backup og meta

โรคหอบหืด กรดไหลย้อน เกี่ยวข้องกันอย่างไร

โรคหอบหืด กรดไหลย้อน เกี่ยวข้องกันอย่างไร

อาการหายใจลำบาก เป็นหนึ่งในอาการที่น่ากลัวสำหรับผู้ที่อาการแสบร้อนกลางอก หรือเป็นโรคกรดไหลย้อน (GERD) ซึ่งเป็นโรคที่มีอาการแสบร้อนกลางอกชนิดเรื้อรัง โรคนี้สามารถทำให้เกิดอาการหายใจลำบากหรือติดขัดได้ เนื่องมาจากอาการหดเกร็งของหลอดลม และเกิดขึ้นในขณะที่หายใจเข้า ในระยะยาว อาจนำไปสู่การเกิด โรคหอบหืด ได้ วันนี้ Hello คุณหมอ มีข้อมูลเกี่ยวกับ โรคหอบหืด กรดไหลย้อน เกี่ยวข้องกันอย่างไร

โรคหอบหืด กรดไหลย้อน เกี่ยวข้องกันอย่างไร

โดยปกติแล้ว การหายใจลำบากมักมาพร้อมกับโรคกรดไหลย้อน โดยเกิดจากกรดที่ไหลย้อนกลับเข้าไปในหลอดอาหาร ซึ่งอาจทำให้หลอดอาหารแคบลงได้ เมื่อกรดไหลล้นเข้าไปในกล่องเสียง ทางเดินหายใจ และปอด ก็อาจทำให้ทางเดินหายใจเกิดอาการบวม จนเกิดเป็นอาการของโรคหอบหืดในรูปแบบที่ไม่ปกติขึ้นได้

อาการบาดเจ็บเหล่านี้อาจส่งผลได้อย่างมาก ต่อการทำงานของระบบทางเดินหายใจ เนื่องจากจะทำให้เกิดการไอ หายใจติดขัด และกลืนอาหารแข็งได้ลำบากขึ้น

ผู้เป็นโรคกรดไหลย้อนอาจมีอาการหายใจลำบากเพียงอย่างเดียว แต่ในบางกรณีอาจกลายเป็นโรคหอบหืดได้ ทั้งสองโรคนี้มีความเกี่ยวข้องกันอย่างชัดเจน

ผลการวิจัยทางคลีนิคได้ประเมินไว้ว่า

  • ประมาณ 3 ใน 4 ของผู้เป็นโรคหอบหืด มักต้องทนทุกข์กับโรคกรดไหลย้อนด้วย
  • ผู้ที่เป็นโรคหอบหืดมีโอกาสเป็นโรคกรดไหลย้อน มากกว่าผู้ที่ไม่ได้เป็นโรคหอบหืดถึงสองเท่า
  • ผู้เป็นโรคหอบหืดเรื้อรังไม่ยอมรับการรักษา มีโอกาสเสี่ยงจะเป็นโรคกรดไหลย้อนได้มากที่สุด

ผู้เป็นโรคหอบหืด ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับโรคกรดไหลย้อนนั้น อาจมีอาการโรคหอบหืดรุนแรงมากขึ้นได้ ฉะนั้นการรักษาโรคกรดไหลย้อน ก็จะช่วยบรรเทาโรคหอบหืดได้ด้วย

โดยปกติเชื่อกันว่า โรคหอบหืดพวกนี้เกิดขึ้นมาได้ เนื่องจากโรคกรดไหลย้อน อย่างเช่น 

  • โรคหอบหืดที่เริ่มเป็นในวัยผู้ใหญ่
  • โรคหืดที่มีอาการแย่ลงหากมีความเครียด หรือหลังทานอาหาร ออกกำลังกาย การเอนกายลงนอน หรือในเวลากลางคืน
  • โรคหืดที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษาตามปกติ

การปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์อาจช่วยได้

เมื่อมีปัญหาเกี่ยวกับการหายใจ ที่เกี่ยวข้องกับโรคกรดไหลย้อน เคล็ดลับต่อไปนี้ก็อาจช่วยป้องกันและรักษาอาการได้

โดยปกติแล้ววิธีป้องกันโรคกรดไหลย้อนที่ดีที่สุดก็คือ การปรับเปลี่ยนนิสัย เช่น 

  • คุณควรรับประทานอาหารแต่ละมื้อให้น้อยลง โดยแบ่งเป็นมื้อเล็กๆ แต่หลายมื้อในตลอดวัน และควรหลีกเลี่ยงอาหารในช่วงก่อนเข้านอน
  • หากคุณมีน้ำหนักเกิน ก็ควรออกกำลังกายเพื่อลดน้ำหนัก
  • ระบุตัวการที่ทำให้เกิดอาการกรดไหลย้อน อย่างเช่น ถ้าซอสมะเขือเทศทำให้คุณมีอาการกรดไหลย้อน ก็ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีซอสมะเขือเทศเป็นส่วนประกอบ
  • เลิกสูบบุหรี่ เพื่อป้องกันอาการระคายเคืองของกรดไหลย้อน

หากการเปลี่ยนไลฟ์สไตล์ แต่ยังไม่สามารถจัดการกับอาการหายใจผิดปกติ ที่เกี่ยวข้องกับกรดไหลย้อนได้ แพทย์อาจใช้เทคนิคพิเศษในการขยายหลอดอาหาร ใช้ยารักษาโรคกรดไหลย้อน และในบางกรณีก็อาจต้องใช้วิธีผ่าตัด เพื่อหาวิธีการรักษาผู้ป่วยให้มีประสิทธิภาพต่อไป

เคล็ดลับในการบรรเทาอาการของโรคกรดไหลย้อน

เคล็ดลับในการบรรเทาอาการกรดไหลย้อนมีมากมายหลายวิธี แล้วแต่จะเลือกใช้ให้เหมาะกับอาการและร่างกายของตัวเอง เคล็ดลับเหล่านี้อาจช่วยบรรเทาอาการของโรคกรดไหลย้อนได้

หนุนศีรษะในขณะนอนหลับให้สูงขึ้นประมาณ 10-20 เซนติเมตร เพื่อช่วยให้อาหารสามารถไหลลงท้องในขณะนอนหลับ โดยไม่ไหลย้อนกลับขึ้นมาทางหลอดอาหาร

นอกจากนี้ ก็ไม่ควรวางหมอนรอบที่นอนมากเกินไป เพราะอาจทำให้ร่างกายอยู่ผิดที่ผิดทาง และทำให้อาการของโรคกรดไหลย้อนรุนแรงขึ้นได้ นอกจากนี้ก็ควรหลีกเลี่ยงการคาดเข็มขัด หรือสวมเสื้อผ้าคับๆ เพราะอาจจะทำให้แรงกดบริเวณท้องได้

หากคุณเพิ่งมีอาการกรดไหลย้อนที่เกี่ยวเนื่องกับโรคหืดหอบ ก็ควรใช้ยารักษาอาการหอบหืดอย่างต่อเนื่อง เพื่อบรรเทาอาการแสบร้อนกลางอก พร้อมกับพยายามหลีกเลี่ยงสารกระตุ้นโรคหอบหืด และปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคกรดไหลย้อนได้ โดยการรักษาร่างกายให้แข็งแรง เพื่อช่วยป้องกันอาการของของโรคทั้งสองที่อาจมีความเกี่ยวเนื่องกัน

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

[embed-health-tool-bmr]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

WebMD, Heartburn And Asthma, http://www.webmd.com/asthma/guide/heartburn-asthma#1. Accessed on April 13, 2017.

Healthline, Acid Reflux and Asthma, http://www.healthline.com/health/gerd/asthma. Accessed on April 13, 2017.

GERD and Asthma. https://my.clevelandclinic.org/health/articles/10686-gerd-and-asthma

เวอร์ชันปัจจุบัน

11/05/2020

เขียนโดย ทีม Hello คุณหมอ

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: Nattavara Pasathan


บทความที่เกี่ยวข้อง

อยู่ ๆ ก็ไอเรื้อรัง คุณอาจเป็น โรคหอบหืดที่มีอาการไอเรื้อรังอย่างเดียว ก็ได้นะ

5 ปัจจัยกระตุ้นอาการหอบหืด ที่คุณอาจนึกไม่ถึง


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ทีม Hello คุณหมอ · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา