backup og meta

มิลค์ทิสเทิล (Milk Thistle)

การใช้ประโยชน์

มิลค์ทิสเทิลใช้เพื่ออะไร?

มิลค์ทิสเทิลใช้ในการรักษาความผิดปกติของตับและความเสียหายของตับเช่นโรคดีซ่าน,โรคตับแข็ง,โรคตับอักเสบเรื้อรังหรือโรคถุงน้ำดี

นอกจากนี้ มิลค์ทิสเทิลยังใช้สำหรับ:

  • เบื่ออาหาร
  • อาการเสียดท้อง(อาการอาหารไม่ย่อย)
  • ต่อมลูกหมากโต(benign prostatic hyperplasia)
  • ความผิดปกติของเลือดเรียกว่าเบต้า ทาลัสซิเมีย(beta-thalassemia)
  • ภาวะมีบุตรยาก
  • โรคเบาหวาน
  • ความเสียหายของไต
  • อาการเมาค้าง
  • โรคเกี่ยวกับม้าม
  • มะเร็งต่อมลูกหมาก
  • ปอดและหน้าอกอักเสบ
  • โรคมาลาเรีย
  • อาการซึมเศร้า
  • อาการเกี่ยวกับมดลูก
  • เพิ่มการไหลของน้ำนม
  • อาการภูมิแพ้
  • เริ่มมีประจำเดือน
  • โรคซึมเศร้า (OCD)
  • โรคอัลไซเมอร์
  • โรคพาร์กินสัน
  • เส้นโลหิตตีบ
  • คอเลสเตอรอลสูง
  • อาการหมดประจำเดือน

นอกจากนี้การใช้มิลค์ทิสเทิลกับผิวเพื่อความเป็นพิษต่อผิวหนังที่เกิดจากรังสีมิลค์ทิสเทิลกับอาจถูกกำหนดไว้สำหรับการใช้งานในส่วนอื่นสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้จากแพทย์หรือเภสัชกรของคุณ

มิลค์ทิสเทิลทำงานอย่างไร?

มิลค์ทิสเทิลมีส่วนผสมหลักที่เรียกว่า ซิไลมาริน (silymarin) ซึ่งมีสารต้านอนุมูลอิสระและมีฤทธิ์ต้านการอักเสบ โปรดปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรหรือแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม

ข้อควรระวังและคำเตือน

เราควรรู้อะไรบ้างก่อนใช้มิลค์ทิสเทิล?

ปรึกษาแพทย์ผู้ทำการรักษาหรือเภสัชกรหรือผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพร ในกรณีที่:

  • คุณอยู่ในช่วงตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร เนื่องจาก, ในขณะที่คุณกำลังตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร คุณควรจะได้รับยาตามคำสั่งแพทย์เท่านั้น
  • คุณได้รับยาชนิดอื่นอยู่ กรณีนี้รวมถึงยาทุกชนิดที่ซื้อรับประทานเองโดยไม่มีใบสั่งยาจากแพทย์
  • คุณมีอาการแพ้สารจาก มิลค์ทิสเทิลหรือแพ้ยาชนิดอื่น หรือแพ้สมุนไพรชนิดอื่น
  • คุณมีอาการไม่สบาย, มีอาการผิดปกติ, หรือภาวะทางการแพทย์อื่นๆ เช่นผู้ที่มีประวัติมะเร็ง(รวมถึงมะเร็งเต้านม,มดลูกและมะเร็งต่อมลูกหมาก )

คุณมีอาการแพ้ต่าง ๆ เช่น แพ้อาหาร สีผสมอาหาร สารกันบูด หรือเนื้อสัตว์ได้แก่ragweed, เบญจมาศ, ดอกดาวเรือง, ดอกคาโมไมล์, ยาร์โรว์หรือเดซี่

ข้อบังคับสำหรับอาหารเสริมประเภทสมุนไพรนั้นมีความเข้มงวดน้อยกว่าข้อบังคับของการใช้ยา จำเป็นต้องมีการศีกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับความปลอดภัย คุณประโยชน์ของการรับประทานอาหารเสริมประเภทสมุนไพรนี้ต้องมีค่าน้ำหนักมากกว่าความเสี่ยง ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรหรือแพทย์ผู้ทำการรักษาสำหรับข้อมูลเพิ่มเติม

มิลค์ทิสเทิลปลอดภัยแค่ไหน?

ในเด็ก:

ยังไม่มีการศึกษาวิจัยใดที่แสดงให้เห็นว่าสามารถให้มิลค์ทิสเทิลแก่เด็กได้หรือไม่ ปัญหาที่เกี่ยวกับตับเป็นปัญหาร้ายแรงและควรได้รับการวินิจฉัยโดยแพทย์ ปรึกษาแพทย์ของบุตรหลานของคุณก่อนที่จะให้มิลค์ทิสเทิลแก่เด็ก

การตั้งครรภ์และให้นมบุตร:

ยังมีข้อมูลไม่เพียงพอเกี่ยวกับความปลอดภัยในการใช้มิลค์ทิสเทิลระหว่างการตั้งครรภ์และให้นมบุตร เพื่อความปลอดภัยควรหลีกเลี่ยงการใช้งาน

ผลข้างเคียง

ผลข้างเคียงที่อาจจะได้รับจากการใช้  มิลค์ทิสเทิลมีอะไรบ้าง?

มิลค์ทิสเทิลาจทำให้เกิดผลข้างเคียงเช่น:

  • ท้องไส้ปั่นป่วน
  • ท้องเสีย
  • คลื่นไส้และอาเจียน
  • ผื่น (จากการสัมผัสมิลค์ทิสเทิล)

ไม่ใช่ทุกคนที่จะได้รับผลข้างเคียงเหล่านี้ อาจจะมีผลข้างเคียงบางอย่างที่ไม่ได้ระบุไว้ข้างต้น

ถ้าหากคุณมีความกังวลเกี่ยวกับผลข้างเคียง โปรดปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรหรือแพทย์ผู้ทำการรักษา

ปฏิกิริยาต่อยา

ปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นเมื่อใช้ยาอื่นร่วมกับ มิลค์ทิสเทิลมีอะไรบ้าง?

มิลค์ทิสเทิลอาจมีผลกับยาที่คุณรับประทานอยู่ หรือมีผลกับภาวะทางการแพทย์อื่นๆ ปรึกษากับแพทย์สมุนไพรแผนโบราณหรือแพทย์ผู้ทำการรักษาก่อนใช้งาน

  • ยาเหล่านี้อาจรวมถึง:ยาบิวทีโรฟีโนน (Butyrophenones) เช่น ฮาโลเปรีดอล(haloperidol)
  • ยาฟิโนไทซิน(Phenothiazines) เช่น คลอร์โปรมาซีน(chlorpromazine), ฟูเพนนาซิน(fluphenazine) และ โพรมีทาซิน(promethazine)
  • เฟนิโทอิน(Phenytoin)(ยาแก้ชัก)
  • ฮาโลเตน(Halothane)
  • ยาคุมกำเนิดหรือยาทนแทนฮอร์โมน
  • ยาแก้แพ้เช่น เฟกโซเฟนาดีน (ยาแก้แพ้)
  • ยาคอเลสเตอรอลสูงเช่นโลวาสแตติน(lovastatin) (เมวาคอร์, อัลติคอร์)
  • ยาลดความวิตกกังวลได้แก่อัลปราโซแลม( alprazolam) (ซาแน๊กซ์), ไดอาซีแพม(diazepam) (แวเลี่ยม)) และลอราซีแพม(lorazepam) (เอติแวน)
  • ยาต้านเกล็ดเลือดและยาต้านการแข็งตัวของเลือด(ยาเจือจางเลือด) เช่นโคลพิโดเกรล(clopidogrel) (พลาวิกซ์) และ วาร์ฟาริน(warfarin) (คูมาดิน)
  • ยารักษามะเร็ง

ขนาดการใช้

ข้อมูลที่เผยแพร่นี้ไม่ใช่คำแนะนำทางการแพทย์ ดังนั้นจึงควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านเลม่อนหรือแพทย์ผู้ทำการรักษาก่อนใช้ยาชนิดนี้เสมอ

 

ขนาดปกติของการใช้มิลค์ทิสเทิลคือเท่าไหร่?

ผู้ใหญ่ (มากกว่า 18 ปี)

  • สำหรับไวรัสตับอักเสบเฉียบพลัน: 160-800มก. ของไซลิมาริน(silymarin) (เช่นเลการอน®) โดยรับประทานทุกวันสามเวลา เป็นเวลาสามสัปดาห์
  • สำหรับอาการแพ้: ใช้ไซลิมาริน 140 มก. 3 ครั้งต่อวัน เป็นเวลา 1 เดือน
  • สำหรับพิษเชื้อราแบบเห็ด: 20-50มก. ต่อกิโลกรัม ไซลิมาลิน 500 มิลลิลิตร ของสารละลายเดกซ์โทรส 5% ฉีดเข้าไปในหลอดเลือดดำทุกๆ 6 ชั่วโมงต่อวัน
  • สำหรับต้านอนุมูลอิสระ: ใช้ไซลิมาริน ขนาด 140 มก. (ลิเวอร์กอล®) โดยรับประทาน 3 ครั้งต่อวัน เป็นเวลา 3 สัปดาห์
  • สำหรับโรคตับแข็ง: 160-800 มก. ของ ไซลิมาริน (เช่นเลกาลอน®) รับประทานในปริมาณ 2-3 ครั้งต่อวันเป็นเวลาไม่เกินสองปี
  • สำหรับโรคเบาหวาน (ชนิดที่ 2): ไซลิมาริน ขนาด 200-230 มก. (เช่นเลกาลอน®) รับประทาน 1-3 ครั้งต่อวันเป็นเวลา 4 สัปดาห์ถึง 12 เดือนพร้อมกับการรักษาตามปกติ
  • สำหรับรักษาไตในโรคเบาหวาน: ใช้ไซลิมาริน ขนาด 140 มก. 3 ครั้งต่อวันเป็นเวลา 3 เดือน
  • สำหรับความเสียหายของตับจากยาหรือสารพิษ: 160-800 มก. ของ ไซลิมาริน (เช่นเลกาลอน®) รับประทานทุกวันสามครั้ง เป็นระยะเวลาตั้งแต่ 15 วันถึง5สัปดาห์; ยาไซบินิน 70 มก. รับประทาน 3 ครั้งต่อวันเป็นเวลา 6-12 เดือน
  • สำหรับภาวะเจริญพันธุ์: ใช้ยาสามขนาด ขนาด 70 มก. (นอกเหนือจากการรักษาตามปกติ) ในหนึ่งวัน
  • สำหรับคอเลสเตอรอลสูง: ใช้ ไซลิมาริน 200-600 ไมโครกรัมเป็นเวลา 1 หรือ 3 ครั้งต่อวัน เป็นเวลาสี่เดือนนอกเหนือจากการรักษาตามปกติ
  • สำหรับโรคตับเรื้อรัง: 160-480มก.ของไซลิบิน (Silipide®, IdB 1016) รับประทานหนึ่งหรือสามครั้งต่อวันเป็นเวลานานถึงสามเดือน 120-420มก.ของไซลิมาริน (เลกาลอน®) รับประทานทุกวัน แบ่งยาเป็นสามขนาด สำหรับเวลาสี่สัปดาห์ถึง 12 เดือน; ไซลิบินิน (เช่นเลกาลอน® SIL) โดยฉีดเข้าไปในหลอดเลือดดำเป็นระยะเวลา 10-14 วัน
  • สำหรับโรคข้อเข่าเสื่อม: ของไซลิมาริน 150 มิลลิกรัมรับประทานวันละสองครั้งเป็นเวลาแปดสัปดาห์
  • สำหรับการระคายเคืองผิวหนังจากรังสี: ใช้ครีม ไซลิมาริน (ลิเวียเดิม®)บนผิวหนังเด็ก (ต่ำกว่า 18 ปี)
  • สำหรับความเสียหายของตับจากยาหรือสารพิษ: 80-320 มก.ของไซลิบินิน รับประทานต่อกันวันเป็นเวลา 28 วัน

ปริมาณการใช้อาหารเสริมประเภทสมุนไพรชนิดนี้อาจแตกต่างกันไปในผู้ป่วยแต่ละราย ปริมาณยาที่ใช้ขึ้นอยู่กับช่วงอายุ, สุขภาพ, และปัจจัยอื่น ๆ  ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมอาจไม่ปลอดภัยเสมอไป โปรดปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรหรือแพทย์ผู้ทำการรักษาสำหรับปริมาณที่เหมาะสมกับคุณ

มิลค์ทิสเทิลมีในรูปแบบใดบ้าง?

มิลค์ทิสเทิลอาจมีจำหน่ายในรูปแบบดังต่อไปนี้:

  • แคปซูลสมุนไพรแห้ง (แต่ละแคปซูลมีไซลิมาริน ประมาณ 120 ถึง 140 มก.)
  • ของเหลวสกัด
  • ทินเจอน์
  • ไซลิมาริน ฟอสฟาทิดิลโคลีน เชิงซ้อน

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำทางการแพทย์, การวินิจฉัย หรือการรักษาแต่อย่างใด

[embed-health-tool-bmi]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Milk Thistle. https://nccih.nih.gov/health/milkthistle/ataglance.htm. Accessed November 28, 2016.

Milk Thistle. http://www.webmd.com/vitamins-supplements/ingredientmono-138-milk%20thistle.aspx?activeingredientid=138&activeingredientname=milk%20thistle. Accessed November 28, 2016.

Milk Thistle. http://umm.edu/health/medical/altmed/herb/milk-thistle. Accessed November 28, 2016.

Milk Thistle. http://www.mayoclinic.org/drugs-supplements/milk-thistle/dosing/hrb-20059806. Accessed November 28, 2016.

เวอร์ชันปัจจุบัน

12/05/2020

เขียนโดย Ploylada Prommate

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


บทความที่เกี่ยวข้อง

มะก่องข้าว สมุนไพรพื้นบ้านมากคุณประโยชน์

หน่อไม้ (Bamboo shoots)


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย Ploylada Prommate · แก้ไขล่าสุด 12/05/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา