backup og meta

โสมซานซี (Panax Pseudoginseng)

โสมซานซี (Panax Pseudoginseng)

การใช้ประโยชน์ โสมซานซี

โสมซานซีใช้ทำอะไร

โสมซานซี (Panax pseudoginseng) เป็นพืชชนิดหนึ่ง ซึ่งรากสามารถนำมาทำยาได้ โสมซานซีมักถูกนำมาใช้ประโยชน์ในการหยุดเลือดหรือชะลอเลือด บางครั้งอาจใช้เพื่อหยุดเลือดกำเดาไหล รักษาอาการไอหรืออาเจียนเป็นเลือด หรือหยุดเลือดในมดลูกและบริเวณใบหน้า

โสมซานซียังใช้เพื่อ :

  • บรรเทาความเจ็บปวด
  • ลดอาการบวม
  • ลดคอเรสเตอรอลและความดันโลหิต
  • บรรเทาอาการเจ็บหน้าอก (หลอดเลือดหัวใจตีบ) เจ็บแปลบ อาการสั่นและเจ็บคอ
  • บางคนอาจใช้โสมซานซีทาผิวเพื่อห้ามเลือด

สามารถใช้ร่วมกันสมุนไพรอีกเจ็ดชนิด (PC-SPES) โสมซานซีจะช่วยบรรเทามะเร็งต่อมลูกหมาก

การทำงานของโสมซานซีเป็นอย่างไร

มีการศึกษาเกี่ยวกับการทำงานของโสมซานซีที่ไม่เพียงพอนัก จึงจำเป็นต้องปรึกษาแพทย์ผู้ดูแลและนักสมุนไพรศาสตร์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม อย่างไรก็ตาม มีรายงานผลการศึกษาบางชิ้นได้รายงานว่า โสมซานซีมีสรรพคุณช่วยในการคลายหลอดเลือด ซึ่งทำให้เลือดไหลเวียนดีขึ้นและเป็นประโยชน์ต่อการเพิ่มความดันโลหิต

ข้อควรระวังและคำเตือน:

เราควรรู้อะไรบ้างก่อนใช้โสมซานซี

ปรึกษาแพทย์ผู้ทำการรักษาหรือเภสัชกรหรือผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพร ในกรณีที่ :

  • ตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร เนื่องจากในขณะที่ตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร ควรจะได้รับยาตามคำสั่งแพทย์เท่านั้น
  • ใช้ยาชนิดอื่นอยู่ รวมถึงยาทุกชนิดที่ซื้อรับประทานเองโดยไม่มีใบสั่งยาจากแพทย์
  • แพ้สารจากโสมซานซีหรือแพ้ยาชนิดอื่น หรือแพ้สมุนไพรชนิดอื่น
  • มีอาการป่วย มีอาการผิดปกติ หรือมีพยาธิสภาพอื่นๆ
  • มีอาการแพ้ต่างๆ เช่น แพ้อาหาร แพ้สีผสมอาหาร แพ้สารกันบูด หรือเนื้อสัตว์

ข้อปฏิบัติในการใช้สมุนไพรนั้นมีความเข้มงวดที่น้อยกว่าการใช้ยารักษาโรค จำเป็นต้องมีการศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม เพื่อรับรองความปลอดภัย ซึ่งการจะใช้ประโยชน์ของสมุนไพรนั้นต้องศึกษาความเสี่ยงก่อนใช้และควรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมกับแพทย์ผู้ดูแลหรือนักสมุนไพรศาสตร์ก่อนใช้สมุนไพรนั้น

โสมซานซี นั้นมีความปลอดภัยแค่ไหน

ยังไม่มีผลการรับรองความปลอดภัยของโสมซานซี

ข้อควรระวังและคำเตือนพิเศษ

สำหรับผู้ที่ตั้งครรภ์หรืออยู่ในช่วงให้นมบุตร: ยังไม่มีข้อมูลที่เพียงพอเกี่ยวกับความปลอดภัยของการใช้สมุนไพรนี้ระหว่างการตั้งครรภ์และช่วงให้นมบุตร เพราะจากการทดลองกับสัตว์พบว่า มีสารในโสมซานซีบางชนิดที่มีผลเสียต่อทารกได้

ภาวะที่มีความเกี่ยวข้องกับฮอร์โมน เช่น มะเร็งเต้านม มะเร็งปากมดลูก มะเร็งในรังไข่ เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ หรือเนื้องอกในมดลูก : โสมซานซีอาจมีการทำงานคล้ายเอสโตรเจน จึงไม่ควรใช้โสมซานซี โดยเฉพาะหากมีภาวะใดที่อาจมีอาการแย่ลงจากการเพิ่มขึ้นของเอสโตรเจน

ผลข้างเคียง

ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้โสมซานซีมีอะไรบ้าง

โสมซานซีอาจทำให้มีผลข้างเคียง เช่น ปากแห้ง ผิวเป็นรอยจ้ำ วิตกกังวล มีปัญหาในการนอน วิงเวียนศีรษะและอาเจียน

ไม่ใช่ทุกคนที่จะมีผลข้างเคียงดังกล่าว บางครั้งอาจเกิดผลข้างเคียงอื่นๆ ที่ไม่ได้กล่าวถึง ซึ่งหากพบอาการข้างเคียงใดๆ ควรปรึกษาแพทย์หรือนักสมุนไพรศาสตร์

ปฏิกิริยาระหว่างยา

ยาที่อาจเกิดปฏิกิริยากับโสมซานซีมีอะไรบ้าง

การใช้ยาบางชนิดอาจเกิดปฏิกิริยากับตัวยานั้น หรืออาจมีผลข้างเคียงต่อการรักษาอื่นๆ ที่ใช้อยู่เป็นประจำได้ ควรปรึกษาแพทย์หรือนักสมุนไพรศาสตร์ก่อนใช้สมุนไพรเสมอ

ขนาดการใช้

ข้อมูลนี้ไม่สามารถเป็นคำสั่งในการใช้ยาได้ ควรปรึกษานักสมุนไพรศาสตร์หรือแพทย์ก่อนการใช้ยาเสมอ

 

ปกติแล้วควรใช้โสมซานซีในปริมาณเท่าใด

ปริมาณในการใช้โสมซานซีอาจแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล โดยขึ้นอยู่กับอายุ สุขภาพและปัจจัยอื่นๆ การใช้ยาสมุนไพรนั้นอาจไม่ได้มีความปลอดภัยเสมอ จึงควรปรึกษานักสมุนไพรศาสตร์หรือแพทย์ในเรื่องปริมาณที่เหมาะสม

 

สมุนไพรดังกล่าวอาจอยู่ในรูปแบบใด

สมุนไพรดังกล่าวอาจอยู่ในรูปแบบต่อไปนี้ :

  • ผงรากโสมซานซี
  • สารสกัดโสมซานซีในแคปซูล

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรค และการรักษาโรคแต่อย่างใด

[embed-health-tool-bmi]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Panax Pseudoginseng. http://www.emedicinehealth.com/panax_pseudoginseng-page2/vitamins-supplements.htm. Accessed August 11, 2017

Panax Pseudoginseng. https://www.rxlist.com/panax_pseudoginseng/supplements.htm. Accessed August 11, 2017

Panax pseudoginseng – Wall. https://pfaf.org/User/Plant.aspx?LatinName=Panax+pseudoginseng. Accessed August 11, 2017

เวอร์ชันปัจจุบัน

12/05/2020

เขียนโดย Ploylada Prommate

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: Nattrakamol Chotevichean


บทความที่เกี่ยวข้อง

เลือดออกใต้เล็บ สาเหตุ และการรักษา

เลือดกำเดาไหลออกจากจมูกส่วนไหนกันแน่


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย Ploylada Prommate · แก้ไขล่าสุด 12/05/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา