backup og meta
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ถามคุณหมอ
บันทึก
สารบัญ

โพแทสเซียม (Potassium)

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย เภสัชกรวิสสุตา ชั้นประเสริฐ · ยาและอาหารเสริม · Hello Health Group


เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 08/02/2021

โพแทสเซียม (Potassium) คือแร่ธาตุซึ่งทำหน้าที่สำคัญหลายอย่างในร่างกาย ใช้เพื่อรักษาและป้องกันภาวะระดับโพแทสเซียมต่ำ และยังใช้เพื่อรักษาความดันโลหิตสูงและป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง (stroke)

ข้อบ่งใช้

โพแทสเซียม ใช้สำหรับ

โพแทสเซียม (Potassium) คือแร่ธาตุซึ่งทำหน้าที่สำคัญหลายอย่างในร่างกาย ใช้เพื่อรักษาและป้องกันภาวะระดับโพแทสเซียมต่ำ และยังใช้เพื่อรักษาความดันโลหิตสูงและป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง (stroke)

บางคนใช้เพื่อรักษาภาวะระดับแคลเซียมในร่างกายสูง อาการเวียนหัวชนิดหนึ่ง ซึ่งเรียกว่าโรคน้ำในหูไม่เท่ากันหรือมีเนียร์ (Meniere’s disease) ภาวะแทลเลียมเป็นพิษ (thallium poisoning) ภาวะดื้อต่ออินซูลิน (Insulin resistance) อาการของวัยหมดประจำเดือน และโคลิก (colic) ในทารก

โพแทสเซียมยังใช้เพื่อรักษาโรคภูมิแพ้ ปวดหัว สิว โรคพิษสุราเรื้อรัง โรคอัลไซเมอร์ อาการสับสน ข้ออักเสบ สายตาพร่าเลือน มะเร็ง ภาวะเหนื่อยล้าเรื่อรัง ความผิดปกติที่ลำไส้ที่เรียกว่าโรคลำไส้ใหญ่อักเสบ (Colitis) อาการท้องผูก ผิวหนังอักเสบ (Dermatitis) อาการท้องอืด เป็นไข้ โรคเกาต์ นอนไม่หลับ หงุดหงิดฉุนเฉียว โรคโมโนนิวคลิโอสิส (mononucleosis) กล้ามเนื้ออ่อนแอ โรคกล้ามเนื้อเสื่อม (muscular dystrophy) ความเครียด และใช้ร่วมกับยาสำหรับรักษาโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง (Myasthenia gravis)

ผู้ให้บริการทางการแพทย์จะให้โพแทสเซียมผ่านทางหลอดเลือดดำ สำหรับรักษาและป้องกันภาวะระดับโพแทสเซียมต่ำ หัวใจเต้นไม่ปกติ และโรคหัวใจขาดเลือดฉับพลัน

การทำงานของ โพแทสเซียม

ยังไม่มีงานวิจัยเกี่ยวกับการทำงานของโพแทสเซียมที่มากพอ โปรดปรึกษากับแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม อย่างไรก็ตาม เป็นที่ทราบกันว่าโพแทสเซียมทำหน้าที่สำคัญในระบบการทำงานต่างๆ ของร่างกาย รวมไปถึงการส่งสัญญาณประสาท การหดตัวของกล้ามเนื้อ ความสมดุลของของเหลว และปฏิกิริยาทางเคมีอีกหลายอย่าง

ข้อควรระวังและคำเตือน

ข้อควรรู้ก่อนใช้ โพแทสเซียม

ปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกรถ้าหาก

  • หากคุณกำลังตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร เนื่องจากขณะที่คุณตั้งใจว่าจะให้นมบุตร หรือกำลังให้นมบุตร คุณควรจะใช้ยาตามคำแนะนำของแพทย์เท่านั้น
  • หากคุณกำลังใช้ยาอื่นอยู่ นี่รวมไปถึงยาที่คุณกำลังใช้อยู่ซึ่งสามารถหาซื้อได้โดยไม่ต้องมีใบสั่งยา
  • หากคุณมีอาการแพ้กับสารโพแทสเซียม ยาอื่นๆ หรือสมุนไพรอื่นๆ
  • หากคุณมีโรคอื่นๆ มีความผิดปกติ หรือมีอาการใดๆ
  • หากคุณมีอาการภูมิแพ้อื่นๆ เช่นแพ้อาหาร แพ้สีย้อม แพ้สารกันบูด หรือแพ้สัตว์
  • ข้อบังคับในการใช้อาหารเสริมนั้นมีเข้มงวดน้อยกว่าข้อบังคับในการใช้ยา ยังต้องการงานวิจัยอีกมากเพื่อบ่งชี้ความปลอดภัย ประโยชน์ของอาหารเสริมนี้จะต้องมีมากกว่าความเสี่ยงก่อนที่จะใช้งาน โปรดปรึกษากับแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม

    ความปลอดภัยของโพแทสเซียม

    โพแทสเซียมแนวโน้มว่าจะปลอดภัยสำหรับคนส่วนใหญ่ เมื่อให้โดยการฉีดเข้าหลอดเลือดดำอย่างเหมาะสม หรือรับประทานในขนาดไม่เกิน 90 มิลลิอิควิวาเลนท์ ของจำนวนโพแทสเซียมโดยรวม จากอาหารและผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร

    โพแทสเซียมที่มากเกินไปไม่ปลอดภัย และสามารถทำให้มีความรู้สึกแสบร้อน อ่อนแรง อัมพาต เซื่องซึม เวียนหัว สับสนทางจิตใจ ความดันโลหิตต่ำ หัวใจเต้นผิดปกติ และเสียชีวิตได้

    ข้อควรระวังเป็นพิเศษและคำเตือน

    การตั้งครรภ์และให้นมบุตร

    โพแทสเซียมจะปลอดภัยหากได้รับจากอาหารในปริมาณ 40-80 มิลลิอิควิวาเลนท์ต่อวันการรับประทานโพแทสเซียมมากเกินไปนั้นไม่ปลอดภัยขณะตั้งครรภ์และให้นมบุตร

    ความผิดปกติของระบบทางเดินอาหาร ที่อาจเปลี่ยนแปลงความเร็วของการที่อาหารและอาหารเสริมเข้าสู่ร่างกาย (GI motility conditions)

    หากคุณมีความผิดปกติอย่างใดอย่างหนึ่งนี้ ห้ามรับประทานอาหารเสริมโพแทสเซียม เนื่องจากโพแทสเซียมอาจจะสะสมในระดับที่อันตรายภายในร่างกาย

    โรคภูมิแพ้ต่อผลิตภัณฑ์แอสไพรินหรือทาร์ทราซีน (tartrazine)

    หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารเสริมโพแทสเซียมที่มีทาร์ทราซีน

    ผลข้างเคียง

    ผลข้างเคียงของการใช้โพแทสเซียม

    โพแทสเซียมสามารถทำให้ท้องไส้ปั่นป่วน คลื่นไส้ ท้องร่วง มีแก๊สในลำไส้ และผลข้างเคียงอื่นๆ

    ไม่ใช่ทุกคนจะเจอกับผลข้างเคียงเหล่านี้ หรืออาจจะมีอาการอย่างอื่นนอกเหนือจากที่กล่าวมาข้างต้น ถ้าคุณมีข้อสงสัยใดๆ โปรดปรึกษาหมอของคุณ

    ปฏิกิริยาของยา

    ปฏิกิริยาของโพแทสเซียม

    โพแทสเซียมอาจจะมีปฏิกิริยากับยาอื่นที่คุณกำลังใช้อยู่ หรืออาการโรคของคุณ ควรปรึกษากับแพทย์ก่อนการใช้ยา

    ยาที่อาจจะมีปฏิกิริยากับโพแทสเซียม ได้แก่

    • ยาสำหรับความดันโลหิตสูงกลุ่มเอซีอีอินฮิบิเตอร์ (ACE inhibitors)

    ยาสำหรับโรคความดันโลหิตสูงบางชนิดอาจเพิ่มปริมาณของโพแทสเซียมในเลือด การรับประทานโพแทสเซียมคู่กับยานี้ อาจทำให้มีโพแทสเซียมในเลือดมากเกินไป

    ยาสำหรับโรคความดันโลหิตสูงบางชนิดได้แก่ ยาแคปโตพริล (captopril) อย่างเช่นคาโปเท็น (Capoten) ยาอีนาลาพริล (enalapril) อย่างเช่นวาโซเทค (Vasotec) ยาลิซิโนพริล (lisinopril) อย่างเช่นพรินวิล (Prinivil) หรือเซสทริล (Zestril) ยารามิพริล (ramipril) อย่างเช่นอัลเทซ (Altace) และอื่นๆ

    • ยาสำหรับความดันโลหิตสูงกลุ่มแองจิโอเทนซินรีเซพเตอร์บล็อคเกอร์ (Angiotensin receptor blockers)

    ยาสำหรับโรคความดันโลหิตสูงบางชนิด อาจเพิ่มปริมาณของโพแทสเซียมในเลือด การรับประทานโพแทสเซียมคู่กับยานี้อาจทำให้มีโพแทสเซียมในเลือดมากเกินไป

    ยาสำหรับโรคความดันโลหิตสูงบางชนิดมีดังนี้ ยาลอซาร์แทน (losartan) อย่างเช่นโคซาร์ (Cozaar) ยาวาลซาร์แทน (valsartan) อย่างเช่นดิโอแวน (Diovan) ยาเออร์บีซาร์แทน (irbesartan) อย่างเช่นอวาโปร (Avapro) ยาแคนดีซาร์แทน (candesartan) อย่างเช่นอะตาแคน (Atacand) ยาเทลมิซาร์แทน (telmisartan) อย่างเช่นไมคาร์ดิส (Micardis) ยาอิโพรซาร์แทน (eprosartan) อย่างเช่นเทเวเท็น (Teveten) และอื่นๆ

    • ยาขับปัสสาวะ หรือโปแตสเซียม-สแปริ่ง ไดยูเรติก (Potassium-sparing diuretics)

    ยาขับปัสสาวะบางชนิดอาจเพิ่มปริมาณของโพแทสเซียมในร่างกาย การรับประทานยาขับปัสสาวะคู่กับโพแทสเซียม อาจทำให้มีโพแทสเซียมในร่างกายมากเกินไป

    ยาขับปัสสาวะที่เพิ่มปริมาณโพแทสเซียมในร่างกายมีดังนี้ ยาอะมิโลไรด์ (amiloride) อย่างเช่นมิดามอร์ (Midamor) ยาสไปโรโนแลคโตน (spironolactone) อย่างเช่นอัลแดคโทน (Aldactone) และยาไตรแอมเทอรีน (triamterene) อย่างเช่นไดเรเนียม (Dyrenium)

    ขนาดยา

    ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษากับแพทย์และเภสัชกรทุกครั้ง เพื่อรับทราบข้อมูลเพิ่มเติมก่อนการใช้ยานี้

    ขนาดทั่วไปของการใช้โพแทสเซียม

    ขนาดยาต่อไปนี้ได้รับการศึกษาในงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์แล้ว

    รับประทาน

    อาหารเสริมโพแทสเซียมต้องมีการปรับตามแต่ละคน และขึ้นอยู่กับระดับโพแทสเซียมในเลือดของของบุคคลนั้นๆ ควรจะรักษาระดับไว้ที่ประมาณ 3.5-5 มิลลิอิควิวาเลนท์

    ความต้องการตามปกติของผู้ใหญ่และจากการรับประทานอาหารตามปกติคือ 40-80 มิลลิอิควิวาเลนท์ ต่อวัน

    • สำหรับการป้องกันภาวะโพแทสเซียมต่ำ: 20 มิลลิอิควิวาเลนท์ ต่อวัน
    • สำหรับการรักษาภาวะโพแทสเซี่ยมต่ำ: ขนาดยาโพแทสเซียมโดยทั่วไปคือ 40-100 มิลลิอิควิวาเลนท์หรือมากกว่านั้น ต่อวัน แบ่งรับประทานเป็น 2 ถึง 4 ครั้ง
    • สำหรับการรักษาภาวะแคลเซียมสูง: 1 มิลลิอิควิวาเลนท์/กก. ต่อวัน หรือยายูโรโฟ-เค (Urophos-K) สี่เม็ด รับประทานวันละ 2 ครั้ง
    • สำหรับความดันโลหิตสูง: ขนาดยาปกติคือ 48-90 มิลลิอิควิวาเลนท์ ต่อวัน
    • สำหรับการป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง: รับประทานจากอาหารประมาณ 75 มิลลิอิควิวาเลนท์ (ประมาณ 3.5 กรัม ของธาตุโพแทสเซียม) ต่อวันอาจจะลดความเสี่ยงได้

    อาหารที่มีส่วนประกอบของโพแทสเซียมอย่างน้อง 350 มก. สามารถติดฉลากได้ว่าเป็น “อาหารที่มีโพแทสเซียมสูงและมีโซเดียมต่ำ ซึ่งอาจจะลดความเสี่ยงต่อการมีความดันโลหิตสูงและโรคหลอดเลือดสมองได้’

    ขนาดการใช้โพแทสเซียมแตกต่างกันไปตามแต่ละคน ขนาดที่คุณรับประทานขึ้นอยู่กับ อายุ สุขภาพ และสภาวะอื่นๆ อีกหลายอย่าง อาหารเสริมนั้นไม่ได้ปลอดภัยเสมอ โปรดปรึกษากับแพทย์สำหรับขนาดยาที่เหมาะสมกับคุณ

    รูปแบบของโพแทสเซียม

    รูปแบบของโพแทสเซียมมีดังนี้

    • รูปแบบตามธรรมชาติที่พบได้ในผลไม้ (โดยเฉพาะผลไม้แห้ง) ซีเรียล ถั่ว นม และผักต่างๆ
    • ยาแคปซูล

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรคหรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

    เภสัชกรวิสสุตา ชั้นประเสริฐ

    ยาและอาหารเสริม · Hello Health Group


    เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 08/02/2021

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา