มะก่องข้าว เป็นพืช สมุนไพร ที่หลายคนรู้จักคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี เพราะเรามักจะเห็นพืชชนิดนี้ขึ้นตามถนน ตามริมรั้ว แต่หลายคนอาจไม่ทราบว่ามะก่องข้าวนั้นมีสรรพคุณมากมายที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ วันนี้ Hello คุณหมอ จึงพาทุกคนมาทำความรู้จักกับพืชสมุนไพรชนิดนี้ให้มากขึ้นกันค่ะ จะมีประโยชน์ต่อสุขภาพอย่างไรบ้าง ติดตามอ่านได้ในบทความนี้เลยค่ะ
ทำความรู้จักมะก่องข้าว (Indian Mallow) สมุนไพร จากแพทย์แผนอายุรเวช
มะก่องข้าว มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Abutilon indicum เป็นสมุนไพรของอินเดียที่ใช้ในตำราแพทย์แผนอายุรเวช มีถิ่นกำเนิดในเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ต้นมีลักษณะเป็นพุ่ม สูงประมาณ 1-2 เมตร ดอกมีสีเหลือง พืชชนิดนี้จะขึ้นตามริมถนนพุ่มไม้เตี้ย ๆ มักพบพืชชนิดนี้ในที่แห้ง ที่ดอน พื้นที่รกร้าง
อย่างไรก็ตาม มะก่องข้าวเป็นพืชสมุนไพรที่ทางแพทย์อายุรเวชอินเดียนิยมนำมารักษาให้ผู้ป่วยที่มีอาการปวดข้อ อาการผิดปกติของข้อต่อและกล้ามเนื้อเสื่อม อาการอ่อนเพลียทั่วไป เป็นต้น
5 คุณประโยชน์ จาก สมุนไพร พื้นบ้านมะก่องข้าว
- เพิ่มความแข็งแรงให้กล้ามเนื้อ
สมุนไพรมะก่องข้าว มีคุณสมบัติช่วยเพิ่มความแข็งแรงให้กับกล้ามเนื้อ และช่วยลดอาการปวดเมื่อย ปวดตัวตามร่างกาย เพียงนำใบมาบดเป็นยาต้ม ไว้ดื่มระหว่างวัน จะช่วยบรรเทาอาการปวดให้ลดลงได้
- รักษาอาการเหงือกอักเสบ
เพียงนำใบมาต้มพร้อมกับผงสารส้มเล็กน้อย นำมากลั้วคอสามารถรักษาอาการเหงือกอักเสบ และอาการปวดฟันได้ อักทั้งยังช่วยบำรุงฟัน บำรุงเหงือก ให้แข็งแรงอีกด้วย
- ระบบปัสสาวะ
มะก่องข้าวช่วยบรรเทาอาการเจ็บปวดที่เกี่ยวข้องกับระบบปัสสาวะ เช่น เจ็บปวดขณะปัสสาวะ แผลในกระเพาะปัสสาวะและทางเดินปัสสาวะ เป็นต้น
- บรรเทาอาการไอ เจ็บคอ
พืช สมุนไพร มะก่องข้าวมีสรรพคุณช่วยขับลม แก้ไอ บรรเทาอาการต่อมทอมซิลอักเสบ และปัญหาเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ
- รักษาบาดแผล
เนื่องจากสมุนไพรมะก่องข้าวมีคุณสมบัติต้านเชื้อแบคทีเรีย จึงเหมาะสำหรับการรักษาบาดแผลทุกชนิด เพียงนำใบสดมาบดผสมกับขมิ้นแล้วทาลงบนบาดแผล จะช่วยรักษาอาการอักเสบ ลดอาการปวดและการติดเชื้อจากบาดแผลได้
คุณสมบัติทางยา (แยกตามส่วนต่าง ๆ ของพืช สมุนไพร )
ราก
รักษาการติดเชื้อในทรวงอก รักษาหนองใน บรรเทาอาการท่อปัสสาวะอักเสบ
เปลือก, ต้น
ใช้เป็นยาถ่ายพยาธิ ช่วยขับปัสสาวะ และมีสรรพคุณเป็นยาระบายด้วย
ใบ
ใช้บรรเทาอาการของโรคซิฟิลิสของอวัยวะเพศชาย และรักษาหนองใน
เมล็ด
รักษาโรคหลอดลมอักเสบ กระเพาะปัสสาวะอักเสบ รวมถึงใช้เป็นยาระบาย
ข้อควรระวังและผลข้างเคียง
สตรีมีครรภ์หรือสตรีที่อยู่ในช่วงให้นมบุตร ควรหลีกเลี่ยงการใช้ สมุนไพร มะก่องข้าว รวมถึงสารสกัดที่มีส่วนผสมจากสมุนไพรมะก่องข้าว หากคุณไม่มั่นใจว่าสมุนไพรมะก่องข้าวจะส่งผลเสียหรือผลข้างเคียงต่อร่างกายหรือไม่ ควรปรึกษาแพทย์และเภสัชกรก่อนที่ใช้สมุนไพรมะก่องข้าว
[embed-health-tool-bmi]