backup og meta

โซเดียมลอริลซัลเฟต หรือ สาร SLS อีกหนึ่งสารเคมีที่อาจส่งผลเสียต่อผิวคุณ

โซเดียมลอริลซัลเฟต หรือ สาร SLS อีกหนึ่งสารเคมีที่อาจส่งผลเสียต่อผิวคุณ

ก่อนที่คุณจะหาซื้อผลิตภัณฑ์บำรุงใด ๆ มาใช้นั้น ควรมีการพิจารณา หรือศึกษาหาข้อมูลก่อนว่ามีสารเคมีอะไรบ้างเป็นส่วนผสม และอาจก่อให้เกิดผลเสียมากกว่าผลดี ดังนั้น บทความของ Hello คุณหมอ วันนี้ ขออาสาพาทุกคนมารู้จักกับ โซเดียมลอริลซัลเฟต หรือ สาร SLS ที่เป็นสารเคมีอีกชนิดหนึ่งอยู่ในผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันของเรา ไปพร้อม ๆ กันค่ะ

โซเดียมลอริลซัลเฟต คืออะไร

สารโซเดียมลอริลซัลเฟต หรือ สาร SLS (Sodium Lauryl Sulfate ; SLS) เป็นสารเคมีอีกหนึ่งชนิดที่อยู่ภายในผลิตภัณฑ์เสริมความงาม หรือผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดร่างกาย ซึ่งเหตุผลสำคัญที่ผู้ผลิตมักนำมาประกอบร่วมด้วย อาจเป็นเพราะโซเดียมลอริลซัลเฟตนั้นมีคุณสมบัติในการช่วยลดแรงตึงของผิวได้ในขณะที่คุณกำลังนำผลิตภัณฑ์มาชำระร่างกาย รวมทั้งยังเป็นสารกำจัดสิ่งสกปรกให้ไหลลื่นออกไปบนภาชนะคุณอย่างง่ายดายได้อีกด้วย

แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าสารเคมีชนิดนี้จะไม่ส่งผลอันตรายต่อคุณ เนื่องจากยังคงมีการค้นพบที่เชื่อมโยงไปถึงโรคมะเร็ง และอาการระคายเคืองของผิวหนัง รวมถึงลักษณะของอาการอื่น ๆ ที่อาจเกิดขึ้นทุกเมื่อตามแต่ละบุคคล ทั้งนี้การเชื่อมโยงดังกล่าวยังคงจำเป็นต้องได้รับการวิจัยต่อไป เพื่อให้ข้อเท็จจริงที่ตั้งไว้ชัดเจน และมีน้ำหนักมากขึ้นก่อนนำมาเผยถึงอันตรายอีกรอบให้ผู้บริโภคได้รับรู้

ผลิตภัณฑ์ใดบ้างที่มักใช้ โซเดียมลอริลซัลเฟต เป็นส่วนผสม

เป็นไปได้ยากที่คุณจะหลีกเลี่ยงกับโซเดียมลอริลซัลเฟต เพราะเนื่องจากสารเหล่านี้ถูกบรรจุอยู่ในผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ เหล่านี้ ในชีวิตประจำวันของเรา เรียกได้ว่าเราแทบจะใช้กันอย่างทุกวัน และทุกเวลาเลยทีเดียว

  • ผลิตภัณฑ์บำรุงหนังศีรษะ เช่น แชมพู ครีมนวด ครีมย้อมผม เจลจัดแต่งทรงผม
  • ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดร่างกายและใบหน้า เช่น สบู่เหลว เกลือขัดผิว ที่เพิ่มฟองในอ่างน้ำ คลีนซิ่งล้างเครื่องสำอาง ยาสีฟัน น้ำยาบ้วนปาก
  • ผลิตภัณฑ์ดูแลผิว เช่น โลชั่น ครีมทามือ มาสก์ ครีมกันแดด ครีมกำจัดขน
  • ผลิตภัณฑ์ซักล้างหรือทำความสะอาดทั่วไป เช่น น้ำยาล้างจาน น้ำยาล้างรถ น้ำมันเช็ดเครื่องจักรอุตสาหกรรม

สารโซเดียมลอริลซัลเฟต อันตรายต่อผิวหนังเราอย่างไร

จากข้อมูลขององค์การอาหาร และยา ของประเทศสหรัฐอเมริกา (U.S. Food And Drug Administration) ระบุว่าสารโซเดียมลอริลซัลเฟต เป็นสารที่ค่อนข้างให้ความปลอดภัย แต่ไม่ควรมีความเข้มข้นเกิน 1 เปอร์เซ็นต์ ประกอบอยู่ภายใจ เนื่องจากเป็นสารที่เรานั้นมักได้รับการสัมผัสกับผิวหนังโดยตรง จึงทำให้ต้องมีการเจือปนในผลิตภัณฑ์ให้ได้น้อยที่สุด เพื่อให้เกิดประโยชน์มากกว่าโทษ

ทั้งนี้ทั้งนั้นหากคุณมีการใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนประกอบของโซเดียมลอริลซัลเฟต ทิ้งไว้บนผิวหนังเป็นเวลานาน ก็สามารถอาจทำให้คุณมีโอกาสได้รับความเสี่ยงก่อให้เกิดอาการระคายเคืองได้

สำหรับผู้ที่ประสบปัญหาทางสุขภาพผิวหนังอย่างโรคกลาก โรคสะเก็ดเงิน รวมไปถึงผู้ที่มีปัญหาบอบบาง และแพ้ง่าย ก็ควรมีการหลีกเลี่ยงด้วยเช่นกัน ไม่เช่นนั้น อาจทำให้คุณแพ้ต่อสารโซเดียมลอริลซัลเฟต จนผิวหนังคุณเกิดผลเสียได้ และถ้าผลกระทบเหล่านี้เกิดขึ้นเมื่อใด โปรดรีบหยุดใช้ผลิตภัณฑ์นั้น ๆ เข้ารับจากรักษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางด้านผิวหนังโดยทันที

[embed-health-tool-bmi]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

What Is Sodium Lauryl Sulfate (SLS)? https://www.healthline.com/health/beauty-skin-care/what-is-sodium-lauryl-sulfate#possible-dangers Accessed August 28, 2020

What is sodium lauryl sulfate and is it safe to use? https://medicine.uq.edu.au/article/2019/12/what-sodium-lauryl-sulfate-and-it-safe-use Accessed August 28, 2020

Sodium Lauryl Sulfate https://www.chemicalsafetyfacts.org/sodium-lauryl-sulfate/ Accessed August 28, 2020

เวอร์ชันปัจจุบัน

17/09/2020

เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: Nattrakamol Chotevichean


บทความที่เกี่ยวข้อง

น้ำส้มสายชูทำความสะอาด ของในบ้านได้ แถมปลอดสารเคมีด้วย

สารก่อมะเร็ง ที่คุณควรรู้จักไว้ เพื่อความปลอดภัยในการใช้ชีวิต


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 17/09/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา