backup og meta

ไซเมทิโคน (Simethicone)

ข้อบ่งใช้

ยา ไซเมทิโคน ใช้สำหรับ

ยา ไซเมทิโคน (Simethicone) ไซเมทิโคน มักจะใช้เพื่อบรรเทาอาการมีแก๊สส่วนเกิน เช่น อาการเรอ ท้องอืด และรู้สึกไม่สบายที่กระเพาะอาหารหรือลำไส้ ยา ไซเมทิโคน จะช่วยสลายฟองแก๊สภายในลำไส้ ยา ไซเมทิโคน อาจจะใช้เพื่อจุดประสงค์อื่นได้อีกด้วย โปรดสอบถามแพทย์หรือเภสัชกรสำหรับข้อมูลเพิ่มเติม

วิธีการใช้ยาไซเมทิโคน

วิธีการใช้ยาไซเมทิโคนรูปแบบยาแคปซูลหรือยาเม็ดอย่างถูกต้อง

รับประทานยานี้ ตามปกติคือรับประทานหลังมื้ออาหารและก่อนนอน หรือตามที่แพทย์กำหนด กลืนยาแคปซูลลงไปทั้งเม็ด อย่าบดหรือเคี้ยวยาแคปซูล

วิธีการใช้ยาไซเมทิโคนรูปแบบยาหยอดรูปแบบแขวนตะกอนสำหรับรับประทาน

ตวงขนาดยาด้วยช้อนหรือถ้วยสำหรับตวงยา หากคุณไม่มีอุปกรณ์ตวงยาสามารถขอได้จากเภสัชกร ยาน้ำสำหรับหยอดไซเมทิโคนนั้นสามารถผสมเข้ากับน้ำ นมผงสำหรับเด็ก หรือของเหลวอื่นๆ เพื่อทำให้ทารกหรือเด็กกลืนได้ง่ายขึ้น

โปรดสอบถามผู้เชี่ยวชาญการดูแลสุขภาพของคุณ หากมีข้อสงสัยใดๆ เกี่ยวกับวิธีการใช้ยานี้

การเก็บรักษายาไซเมทิโคน

ยาไซเมทิโคนควรเก็บที่อุณหภูมิห้อง หลีกเลี่ยงแสงหรือความชื้น เพื่อป้องกันไม่ให้ตัวยาเกิดความเสียหาย ไม่ควรเก็บยานี้ในห้องน้ำหรือช่องแช่แข็ง ยาไซเมทิโคนบางยี่ห้ออาจจะต้องเก็บรักษาแตกต่างกัน จึงควรตรวจสอบฉลากยาหรือสอบถามเภสัชกรเสมอ เพื่อความปลอดภัย โปรดเก็บยาให้ห่างจากมือเด็กและสัตว์เลี้ยง

ไม่ควรทิ้งยาไซเมทิโคนลงในชักโครก หรือเทลงในท่อระบายน้ำ เว้นแต่ได้รับคำแนะนำให้ทำเช่นนั้น ควรกำจัดยาด้วยวิธีที่ถูกต้องเมื่อยาหมดอายุ หรือไม่มีความจำเป็นต้องใช้งาน โปรดสอบถามเภสัชกรเพิ่มเติม เกี่ยวกับวิธีการกำจัดยาที่ถูกต้อง

ข้อควรระวังและคำเตือน

ข้อควรรู้ก่อนใช้ยาไซเมทิโคน

โปรดปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรหาก

  • คุณกำลังตั้งครรภ์ หรือให้นมบุตร เนื่องจากในช่วงที่คุณกำลังตั้งครรภ์หรือกำลังให้นมบุตร ควรใช้ยาตามที่แพทย์แนะนำเท่านั้น
  • หากคุณกำลังใช้ยาอื่นอยู่ รวมทั้งยาที่หาซื้อได้เอง เช่น สมุนไพรหรือยาทางเลือกอื่นๆ
  • หากคุณแพ้สารออกฤทธิ์หรือไม่ออกฤทธิ์ของยาไซเมทิโคน หรือยาอื่นๆ
  • หากคุณมีอาการป่วย มีความผิดปกติ หรือมีสภาวะทางการแพทย์อื่นๆ

ความปลอดภัยต่อการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร

การตั้งครรภ์

ยังไม่มีงานวิจัยที่น่าเชื่อถือเกี่ยวกับความเสี่ยงในสตรีที่ใช้ยานี้ ในช่วงการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร โปรดปรึกษาแพทย์เพื่อหาประโยชน์และความเสี่ยงก่อนการใช้ยานี้

ยาไซเมทิโคนจัดอยู่ในประเภทของยาที่มีความเสี่ยงต่อสตรีมีครรภ์ ประเภทC โดยองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา (FDA)

การจัดประเภทของยาที่มีความเสี่ยงต่อสตรีมีครรภ์โดยองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกามีดังนี้

  • A= ไม่มีความเสี่ยง
  • B= ไม่พบความเสี่ยงในการวิจัยบางชิ้น
  • C= อาจจะมีความเสี่ยง
  • D= มีหลักฐานแสดงถึงความเสี่ยง
  • X= ห้ามใช้
  • N= ไม่ทราบแน่ชัด

การให้นมบุตร

ไม่ดูดซึมและไม่ขับผ่านน้ำนม ปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรทุกครั้งก่อนที่คุณจะเริ่มใช้ยาหากคุณกำลังตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร

ผลข้างเคียง

ผลข้างเคียงของการใช้ยาไซเมทิโคน

ยาไซเมทิโคนอาจทำให้เกิดผลข้างเคียงดังต่อไปนี้

  • อาการแพ้ อย่างผดผื่น คัน บวม (โดยเฉพาะที่ใบหน้า ลิ้น หรือลำคอ)
  • วิงเวียนอย่างรุนแรง
  • หายใจติดขัด

ไม่ใช่ทุกคนจะเจอกับผลข้างเคียงเหล่านี้ และอาจจะมีอาการอย่างอื่นนอกเหนือจากที่กล่าวมาข้างต้น ถ้าคุณมีข้อสงสัยใดๆ เกี่ยวกับผลข้างเคียง โปรดปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกร

ปฏิกิริยาของยา

ปฏิกิริยากับยาอื่น

ยาไซเมทิโคนอาจเกิดปฏิกิริยากับยาอื่นที่คุณกำลังใช้อยู่ ซึ่งอาจส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา หรือเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดผลข้างเคียง เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น คุณควรจะบอกแพทย์หรือเภสัชกรของคุณว่า คุณกำลังใช้ยาอะไรอยู่บ้าง (ทั้งยาตามใบสั่งแพทย์ ยาที่ซื้อได้เอง และสมุนไพรต่างๆ) เพื่อความปลอดภัย โปรดอย่าเริ่ม หยุด หรือเปลี่ยนขนาดยาใดๆ โดยไม่ได้รับความเห็นชอบจากแพทย์

  • ยาไซเมทิโคนนั้นอาจลดการดูดซึมยาไทรอยด์ได้ เช่น ยาเลโวไทรอกซีน (levothyroxine) หากคุณใช้ยาไทรอยด์ ควรใช้ยานั้นอย่างน้อย 4 ชั่วโมงก่อน หรือหลังจากใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของยาไซเมทิโคน

ปฏิกิริยากับอาหารหรือแอลกอฮอล์

ยาไซเมทิโคนอาจมีปฏิกิริยากับอาหารหรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา หรือเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดผลข้างเคียง โปรดปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกรก่อนเสมอ

ปฏิกิริยากับอาการโรคอื่น

ยาไซเมทิโคนอาจส่งผลให้อาการโรคของคุณแย่ลง หรือส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา โปรดแจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบ ถึงสภาวะโรคของคุณก่อนใช้ยาเสมอ

  • ยานี้ในรูปแบบยาน้ำ อาจจะมีส่วนผสมของฟีนิลอะลานีน (phenylalanine) โปรดปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ยาไซเมทิโคนรูปแบบนี้ หากคุณเป็นโรคโรคฟีนิลคีโตนูเรีย (phenylketonuria)

ขนาดยา

ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกรทุกครั้งเพื่อรับทราบข้อมูลเพิ่มเติม

ขนาดยาไซเมทิโคนสำหรับผู้ใหญ่

แก๊สคั่งในระบบทางเดินอาหาร

  • 40 ถึง 360 มก. รับประทานทุกๆ 6 ชั่วโมงหลังมื้ออาหารและก่อนนอน
  • ขนาดยาสุงสุด 500 มก./วัน

ขนาดยาไซเมทิโคนสำหรับเด็ก

แก๊สคั่งในระบบทางเดินอาหาร

  • อายุน้อยกว่า 2 ปี 20 มก. (0.3 มล.) รับประทานทุกๆ 6 ชั่วโมงหลังมื้ออาหารและก่อนนอน ขนาดยาสุงสุด 240 มก./วัน
  • อายุ 2 ถึง 12 ปี 40 มก. (0.6 มล.) รับประทานทุกๆ 6 ชั่วโมงหลังมื้ออาหารและก่อนนอน ขนาดยาสุงสุด 480 มก./วัน
  • อายุมากกว่า 12 ปี 40 ถึง 360 มก. รับประทานทุกๆ 6 ชั่วโมงหลังมื้ออาหารและก่อนนอน ขนาดยาสุงสุด 500 มก./วัน

รูปแบบของยา

ความแรงและรูปแบบของยามีดังนี้

  • ยาไซเมทิโคนรูปแบบยาเม็ด 80 มก.
  • ยาไซเมทิโคนรูปแบบแคปซูล 180 มก.
  • ยาไซเมทิโคนรูปแบบยาเม็ดเคี้ยวได้ 125 มก.
  • ยาไซเมทิโคนรูปแบบยาเม็ดเคี้ยวได้ 80 มก.
  • ยาไซเมทิโคนรูปแบบแคปซูล 125 มก.
  • ยาไซเมทิโคนรูปแบบยาหยอดแขวนตะกอน 40 มก./0.6 มล.(ลดแก๊สในผู้ใหญ่/ทารก)
  • ยาไซเมทิโคนรูปแบบแผ่น 62.5 มก.

กรณีฉุกเฉินหรือใช้ยาเกินขนาด

หากเกิดเหตุฉุกเฉินหรือใช้ยาเกินขนาด ควรแจ้งเหตุฉุกเฉินหรือนำส่งห้องฉุกเฉินใกล้บ้านโดยทันที

คุณควรจะพกรายชื่อของยาที่คุณใช้ทั้งหมดทั้งยาตามใบสั่งแพทย์และยาที่หาซื้อเองเผื่อสำหรับกรณีฉุกเฉิน

กรณีลืมใช้ยา

หากคุณลืมใช้ยาควรรีบใช้ในทันทีที่นึกได้ หรือถ้าหากใกล้ถึงเวลาใช้ยาครั้งต่อไป ให้ข้ามรอบไปใช้ยาตามตารางปกติได้เลย ไม่ควรเพิ่มปริมาณยา

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรคหรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

[embed-health-tool-bmi]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Simethicone. http://reference.medscape.com/drug/mylicon-phazyme-simethicone-342005#90. Accessed October 08, 2016.

Simethicone. http://www.medicinenet.com/simethicone_tabletscapsules-oral/article.htm. Accessed October 08, 2016.

Simethicone Capsule. https://www.webmd.com/drugs/2/drug-341-8265/simethicone-oral/simethicone-oral/details. Accessed October 08, 2016.

เวอร์ชันปัจจุบัน

11/05/2020

เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย เภสัชกรอาชานนท์ สมศักดิ์

อัปเดตโดย: Nattavara Pasathan


บทความที่เกี่ยวข้อง

อาหารที่ทำให้ท้องอืด และเพิ่มแก๊สในระบบทางเดินอาหารโดยไม่รู้ตัว

ท้องอืด สาเหตุและการป้องกัน


ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

เภสัชกรอาชานนท์ สมศักดิ์

ยาและอาหารเสริม · Hello Health Group


เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา