backup og meta

ผักโขม (Amaranth)

ผักโขม (Amaranth)

ผักโขม (Amaranth) คนมักนำทั้งต้นมาทำเป็นยาช่วยรักษาอาการ ลดคอเลสเตอรอล ความดันเลือดสูง ทั้งมันยังช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระ และช่วยเพิ่มภูมิต้านทานอีกด้วย

สรรพคุณของผักโขม

สรรพคุณของ ผักโขม (Amaranth)

ใบ ผักโขม นั้นมีวิตามินซีอยู่นิดหน่อย ผู้คนมักนำทั้งต้นมาทำเป็นยาช่วยรักษาอาการเหล่านี้

  • ลดคอเลสเตอรอล
  • ความดันเลือดสูง
  • โรคระบบหัวใจหลอดเลือด
  • แผลเปื่อย แผลพุพอง
  • อาการท้องเสีย ท้องร่วง
  • อาการปากบวม คอบวม

นอกจากนี้ มันยังช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระ และช่วยเพิ่มภูมิต้านทานอีกด้วย ในการนำมาประกอบอาหาร ผักโขมถูกนำมาใช้ในลักษณะธัญพืช

กลไกลการออกฤทธิ์

การศึกษาเกี่ยวกับการออกทธิ์ของสมุนไพรเสริมอาหารชนิดนี้ยังไม่เพียงพอนัก ควรปรึกษานักสมุนไพร หรือแพทย์ของท่านเพื่อขอข้อมูลเพิ่มเติม อย่างไรก็ตาม การศึกษาบางชิ้นพบว่าผักโขมสามารถนำมาใช้รักษาอาการบางอย่างได้ เช่น ลดอาการบวม มีสารเคมีที่ช่วยป้องกันในบางขั้นตอนเมื่อเกิดอาการบวม อักเสบ (โดยการทำให้กระชับ)

ข้อควรระวัง และคำเตือน

สิ่งที่ควรทราบก่อนใช้ ผักโขม

ปรึกษาแพทย์ หรือเภสัชกร หรือ หมอสมุนไพร หาก:

  • กำลังตั้งครรภ์ หรือ อยู่ในช่วงให้นมบุตร เพราะเป็นช่วงที่ควรใช้ยาตามคำสั่งแพทย์เท่านั้น
  • กำลังใช้ยาประเภทอื่น รวมถึงยาทุกชนิดที่ไม่มีใบสั่งยาจากแพทย์
  • แพ้สารที่อยู่ในผักโขม หรือยาและสมุนไพรอื่นๆ
  • มีอาการป่วย ความผิดปกติ หรือ พยาธิสภาพ
  • เป็นโรคภูมิแพ้ชนิดอื่น ๆ เช่น แพ้อาหาร แพ้สีย้อม แพ้สารกันบูด หรือแพ้สัตว์

ข้อกำหนดในการใช้อาหารเสริมสมุนไพรมีความเข้มงวดน้อยกว่าการใช้ยาทั่วไป แต่ควรศึกษาให้รอบคอบเพื่อรับรองความปลอดภัยของการใช้สมุนไพรว่า ควรเกิดคุณประโยชน์มากกว่าอันตราย และควรปรึกษาแพทย์หรือหมอสมุนไพรเพื่อทราบข้อมูลเพิ่มเติม

ความปลอดภัยจากการใช้ผักโขม

สตรีผู้ตั้งครรภ์และผู้ที่อยู่ในระหว่างการให้นมบุตร

ข้อมูลเกี่ยวกับความปลอดภัยของการใช้สมุนไพรชนิดนี้ ในขณะตั้งครรภ์หรืออยู่ในช่วงให้นมบุตรยังมีไม่เพียงพอ ควรปรึกษาแพทย์อย่างสม่ำเสมอ ถึงประโยชน์และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นได้

ผลข้างเคียง

หากมีความกังวลเกี่ยวกับผลข้างเคียงของยา ควรปรึกษานักสมุนไพรหรือแพทย์

ปฏิกิริยาระหว่างใช้

สมุนไพรชนิดนี้อาจมีปฏิกิริยากับยาที่ยาที่กำลังใช้หรือพยาธิสภาพอื่นๆ ควรปรึกษาแพทย์หรือนักสมุนไพรเพื่อขอคำแนะนำเพิ่มเติมก่อนใช้

ปัญหาสุขภาพที่อาจมีปฏิกิริยากับสมุนไพรนี้ คือ

  • ความผิดปกติของภูมิคุ้มกันโรค ผักโขมอาจลดปริมาณเซโรโทนิน (สารสื่อประสาทชนิดหนึ่ง) ผักโขมอาจเพิ่มหรือลดประสิทธิภาพของระบบภูมิคุ้มกัน และควรใช้ด้วยความระมัดระวังในผู้ป่วยที่มีความผิดปกติของภูมิคุ้มกัน หรือกำลังทานยา สมุนไพร หรือผลิตภัณฑ์เสริมอาหารอื่นที่มีผลต่อระบบภูมิคุ้มกัน
  • ระบบประสาท ผักโขมอาจมีปริมาณแคดเมียม ไนเตรท โปรตีนชนิด antitrypsin และปัจจัยที่ความร้อนไม่คงตัวอื่นๆ อยู่มาก ที่อาจส่งผลต่อระบบประสาท
  • นอกจากนี้ ผักโขมที่โตในดินที่อุดมไปด้วยไนโตรเจน อาจทำให้เกิดปัญหาสุขภาพได้
  • ความผิดปกติของตับ ผู้ที่มีความผิดปกติในตับควรใช้ผักโขมด้วยความระมัดระวัง เนื่องจากมีสารยับยั้งการดูดซึมของแคลเซียมและแร่ธาตุสำคัญหลายชนิดอยู่ด้วย
  • ระดับน้ำตาลในเลือด ผักโขมอาจทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดลดลง แนะนำให้ระมัดระวังสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน หรือผู้ที่มีภาวะน้ำตาลในเลือดน้อย หรือกำลังทานยา สมุนไพร หรือผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่อาจส่งผลต่อระดับน้ำตาลในเลือด โดยอาจจะต้องมีการตรวจสอบอยู่เสมอโดยผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพที่ได้รับการรับรอง โดยรวมถึงการจัดยาที่เหมาะสมด้วย
  • ความดันเลือด ผักโขมอาจทำให้ความดันเลือดต่ำลง แนะนำให้ระมัดระวังสำหรับผู้ป่วยความดันต่ำ หรือกำลังทานยา สมุนไพร หรือผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่มีผลต่อความดัน โดยจะต้องมีการตรวจสอบความดันอยู่เสมอ รวมถึงมีการจัดยาที่เหมาะสมด้วย

ปริมาณการใช้ยา

ข้อมูลนี้ไม่สามมารถใช้แทนคำแนะนำจากแพทย์โดยตรง ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรหรือแพทย์ก่อนใช้ยาชนิดนี้ทุก

ปริมาณการใช้ทั่วไป

ผู้ใหญ่ (อายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป)

การชงชา 1 ถ้วย อาจใช้วิธีการใส่ใบผักโขม 1  ช้อนชาลงไปในน้ำเย็น 1 ถ้วย โดยบริโภค 1 ถึง 2 แก้วต่อวัน

การใช้เพื่อต้านอนุมูลอิสระ ต้องใช้ปริมาณ squalene ซึ่งเป็นส่วนประกอบของผักโขม 200-400 มิลลิกรัมต่อวัน

การใช้เพื่อเพิ่มระบบภูมิคุ้มกัน ต้องใช้ปริมาณ squalene 600 มิลลิกรัมต่อวัน

การใช้น้ำมันจากผักโขม 18 มิลลิกรัมต่อวัน เป็นเวลา 3 สัปดาห์ จะช่วยเรื่องโรคหัวใจ

การเพิ่มการมองเห็นในเวลากลางคืน ให้รับวิตามินเอปริมาณ 850 ไมโครกรัมต่อวันในรูปของใบผักโขม โดยใช้กับสตรีตั้งครรภ์ 6 วันต่อสัปดาห์ เป็นเวลา 6 สัปดาห์

รูปแบบของผักโขม

สมุนไพรเสริมอาหารชนิดนี้ อาจพบได้ในรูปแบบต่อไปนี้

  • แบบเหลวซึ่งมาจากการสกัด
  • แบบผง
  • แบบทิงเจอร์

[embed-health-tool-bmi]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Amaranth. http://www.webmd.com/vitamins-supplements/ingredientmono-869-amaranth.aspx?activeingredientid=869&activeingredientname=amaranth. Accessed March 11, 2017

Amaranth. http://www.akins.com/ns/DisplayMonograph.asp?StoreID=a59a6b1c10e44c9e9420a7a75b27460a&DocID=bottomline-amaranth. Accessed March 11, 2017

Amaranth: An Ancient Grain With Impressive Health Benefits. https://www.healthline.com/nutrition/amaranth-health-benefits#section7. Accessed August 10, 2020

 

เวอร์ชันปัจจุบัน

17/08/2020

เขียนโดย Ploylada Prommate

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: Nattrakamol Chotevichean


บทความที่เกี่ยวข้อง

ผักกาดหอมบัตเตอร์เฮด ผักสลัดที่อุดมด้วยคุณค่าทางโภชนาการ

6 ประโยชน์ของการรับประทานกิมจิ


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย Ploylada Prommate · แก้ไขล่าสุด 17/08/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา