backup og meta

ดอกจันทน์ (Mace)

ดอกจันทน์ (Mace)

การใช้ประโยชน์ ดอกจันทน์

ดอกจันทน์ ใช้ทำอะไร

ดอกจันทน์ เรียกอีกชื่อได้ว่า จันทน์เทศ (Nutmeg) เป็นผลิตผลจากต้นจันทน์เทศ (Myristica fragrans) มีเปลือกภายนอกแข็งสีเหลืองนวลที่ห่อหุ้มเมล็ดจันทน์เทศสีแดงส้ม ภายในนั้นยังมีเยื้อหุ้ม หรือรกหุ้มลักษณะคล้ายกับตาข่ายกำลังปกคลุมอีกชั้น

ส่วนใหญ่รับประทานดอกจันทน์เพื่อรักษาอาการท้องร่วง คลื่นไส้ อาเจียน อาการปวดท้อง มีแก๊สในลำไส้ และยังใช้เพื่อรักษาโรคมะเร็ง โรคไต เพิ่มการไหลเวียนของประจำเดือน อาจทำให้แท้งบุตร และอาการหลอนประสาท

การใช้ดอกจันทน์บนผิวหนังยังสามารถรักษาอาการปวด โดยเฉพาะอาการปวดข้อของโรครูมาติก (rheumatism)

สำหรับการทำเป็นอาหารนั้นนิยมใช้ผลลูกจันทน์ และดอกจันทน์เป็นเครื่องเทศ และเครื่องปรุง หรือทำเป็นสมุนไพรแปรรูปขบเคี้ยวได้

การทำงานของดอกจันทน์เป็นอย่างไร

มีการศึกษาไม่เพียงพอเกี่ยวกับวิธีการทำงานของดอกจันทน์ กรุณาปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรหรือแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม แต่อย่างไรก็ตาม เป็นที่ทราบกันว่า ดอกจันทน์สามารถฆ่าเชื้อรา แบคทีเรีย และยังมีสารเคมีที่อาจส่งผลกระทบต่อระบบประสาทส่วนกลางจึงควรใช้อย่างระมัดระวัง

ข้อควรระวังและคำเตือน

เราควรรู้อะไรบ้างก่อนใช้ดอกจันทน์

ควรปรึกษากับแพทย์และเภสัชกรหรือผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรถ้ามีอาการหรือลักษณะ ดังต่อไปนี้

  • ตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร เนื่องจากในขณะที่ตั้งครรภ์หรือให้นมบุตรควรจะได้รับยาหรือสมุนไพรบำรุง ที่จัดจำหน่ายโดยแพทย์เท่านั้น
  • อยู่ในระหว่างการใช้ยาหรือสมุนไพรอื่นๆ ร่วมด้วย รวมถึงยาทุกชนิดที่ซื้อรับประทานเองโดยไม่มีใบสั่งยาจากแพทย์
  • มีอาการแพ้สารที่มีส่วนประกอบของดอกจันทน์หรือยาและสมุนไพรชนิดอื่น
  • มีอาการเจ็บป่วย มีอาการผิดปกติ หรือมีโรคอื่นๆ แทรกซ้อน
  • มีอาการแพ้ต่าง ๆ เช่นแพ้อาหาร สีผสมอาหาร สารกันบูด หรือเนื้อสัตว์

ข้อบังคับสำหรับผลิตภัณฑ์สมุนไพรเสริมอาหารนั้นมีความเข้มงวดน้อยกว่าข้อบังคับของการใช้ยา จึงจำเป็นต้องศึกษาเพิ่มเติมเพื่อความปลอดภัยในการใช้ ประโยชน์ของการใช้ผลิตภัณฑ์สมุนไพรเสริมอาหารนี้จะต้องมีค่าน้ำหนักมากกว่าความเสี่ยง ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรหรือแพทย์หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม

ดอกจันทน์มีความปลอดภัยแค่ไหน

สำหรับสตรีตั้งครรภ์ และการให้นมบุตร ดอกจันทน์อาจอาจทำให้แท้งบุตรหรือทำให้เด็กพิการแต่กำเนิดได้

สำหรับผู้ที่มีภูมิคุ้มกันอ่อนแอควรใช้ในปริมาณที่เหมาะสม ในทางทฤษฎีนั้นการรับประทานดอกจันทน์มากเกินไปสามารถทำให้การทำงานของระบบภูมิคุ้มกันแย่ลงได้สำหรับผู้ที่มีภูมิคุ้มกันอ่อนแออยู่ก่อนแล้ว

ผลข้างเคียง

ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้ดอกจันทน์มีอะไรบ้าง

ดอกจันทน์มีสารไมริสติซิน (myristicin) ซึ่งมีผลข้างเคียงด้านทางจิตใจ การใช้จันทน์เทศในปริมาณมากเกินร่างกายรับไหวอาจมีอาการคลื่นไส้ ปากแห้ง หัวใจเต้นผิดปกติ กระสับกระส่าย และมองเห็นภาพหลอน

ไม่ใช่ทุกคนที่จะมีผลข้างเคียงดังกล่าว อาจเกิดผลข้างเคียงอื่นๆ ทั้งรุนแรงและไม่รุนแรงตามมาได้ ควรปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรเพิ่มเติม

ปฏิกิริยาระหว่างยา

ปฏิกิริยาที่อาจจะเกิดขึ้นกับดอกจันทน์

ดอกจันทน์อาจเกิดปฏิกิริยากับตัวยานั้น หรืออาจมีผลข้างเคียงต่อการรักษาอื่นๆ ที่ใช้อยู่เป็นประจำได้ ควรปรึกษาแพทย์หรือนักสมุนไพรศาสตร์ก่อนใช้สมุนไพร

ขนาดการใช้

ข้อมูลนี้ไม่สามารถเป็นคำสั่งในการใช้ยาได้ ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญทางด้านสมุนไพรหรือแพทย์ก่อนการใช้ยาเสมอ

ปกติแล้วควรใช้ดอกจันทน์ในปริมาณเท่าใด

รับประทาน

ปริมาณในการใช้ดอกจันทน์อาจแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล โดยขึ้นอยู่กับอายุ สุขภาพร่างกาย และปัจจัยอื่นๆ การใช้ยาสมุนไพรนั้นอาจไม่ได้มีความปลอดภัยเสมอ จึงควรปรึกษานักสมุนไพรศาสตร์ หรือแพทย์ในเรื่องปริมาณที่เหมาะสม

สมุนไพรดังกล่าวอาจอยู่ในรูปแบบใด

สมุนไพรดังกล่าวอาจอยู่ในรูปแบบต่อไปนี้ :

  • ดอกจันทน์สด
  • ยาน้ำสารสกัดดอกจันทน์
  • น้ำมันดอกจันทน์

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรคหรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

[embed-health-tool-bmi]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Mace https://www.webmd.com/vitamins-supplements/ingredientmono-1530-mace.aspx?activeingredientid=1530&activeingredientname=mace .Accessed December 23, 2019

Health benefits of Mace Spice https://www.healthbenefitstimes.com/health-benefits-of-mace-spice/ .Accessed December 23, 2019

MACE . https://www.rxlist.com/mace/supplements.htm .Accessed December 23, 2019

เวอร์ชันปัจจุบัน

11/05/2020

เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: Chayawee Limthavornrak


บทความที่เกี่ยวข้อง

อาหารสำหรับผู้ป่วยมะเร็ง ในช่วงทำเคมีบำบัด

บรรเทาอาการปวดท้อง แบบไม่ต้องพึ่งยา ด้วยวัตถุดิบหาง่ายใกล้ตัว


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา