัด

ผลข้างเคียง

ผลข้างเคียงของการใช้ แนฟทิไฟน์

  • อาจเกิดการระคายเคืองเล็กน้อยตรงบริเวณที่ใช้

หากอาการไม่หายไปหรือแย่ลง ควรแจ้งกับแพทย์หรือเภสัชกรของคุณทันที

โปรดจำไว้ว่าการที่แพทย์ให้คุณใช้ยาตัวนี้เนื่องจากคำนวณแล้วว่ายามีประโยชน์มากกว่าเป็นโทษ และคนที่ใช้ยานี้ส่วนใหญ่ไม่พบผลข้างเคียงที่ร้ายแรงใดๆ

การแพ้ยาที่รุนแรงนี้ค่อนข้างเกิดขึ้นได้ยาก แต่จำเป็นต้องได้รับการรักษาที่ทันท่วงที อาการของการแพ้รุนแรงอาจมี ได้แก่ ผดผื่น คันหรือบวม (โดยเฉพาะบริเวณใบหน้า ลิ้น และลำคอ) เวียนหัวขั้นรุนแรง หายใจติดขัด

ไม่ใช่ทุกคนจะเจอกับผลข้างเคียงเหล่านี้อาจจะมีอาการอย่างอื่นนอกเหนือจากที่กล่าวมาข้างต้น ถ้าคุณมีข้อสงสัยใดๆ เกี่ยวกับผลข้างเคียง โปรดปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกร

ปฏิกิริยาของยา

ปฏิกิริยากับยาอื่น

แนฟทิไฟน์อาจเกิดปฏิกิริยากับยาอื่นที่คุณกำลังใช้อยู่ ซึ่งอาจส่งผลต่อการทำงานของยา หรือเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดผลข้างเคียงที่รุนแรง เพื่อหลีกเลี่ยงปฏิกิริยาที่อาจจะเกิดขึ้น คุณควรแจ้งยาที่คุณใช้ทั้งหมด (ทั้งยาตามใยสั่งแพทย์ ยาที่หาซื้อได้เอง และสมุนไพรต่างๆ) ให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบ เพื่อความปลอดภัย อย่าเริ่ม หยุด หรือเปลี่ยนขนาดยาโดยที่ไม่ได้รับการอนุญาตจากแพทย์

ปฏิกิริยากับอาหารหรือแอลกอฮอล์

แนฟทิไฟน์อาจทำปฎิกิริยากับอาหารและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยจะปรับเปลี่ยนประสิทธิภาพการทำงานของยา หรือเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดผลข้างเคียงรุนแรงอื่นๆ โปรดปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนเสมอ

ปฏิกิริยากับอาการโรคอื่น

แนฟทิไฟน์อาจส่งผลให้อาการโรคของคุณแย่ลง หรือส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา โปรดแจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบถึงสภาวะโรคของคุณก่อนใช้ยาเสมอ

ขนาดยา

ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษากับแพทย์และเภสัชกรทุกครั้งเพื่อรับทราบข้อมูลเพิ่มเติมก่อนการใช้ยานี้

ขนาด แนฟทิไฟน์ สำหรับผู้ใหญ่

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาโรคกลาก

  • ครีม 1% : ทาบางๆ และนวดเบา ๆ บริเวณที่ต้องการและบริเวณโดยรอบ วันละ 1 ครั้ง
  • เจล 1% : ทาบาง ๆ และนวดเบาๆ บริเวณที่ต้องการและบริเวณโดยรอบ วันละ 2 ครั้ง เช้าและเย็น
  • ครีม 2% : ควรทาบางๆ ในบริเวณที่มีอาการและบริเวณขอบโดยเข้าไปประมาณ 1/2 นิ้ว วันละ 1 ครั้ง เป็นเวลา 2 สัปดาห์

วิธีใช้

  • ครีม 1% : ใช้กับการรักษาเฉพาะที่สำหรับโรคสังคัง และโรคกลาก เนื่องจากเชื้อรา T rubrum เชื้อรา T mentagrophytes และเชื้อรา Epidermophyton floccosum
  • เจล 1% : ใช้กับการรักษาเฉพาะที่สำหรับโรคสังคังและโรคกลาก เนื่องจากเชื้อรา T rubrum เชื้อรา T mentagrophytes เชื้อรา T tonsurans และเชื้อรา E floccosum
  • ครีม 2% : ใช้สำหรับใช้รักษาโรคสังคังและโรคกลาก เนื่องจากเชื้อรา Trichophyton rubrum

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาสังคัง

  • ครีม 1% : ทางบางๆ และนวดเบาๆ บริเวณที่ต้องการและบริเวณโดยรอบ วันละ 1 ครั้ง
  • เจล 1% : ทาบางๆ และนวดเบาๆ บริเวณที่ต้องการและบริเวณโดยรอบ วันละ 2 ครั้ง เช้าและเย็น
  • ครีม 2% : ควรทาบางๆ ในบริเวณที่มีอาการบวกบริเวณขอบออกไปประมาณ 1/2 นิ้ว วันละ 1 ครั้ง เป็นเวลา 2 สัปดาห์

วิธีใช้

  • ครีม 1% : ใช้กับการรักษาเฉพาะที่สำหรับโรคสังคังและโรคกลาก เนื่องจากเชื้อรา T rubrum เชื้อรา T mentagrophytes และเชื้อรา Epidermophyton floccosum
  • เจล 1% : ใช้กับการรักษาเฉพาะที่สำหรับโรคสังคังและโรคกลาก เนื่องจากเชื้อรา T rubrum เชื้อรา T mentagrophytes เชื้อรา T tonsurans และเชื้อราE floccosum
  • ครีม 2% : ใช้สำหรับใช้รักษาโรคสังคังและโรคกลาก เนื่องจากเชื้อรา Trichophyton rubrum

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาเชื้อราที่เท้า

  • ครีม 1% : ทาบาง ๆ และนวดเบาๆ บริเวณที่ต้องการและบริเวณโดยรอบ วันละ 1 ครั้ง
  • เจล 1% : ทาบางๆ และนวดเบาๆ บริเวณที่ต้องการและบริเวณโดยรอบ วันละ 2 ครั้ง เช้าและเย็น
  • ครีม 2% : ควรทาบางๆ ในบริเวณที่มีอาการบวกบริเวณขอบออกมาประมาณ 1/2 นิ้ว วันละ 1 ครั้ง เป็นเวลา 2 สัปดาห์
  • เจล 2% : ควรทาบาง ๆ ในบริเวณที่มีอาการบวกบริเวณขอบออกมาประมาณ 1/2 นิ้ว วันละ 1 ครั้ง เป็นเวลา 2 สัปดาห์

วิธีใช้

  • ครีม1% : ใช้กับการรักษาเฉพาะที่สำหรับน้ำกัดเท้า เนื่องจากเชื้อรา T rubrum เชื้อรา T mentagrophytes และเชื้อรา Epidermophyton floccosum
  • เจล 1% : ใช้กับการรักษาเฉพาะที่สำหรับน้ำกัดเท้า เนื่องจากเชื้อรา T rubrum เชื้อรา T mentagrophytes เชื้อรา T tonsurans และเชื้อรา E floccosum
  • ครีม 2% : ใช้กับการรักษาเฉพาะที่สำหรับน้ำกัดเท้า เนื่องจากเชื้อรา T rubrum
  • เจล 2% : ใช้กับการรักษาเฉพาะที่สำหรับน้ำกัดเท้า เนื่องจากเชื้อรา T rubrum เชื้อรา T mentagrophytesและเชื้อรา E floccosum

คำแนะนำอื่นๆ

คำแนะนำการใช้

  • ล้างมือให้สะอาดก่อน-หลังใช้ยา
  • ยาใช้เฉพาะที่ ห้ามใช้กับดวงตา ปาก หรือใช้ภายใน

ทั่วไป

  • ควรมียืนยันการวินิจฉัยโรคด้วยการตรวจด้วยกล้องจุลทรรศน์โดยตรงหรือโดยการเพาะเชื้อ
  • ผู้ป่วยควรได้รับการตรวจใหม่อีกครั้ง หากอาการไม่ดีขึ้นหลังจากการรักษาด้วยยาสูตร 1% เป็นเวลา 4 สัปดาห์

คำแนะนำสำหรับผู้ป่วย

  • ใช้ยาให้ห่างจากบริเวณดวงตา จมูก ปาก 
  • ปรึกษากับแพทย์หากมีอาการระคายเคืองหรือรู้สึกไวเกิดขึ้นหลังจากทีใช้ยานี้

ขนาดยาแนฟทิไฟน์สำหรับเด็ก

ขนาดยาสำหรับเด็กเพื่อรักษาสังคัง

อายุ 12 ปีขึ้นไป

ครีม 2%: ควรทาบางๆ ในบริเวณที่มีอาการและบริเวณขอบโดยเข้าไปประมาณ 1/2 นิ้ว งันละครั้ง เป็นเวลาสองสัปดาห์

วิธีใช้

ใช้สำหรับรักษาโรคสังคังเนื่องจากเชื้อรา T rubrum

ขนาดยาสำหรับเด็กเพื่อรักษาโรคเชื้อราที่เท้า

อายุ 12 ปีขึ้นไป

ครีม 2% : ควรทาบาง ๆ ในบริเวณที่มีอาการและบริเวณขอบโดยเข้าไปประมาณ 1/2 นิ้ว วันละครั้ง เป็นเวลาสองสัปดาห์

เจล 2% : ควรทาบาง ๆ ในบริเวณที่มีอาการและบริเวณขอบโดยเข้าไปประมาณ 1/2 นิ้ว วันละครั้ง เป็นเวลาสองสัปดาห์

วิธีใช้

ครีม 2% : ใช้สำหรับรักษาน้ำกัดเท้าเนื่องจากเชื้อรา T rubrum

เจล 2% : ใช้สำหรับรักษาน้ำกัดเท้าเนื่องจากเชื้อรา T rubrum เชื้อรา T mentagrophytes และเชื้อรา E floccosum

ข้อควรระวัง

ยังไม่มีการพิสูจน์ที่แน่ชัดถึงความปลอดภัยและประสิทธิภาพของยาในสูตร 1% สำหรับผู้ป่วยที่อายุต่ำกว่า 18 ปี รวมถึงยังไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับความปลอดภัย และประสิทธิภาพของยาในสูตร 2% สำหรับผู้ป่วยที่อายุต่ำกว่า 12 ปี

รูปแบบของยา

แบบการใช้งานมี ดังนี้

  • ยาแบบครีมทาเฉพาะที่
  • ยาแบบเจลทาเฉพาะที่

กรณีฉุกเฉินหรือใช้ยาเกินขนาด

หากเกิดเหตุฉุกเฉินหรือใช้ยาเกินขนาด ควรแจ้งเหตุฉุกเฉินหรือนำส่งโรงพยาบาลใกล้บ้านโดยทันที

กรณีลืมใช้ยา

หากคุณลืมรับประทานแนฟทิไฟน์ควรรีบใช้ในทันทีที่นึกได้ หรือถ้าหากใกล้ถึงเวลาใช้ยาครั้งต่อไป ให้ข้ามรอบไปใช้ยาตามตารางปกติได้เลย ไม่ควรเพิ่มปริมาณยาก่อนได้รับอนุญาตจากแพทย์

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรคหรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

[embed-health-tool-bmi]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Naftifine Topical Dosage. https://www.drugs.com/dosage/naftifine-topical.html. Accessed December 04, 2019.

Naftin Gel Topical Antifungals. https://www.webmd.com/drugs/2/drug-9347-1551/naftin-topical/naftifine-2-gel-topical/details. Accessed December 04, 2019.

Naftifine Topical. https://medlineplus.gov/druginfo/meds/a688020.html. Accessed December 04, 2019.

เวอร์ชันปัจจุบัน

11/05/2020

เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย เภสัชกรอาชานนท์ สมศักดิ์

อัปเดตโดย: ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน


บทความที่เกี่ยวข้อง

โรคเชื้อราที่เล็บเท้า อาการ สาเหตุ วิธีรักษาและป้องกัน

ส้นเท้าแตก เท้าแห้ง สาเหตุและการดูแล


ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

เภสัชกรอาชานนท์ สมศักดิ์

ยาและอาหารเสริม · Hello Health Group


เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา