backup og meta

ไทอามีน (Thiamine)

ข้อบ่งใช้

ไทอามีนใช้สำหรับ

สารไทอามีน (Thiamine) เป็นวิตามิน เรียกอีกอย่างว่า วิตามินบีหนึ่ง วิตามินบีหนึ่ง พบในอาหารหลายชนิด เช่น ยีสต์ ธัญพืช ถั่วในฝัก ถั่วและเนื้อ สารนี้มักจะจะใช้ร่วมกับวิตามินบีชนิดอื่น และพบในผลิตภัณฑ์ที่มีวิตามินบีหลายชนิด

วิตามินบีหลายชนิดที่ว่า ได้แก่ วิตามินบีหนึ่งหรือไทอามีน วิตามินบีสองหรือไรโบฟลาวิน (riboflavin) วิตามินบีสาม เรียกว่าไนอะซิน (niacin) หรือไนอะซินาไมด์ (niacinamide) วิตามินบีห้าหรือกรดแพนโทเธนติก (pantothenic acid) วิตามินบีหกหรือไพริด็อกไซน์ (pyridoxine) วิตามินบีสิบสองหรือไซอะโนโซบาลามิน (cyanocobalamin) และกรดโฟลิก (folic acid) อย่างไรก็ตาม บางผลิตภัณฑ์อาจไม่ได้มีส่วนผสมเหล่านี้ทั้งหมด และบางผลิตภัณฑ์อาจมีส่วนประกอบของสารอื่น เช่น ไบโอติน (biotin) กรดพาราอะมิโนเบนโซอิก (para-aminobenzoic acid หรือ PABA) โคลีน ไบทาร์เทรต (choline bitartrate) และอิโนซิทอล (inositol)

มีการใช้สารไทอามีนเพื่อรักษาโรค ที่เกี่ยวกับระดับไทอามีนในร่างกายต่ำ เช่น การขาดสารไทอามีน รวมถึงโรคเหน็บชาและเส้นประสาทอักเสบ (neuritis) ที่เกี่ยวข้องกับการขาดวิตามินบี (pellagra) หรือการตั้งครรภ์

สารไทอามีนยังใช้เพื่อช่วยระบบขับถ่าย รวมถึงการเบื่ออาหาร โรคลำไส้อักเสบชนิดเป็นแผลและท้องเสีย

สารไทอามีนยังใช้ในผู้ป่วยโรคเอดส์ และกระตุ้นการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน ลดอาการเจ็บปวดจากเบาหวาน โรคหัวใจ การติดแอลกอฮอล์ สมองได้รับการกระทบกระเทือนอย่างอาการสมองน้อยอ่อน (cerebellar syndrome) โรคปากนกกระจอก ปัญหาในการมองเห็นอย่างต้อกระจกและต้อหิน การเคลื่อนไหวมีปัญหาและทำให้แข็งแรงมากขึ้น การใช้อื่นๆ รวมถึงการป้องกันมะเร็งปากมดลูก และความรุนแรงของโรคไตที่เพิ่มมากขึ้น ในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2

บางคนใช้สารไทอามีนเพื่อรักษาสภาพจิตใจให้เป็นบวก เพิ่มความสามารถในการเรียนรู้ เพิ่มพละกำลัง สู้กับความเครียดและป้องกันการสูญเสียความทรงจำ รวมถึงโรคอัลไซเมอร์

ผู้ให้บริการด้านการแพทย์จะฉีดสารไทอามีน ให้ผู้ป่วยที่มีปัญหาด้านความจำ ที่เรียกว่าอาการทางสมองกลุ่มเวอร์นิค (Wernicke’s encephalopathy syndrome) และการขาดสารไทอามีนอื่นๆ ในผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง หยุดดื่มสุราหรือมีอาการโคม่า

ไทอามีนออกฤทธิ์อย่างไร

ไม่ได้มีการศึกษาเกี่ยวกับกลไกการออกฤทธิ์ของสารไทอามีนที่เพียงพอ โปรดปรึกษาแพทย์เพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม อย่างไรก็ตาม เป็นที่ทราบแน่ชัดว่า สารไทอามีนจำเป็นต่อร่างกายในการเผาผลาญคาร์โบไฮเดรตอย่างเหมาะสม

ข้อควรระวังและคำเตือน

ข้อควรรู้ก่อนใช้สารไทอามีน

ปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรหาก

  • คุณกำลังตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร เนื่องจากในขณะที่คุณกำลังจะให้หรือให้นมบุตรอยู่ คุณควรใช้ยาตามที่แพทย์แนะนำเท่านั้น
  • คุณกำลังใช้ยาชนิดอื่น รวมถึงยาใดๆ ที่คุณซื้อโดยไม่ต้องมีใบสั่งแพทย์
  • คุณแพ้ส่วนผสมของสารไทอามีน หรือย หรือสมุนไพรชนิดอื่น
  • คุณมีอาการป่วย ความผิดปกติหรือโรคชนิดอื่น
  • คุณมีอาการแพ้ เช่น แพ้อาหาร สารย้อมสี วัตถุกันเสียหรือสัตว์อื่นๆ

ข้อกำหนดในการใช้อาหารเสริมไม่เคร่งครัดเท่ากับข้อกำหนดในการใช้ยา จำเป็นต้องศึกษาเพิ่มเติมเพื่อระบุความปลอดภัยของสารนี้ ข้อดีของการใช้อาหารเสริมต้องมีมากกว่าความเสี่ยง ก่อนใช้ ปรึกษาแพทย์เพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

ความปลอดภัยของสารไทอามีน

สารไททามีนค่อนข้างจะปลอดภัยเมื่อรับประทานในปริมาณที่เหมาะสม แม้ว่าจะมีปฏิกิริยาแพ้ หรือการระคายเคืองผิวหนัง ที่ไม่ค่อยเกิดขึ้น สารนี้ยังค่อนข้างปลอดภัย เมื่อฉีดเข้าหลอดเลือดโดยผู้ให้บริการด้านการแพทย์ การฉีดสารไทอามีนได้รับการรับรองโดยองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกาว่า เป็นผลิตภัณฑ์ที่สั่งโดยแพทย์หรือเภสัชกร

สารไทอามีนอาจไม่ได้เข้าสู่ร่างกายอย่างเหมาะสมในผู้ป่วยบางรายที่มีปัญหาที่ตับ ดื่มแอลกอฮอล์มาก หรือเป็นโรคชนิดอื่น

ข้อควรระวังและคำเตือนเฉพาะ

การตั้งครรภ์และการให้นมบุตร

สารไทอามีนค่อนข้างจะปลอดภัยสำหรับผู้หญิงที่ตั้งครรภ์หรือให้นมบุตรเมื่อใช้สารนี้ในปริมาณที่แนะนำคือ 1.5 มิลลิกรัมต่อวัน ไม่มีข้อมูลเพียงพอเกี่ยวกับความปลอดภัย ในการใช้ในปริมาณที่มากกว่า ในระหว่างตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร

ผลข้างเคียง

ผลข้างเคียงของการใช้สารไทอามีน

ผลข้างเคียงอาจมีอาการแพ้และระคายเคืองผิวหนัง

ไม่ใช่ทุกคนที่จะแสดงอาการอันเนื่องมาจากผลข้างเคียงเหล่านี้ อาจมีผลข้างเคียงอื่นที่ไม่ได้ระบุไว้ข้างต้น หากคุณมีความกังวลเรื่องผลข้างเคียง โปรดปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร

ปฏิกิริยา

ปฏิกิริยาอะไรที่อาจเกิดขึ้นกับไทอามีน

สารไทอามีนอาจทำปฏิกิริยากับยาที่คุณใช้ หรือโรคที่คุณเป็น ปรึกษาแพทย์ก่อนใช้

ขนาดยา

ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษาแพทย์ทุกครั้งหรือเภสัชกร ก่อนใช้สารไทอามีน

ขนาดยาทั่วไปของสารไทอามีน

งานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ได้ศึกษาขนาดยาต่อไปนี้

การรับประทาน

  • สำหรับผู้ใหญ่ที่มีระดับสารไทอามีนในร่างกายต่ำ (ขาดสารไทอามีนขั้นไม่รุนแรง): ขนาดยาทั่วไปของสารไทอามีนจะเป็น 5 ถึง 30 มิลลิกรัมในแต่ละครั้งหรือแบ่งเป็นหลายครั้ง ขนาดยาสำหรับการขาดสารไทอามีนขั้นรุนแรงอาจมากถึง 300 มิลลิกรัมต่อวัน
  • เพื่อลดความเสี่ยงที่จะเป็นต้อกระจก: การรับประทานอาหารที่มีสารไทอะมีน 10 มิลลิกรัมในแต่ละวัน

อ้างอิงตามอาหารเสริมสำหรับผู้ใหญ่ ปกติแล้วจะใช้สารไทอะมีน 1 ถึง 2 มิลลิกรัมต่อวัน ปริมาณสารอาหารที่แนะนำในแต่ละวัน (RDAs) ของสารไทอามีนคือ

  • ทารกอายุ 0 ถึง 6 เดือน 0.2 มิลลิกรัม
  • ทารกอายุ 7 ถึง 12 เดือน 0.3 มิลลิกรัม
  • เด็กอายุ 1 ถึง 3 ปี 0.5 มิลลิกรัม
  • เด็กอายุ 4 ถึง 8 ปี 0.6 มิลลิกรัม
  • เด็กชายอายุ 9 ถึง 13 ปี 0.9 มิลลิกรัม
  • ผู้ชายอายุ 14 ปีชึ้นไป 1.2 มิลลิกรัม
  • เด็กผู้หญิงอายุ 9 ถึง 13 ปี 0.9 มิลลิกรัม
  • ผู้หญิงอายุ 14 ถึง 18 ปี 1 มิลลิกรัม
  • ผู้หญิงอายุมากกว่า 18 ปี 1.1 มิลลิกรัม
  • ผู้หญิงตั้งครรภ์ 1.4 มิลลิกรัม
  • ผู้หญิงที่ให้นมบุตร 1.5 มิลลิกรัม

การฉีด

  • ผู้ให้บริการด้านการแพทย์จะฉีดสารไทอามีน เพื่อรักษาและป้องกันอาการจากการภาวะขาดสุรา หรือที่เรียกว่ากลุ่มอาการเวอร์นิค – คอร์ซาคอฟ (Wernicke-Korsakoff syndrome)

ขนาดของสารไทอามีนแตกต่างไปตามผู้ป่วยแต่ละราย ขนาดยาขึ้นอยู่กับอายุ สุขภาพและปัจจัยอื่นๆ การให้ยาเสริมไม่ได้ปลอดภัยเสมอไป โปรดปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับขนาดยาที่เหมาะสม

รูปแบบของยา

สารไทอามีนมีรูปแบบดังต่อไปนี้

  • แคปซูล

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรค และการรักษาโรคแต่อย่างใด

[embed-health-tool-bmi]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Thiamine https://www.webmd.com/vitamins-supplements/ingredientmono-965-thiamine%20vitamin%20b1.aspx?activeingredientid=965&activeingredientname=thiamine%20vitamin%20b1 Accessed January 16, 2018

Thiamine https://www.drugs.com/mtm/thiamine.html Accessed January 16, 2018

เวอร์ชันปัจจุบัน

31/07/2018

เขียนโดย จิดาภา ติยะสิริทานนท์

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย เภสัชกรอาชานนท์ สมศักดิ์

อัปเดตโดย: pimruethai


บทความที่เกี่ยวข้อง

ปวดฟันมาก ใช้ ยาแก้ปวดฟัน แบบไหนดี

โคเอนไซม์คิวเทน (CoQ10) เชื่อมโยงกับ สุขภาพหัวใจ อย่างไร


ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

เภสัชกรอาชานนท์ สมศักดิ์

ยาและอาหารเสริม · Hello Health Group


เขียนโดย จิดาภา ติยะสิริทานนท์ · แก้ไขล่าสุด 31/07/2018

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา