backup og meta

ไมเกรนสับสน (Confusional Migraine) ที่ส่งผลให้ปวดหัวจนเบลอได้

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ชลธิชา จันทร์วิบูลย์ · แก้ไขล่าสุด 08/03/2021

    ไมเกรนสับสน (Confusional Migraine) ที่ส่งผลให้ปวดหัวจนเบลอได้

    Confusional Migraine เป็นไมเกรนชนิดหนึ่ง ที่ทำให้ผู้ป่วยมีอาการสับสน เบลอ คิดอะไรไม่ออก สำหรับบางคนที่มีอาการหนักมาก ๆ ถึงขั้น ไม่รู้ตัว ไมเกรนชนิดนี้จะเป็นชนิดที่หาได้ยาก ส่วนใหญ่พบได้ในเด็กเท่านั้น วันนี้ Hello คุณหมอ มีข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับ ไมเกรนสับสน มาให้ได้อ่านกันค่ะ

    ไมเกรนสับสน (Confusional Migraine) คืออะไร

    Confusional Migraine หรือที่เรียกว่า “ไมเกรนสับสน’ ไมเกรนสับสนเฉียบพลัน (Acute Confusional Migraine หรือ ACM) เป็นไมเกรนชนิดที่หาได้ยาก ส่วนใหญ่แล้วพบได้ในเด็กและวัยรุ่น โดยเด็กร้อยละ 10 ที่มีอาการไมเกรน ภายในกลุ่มนี้จะมีเด็กที่เป็นไมเกรนสับสนน้อยกว่าร้อยละ 8 สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการไมเกรนสับสนมักจะมีอาการกระวนกระวายใจ สับสน เกิดการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์

    สำหรับสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการ Confusional Migraine นั้น ยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด แต่สาเหตุหนึ่งที่อาจเป็นไปได้คือ ศีรษะได้รับการกระแทก จากรายงานพบว่า ผู้ป่วยครึ่งหนึ่งที่มีอาการ Confusional Migraine มีสาเหตุมาจากศีรษะได้รับการกระแทก นอกจากนี้ ความเครียดทางอารมณ์และการอออกกำลังกายอย่างหนักยังเป็นตัวกระตุ้นที่ทำให้เกิดไมเกรนสับสนได้อีกด้วย

    อาการของไมเกรนสับสน

    Confusional Migraine ถูกตั้งชื่อจากอาการหลักที่เกิดขึ้น คือ ภาวะสับสนอย่างรุนแรง ที่เกิดขึ้นอย่างกระทันหันและเกิดอาการเป็นเวลายาวนาน โดยเฉลี่ยแล้วผู้ที่มีอาการไมเกรนสับสนจะมีอาการนาน  5 ชั่วโมง ในระหว่างที่อาการ Confusional Migraine กำเริบผู้ป่วยอาจมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น

  • ปวดหัว
  • สูญเสียความทรงจำ
  • เกิดความวิตกกังวล
  • รู้สึกปั่นป่วน
  • เห็นภาพเบลอ
  • วิงเวียน
  • เกิดความบกพร่องทางการพูด
  • อาการไมเกรนสับสนเฉลี่ยแล้วนานถึง 5 ชั่วโมง แต่สำหรับบางคนอาจจะมีอาการเพียงระยะเวลาสั้น ๆ เพียง 30 นาที หรือ 1 ชั่วโมง อาการทั้งหมดจะดีขึ้นหลังจากได้พักผ่อน นอนหลับ

    รักษาอาการ Confusional Migraine ได้อย่างไร

    Confusional Migraine ส่วนใหญ่มักจะทำให้เกิดความสับสน เกิดการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ หากคุณมีอาการเหล่านี้ควรรีบไปปรึกษาคุณหมอในทันที่ คุณหมอก็จะทำการประเมินอาการว่าเป็นอาการของไมเกรนสับสนหรือเป็นอาการของโรคอื่น ๆ หากอาการที่เกิดขึ้นเป็นอาการของไมเกรนสับสน ส่วนใหญ่แล้วแพทย์จะทำการจ่ายยาแก้ปวดเพื่อบรรเทาอาการ หรือบางครั้งอาจจะใช้วิธีการบำบัดด้วยออกซิเจน (High-flow Oxygen Therapy) ซึ่งเป็นวิธีที่จะควบคุมออกซิเจน โดยให้อัตราการไหลของออกซิเจนดีขึ้น ให้เพียงพอต่อความต้องการของผู้ป่วย

    อาการไมเกรนสับสนเป็นอาการที่ยังไม่ทราบสาเหตุอย่างแน่ชัด แต่หากคุณมีอาการเหล่านี้ การจดบันทึกอาการไมเกรนประจำวันเป็นประจำ อาจช่วยให้คุณหมอหาสาเหตุของการเกิดโรคได้ดีขึ้น คุณควรเก็บข้อมูลเหล่านี้

    • อาการไมเกรนมักจจะเกิดขึ้นเมื่อใด
    • อาการไมเกรนกำเริบนานแค่ไหน
    • เมื่อไมเกรนสับสนกำเริบ มีอาการอย่างไรบ้าง
    • เมื่อใดที่อาการกำเริบเหล่านั้นจะหายไป

    นอกเหนือจากการหลีกเลี่ยงหรือ จำกัด การมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งกระตุ้นไมเกรนแล้ว เมื่อรู้ว่าอาการกำเริบให้รับประทานยาแก้ปวดได้ทันที

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    ทีม Hello คุณหมอ


    เขียนโดย ชลธิชา จันทร์วิบูลย์ · แก้ไขล่าสุด 08/03/2021

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา