backup og meta

โรคหลอดเลือดสมองชนิดสมองขาดเลือด สาเหตุและอาการบอกเหตุที่คุณควรรู้

โรคหลอดเลือดสมองชนิดสมองขาดเลือด สาเหตุและอาการบอกเหตุที่คุณควรรู้

จากข้อมูลของสมาคม American Heart Association ของสหรัฐฯ มีผู้ป่วยจำนวนเกือบ 800,000 รายในสหรัฐอเมริกา ที่เป็นโรคหลอดเลือดสมองในแต่ละปี และผู้ป่วยจำนวนสามในสี่ราย เป็นโรคหลอดเลือดสมองครั้งแรกในชีวิต

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง โรคหลอดเลือดสมองชนิดสมองขาดเลือด (Ischemic Stroke) คิดเป็นประมาณร้อยละ 85 ของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง อาการจะเกิดขึ้นเมื่อลิ่มเลือดอุดกั้นหลอดเลือด ซึ่งทำหน้าที่ลำเลียงเลือดไปยังสมอง ส่งผลให้ขาดเลือดไปเลี้ยงสมอง ผู้ป่วยหลายล้านคนทั่วโลกกำลังทุกข์ทรมาน และต่อสู้กับโรคหลอดเลือดสมองประเภทนี้ ซึ่งมีวิธีรักษาอยู่หลายประการ วันนี้ Hello คุณหมอ จะพาไปทำความรู้จักกันค่ะ

ประเภทของ โรคหลอดเลือดสมองชนิดสมองขาดเลือด

1.โรคหลอดเลือดสมองขาดเลือดจากการอุดตัน (Embolic stroke)

ลิ่มเลือดจะก่อตัวขึ้นภายนอกสมอง โดยปกติแล้วมักก่อตัวขึ้นในหัวใจ แล้วหลุดเข้าไปในเลือดที่ไปยังสมอง สมองใช้พลังงานร้อยละ 20 ในแต่ละวัน ซึ่งเป็นเหตุผลที่ทำให้สมองของเรามีหลอดเลือดขนาดเล็กเป็นจำนวนมาก

ดังนั้นเมื่อลิ่มเลือดถูกลำเลียงมาถึงสมอง เนื่องจากขนาดของลิ่มเลือด ส่งผลให้ลิ่มเลือดอาจอุดกั้นเส้นเลือดเล็กๆ และบอบบางในสมองได้ ส่งผลให้เกิดโรคหลอดเลือดสมอง โดยโรคหลอดเลือดสมองประเภทนี้ มักเกิดขึ้นหลังจากเกิดโรคหลอดเลือดสมองขาดเลือดจากภาวะหลอดเลือดสมองตีบ (Thrombotic Stroke) เรามักมีเวลาน้อยในการรักษาโรคหลอดเลือดขาดเลือดจากการอุดตัน เนื่องจากโดยแท้จริงแล้ว เราไม่ทราบว่าจะเกิดขึ้นเมื่อไร เนื่องมาจากมันมักเกิดแบบเฉียบพลัน

2. โรคหลอดเลือดสมองขาดเลือดจากเหตุหลอดเลือดสมองตีบ (Thrombotic stroke)

โรคหลอดเลือดสมองประเภทนี้ ลิ่มเลือดจะก่อตัวขึ้นภายในหลอดเลือดแดงซึ่งมีหน้าที่ลำเลียงเลือดไปยังสมอง โรคนี้มักเกิดขึ้นพร้อมกับภาวะคอเลสเตอรอลสูง ภาวะไตรกลีเซอไรด์สูง หรืออาการอื่นๆ ที่เกิดจากความผิดปกติของระบบเผาผลาญ เซลล์ไขมันจำนวนมากจะค่อยๆ สะสมตัวในผนังด้านในของหลอดเลือดสมอง ในเวลาต่อมา คราบหนาจะก่อตัวขึ้น แล้วเป็นสิ่งอุดกั้นเลือดไม่ให้ไหลอย่างคล่องตัวผ่านทางเส้นเลือด

สาเหตุของ โรคหลอดเลือดสมองชนิดสมองขาดเลือด

  • หลอดเลือดแดงตีบ จากอายุที่มากขึ้น
  • การสูบบุหรี่ และการดื่มแอลกอฮอล์
  • ความดันโลหิตสูง
  • โรคอ้วน
  • ภาวะคอเลสเตอรอลสูง
  • ภาวะไตรกลีเซอไรด์สูง
  • ภาวะหัวใจห้องบนเต้นผิดจังหวะ (atrial fibrillation) ซึ่งเป็นภาวะการเต้นของหัวใจผิดจังหวะประเภทหนึ่งที่ก่อให้เกิดลิ่มเลือด

อาการของโรคหลอดเลือดสมองชนิดสมองขาดเลือด

ผู้ป่วยที่เป็นโรคหลอดเลือดสมองชนิดสมองขาดเลือด อาจแสดงอาการต่างๆ ได้แก่

  • พูดไม่ชัด
  • มีปัญหาในการทำความเข้าใจ
  • ร่างกายข้างหนึ่งอ่อนแรง โดยเฉพาะที่แขนและขา
  • การมองเห็นบิดเบือน
  • อาเจียน
  • มีปัญหาในการทรงตัว
  • มีปัญหาในการเดิน
  • มีอาการเวียนศีรษะ

หากคุณมีอาการใดๆข้างต้น คุณอาจเป็นโรคหลอดเลือดสมอง ดังนั้นให้โทรเรียกรถพยาบาลโดยเร็วที่สุด ผู้ป่วยโดยส่วนใหญ่สามารถได้รับการวินิจฉัย ด้วยการตรวจด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT scan) และการตรวจด้วยเครื่องแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI)

โรคหลอดเลือดสมองชนิดสมองขาดเลือดรักษาได้ ด้วยการฟื้นฟูการไหลเวียนของเลือดไปยังสมอง โดยใช้ยาละลายลิ่มเลือดฉีดเข้าไปในเส้นเลือด ควรมีการผ่าตัดในเวลาต่อมาเพื่อขยายเส้นเลือดที่ตีบตัน แพทย์จะแนะนำการรักษาที่ได้ผลมากที่สุดสำหรับคุณ โดยขึ้นอยู่กับอาการของคุณ

โรคหลอดเลือดสมองชนิดสมองขาดเลือด อาจเกิดขึ้นเมื่อมีอายุมาก แต่คุณสามารถลดความเสี่ยงได้ โดยการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต หากคุณมีภาวะความดันโลหิตสูง หรือภาวะคอเลสเตอรอลสูง แนะนำให้รักษาโดยเร็ว นอกจากนี้ การออกกำลังกายและการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ยังช่วยได้เช่นกัน หากคุณมีอาการที่สัมพันธ์กับโรคหลอดเลือด คุณควรปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับวิธีการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองที่เกิดขึ้นจากลิ่มเลือดได้

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

[embed-health-tool-bmi]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Stroke. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/stroke/home/ovc-20117264 Assessed September 9, 2016

Ischemic Stroke. http://www.stroke.org/understand-stroke/what-stroke/ischemic-stroke Assessed September 9, 2016

Stroke – Causes. http://www.nhs.uk/Conditions/Stroke/Pages/Whosatriskpage.aspx Assessed September 9, 2016

Ischemic stroke, http://www.strokecenter.org/patients/about-stroke/ischemic-stroke/ , Accessed September 14th, 2016

Impact of Stroke, http://www.strokeassociation.org/STROKEORG/AboutStroke/Impact-of-Stroke-Stroke-statistics_UCM_310728_Article.jsp#.V9j8JhB97R0 , Accessed September 14th, 2016

เวอร์ชันปัจจุบัน

13/07/2020

เขียนโดย ธีรวิทย์ บุญราศรี

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: Nattavara Pasathan


บทความที่เกี่ยวข้อง

อัมพาต สาเหตุ อาการ วิธีรักษา

อาการสะอึก ไม่เลิกราอาจเป็นสัญญาณของโรคหลอดเลือดสมองก็เป็นได้!


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ธีรวิทย์ บุญราศรี · แก้ไขล่าสุด 13/07/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา