backup og meta

ท้องผูก (Constipation)

ท้องผูก (Constipation)

ท้องผูกคืออะไร

อาการท้องผูกเป็นสภาวะที่ซึ่งหมายถึงการเคลื่อนไหวของลำไส้ที่เคลื่อนไม่บ่อยนักหรือการเดินผ่านอุจจาระที่ลำบากเป็นระยะเวลานาน อาการท้องผูกโดยทั่วไปอธิบายว่ามีการเคลื่อนไหวของลำไส้น้อยกว่า 3 ครั้งต่อสัปดาห์ อาการท้องผูกปกติแล้วจะหายไป หากคุณเปลี่ยนกิจวัตรประจำวันของคุณ แต่อาการท้องผูกเรื้อรังจะยากขึ้นการรักษาและมักเป็นอาการสภาวะในด้านทางการแพทย์อื่น ๆ

อาการท้องผูกพบบ่อยแค่ไหน

บางครั้งอาการท้องผูกก็เป็นเรื่องปกติและสามารถแก้ปัญหาได้ด้วยตัวเอง เพราะอาการนี้มักจะเกิดจากอาหาร ความเครียดหรือสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกัน ท้องผูกเรื้อรังคือสิ่งที่ปกติ แต่มันจะเป็นสัญญาณของปัญหาที่รุนแรงกว่านั้น  อย่างไรก็ตามคนที่มีอาการที่มีความเสี่ยงต่ออาการท้องผูกมากขึ้น ได้แก่ คนที่เป็นผู้สูงอายุ โรคอ้วนตั้งครรภ์และนั่งเป็นเวลานาน เช่น พนักงานออฟฟิศ

รู้อาการ

อาการที่พบบ่อยและอาการท้องผูกคือ

  • ขับถ่ายอุจจาระยาก
  • อุจจาระแห้งหรือแข็ง
  • การเคลื่อนไหวของลำไส้น้อยกว่า 3 ครั้งต่อสัปดาห์
  • ท้องอืด ท้องเฟ้อ
  • ปวดท้อง
  • มีเลือดในอุจจาระหรือมีเลือดออกหลังการเคลื่อนไหวของลำไส้
  • รู้สึกว่าคุณไม่สามารถล้างอุจจาระได้อย่างสมบูรณ์หรือมีการอุดตัน

อาการท้องผูกเรื้อรังจะพิจารณาหากคุณมีอาการเหล่านี้อย่างน้อยหนึ่งอาการเป็นเวลาอย่างน้อยสามเดือน

อาจมีอาการบางอย่างที่ไม่ได้ระบุไว้ข้างต้น หากคุณมีข้อสงสัยเกี่ยวกับอาการป่วย โปรดปรึกษาแพทย์ของคุณ

ควรพบหมอเมื่อไหร่

คุณควรติดต่อแพทย์ของคุณหากคุณมีข้อใดต่อไปนี้:

  • อาการเกิดเป็นเวลานานกว่า 2 สัปดาห์
  • ไม่สามารถบรรเทาอาการได้จากการรักษาภายในบ้านหรือยาที่ไม่ได้สั่งโดยแพทย์
  • เมื่อมีเลือดอยู่ในอุจจาระ
  • หากคุณลดน้ำหนัก

อาการท้องผูกอาจเป็นสัญญาณของภาวะสุขภาพอื่น ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่คุณจะไปพบแพทย์ หากคุณสงสัยว่าเป็นอาการนี้จะรุนแรงมากขึ้น

รู้สาเหตุ

อาการท้องผูกเกิดขึ้นเนื่องจากอุจจาระเดินช้ากว่าปกติ โดยจะทำให้อุจจาระแข็งและแห้ง สาเหตุของอาการท้องผูกอาจรวมถึง:

  • ไม่ได้รับประทานอาหารที่เพียงพอหรือดื่มน้ำเพียงพอ
  • ไม่ได้ใช้งานร่างกายและนั่งอยู่ตลอดทั้งวัน
  • กำลังตั้งครรภ์
  • มีความเครียดหรือการเปลี่ยนแปลงในสิ่งแวดล้อม
  • โรคบางอย่างอาจทำให้ท้องผูกได้เช่น โรคเบาหวาน ไฮโปไทรอยด์(ภาวะขาดไทรอยด์), โรคพาร์คินสัน, โรคหลอดเลือดสมอง, เส้นเลือดตีบหรือภาวะแคลเซียมสูงในเลือด (ภาวะที่ต่อมพาราไทรอยด์ทำงานผลิตฮอร์โมน ที่ชื่อว่า ฮอร์โมนพาราทรอโมน ออกมากเกินไป)
  • การอุดตันของลำไส้ซึ่งอาจเกิดจากมะเร็งลำไส้ใหญ่, มะเร็งในช่องท้อง หรือร่องทวารหนัก
  • ยาบางชนิดอาจทำให้เกิดอาการท้องผูกเช่น ยาแก้ปวดยาลดความอ้วนและยาซึมเศร้าบางอย่าง

อาการท้องผูกไม่ใช่อาการร้ายแรง เว้นเสียแต่ว่ามันมีสาเหตุมาจากสุขภาพที่ร้ายแรง คุณสามารถจัดการกับอาการท้องผูกของคุณกับการเปลี่ยนแปลงกิจวัตรประจำวันของคุณ

รู้ถึงปัจจัยเสี่ยง

พฤติกรรมการดำเนินชีวิตมักเป็นเหตุผลหลักที่ทำให้เกิดอาการท้องผูกที่ไม่รุนแรงมาก หากคุณมีปัจจัยเสี่ยงต่อไปนี้ คุณจะเสี่ยงต่ออาการท้องผูก:

  • เป็นผู้ใหญ่ที่มีอายุมาก
  • เป็นผู้หญิง
  • ผู้หญิงที่กำลังตั้งครรภ์
  • อาหารที่มีเส้นใยต่ำหรือที่ถูกคายน้ำ
  • ไม่ออกกำลังกายหรือน้อยมากที่จะออกกำลังกาย (โดยปกติคือพนักงานออฟฟิศ)
  • มีภาวะอ้วนหรือเป็นโรคอ้วน
  • ใช้ยาที่ก่อให้เกิดอาการท้องผูกเช่นยาแก้ปวด ยานอนหลับหรือยาความดันโลหิตสูง

เข้าใจการวินิจฉัยและการรักษา

ข้อมูลที่ได้รับไม่ใช่คำแนะนำทางการแพทย์ ปรึกษากับแพทย์เพื่อขอข้อมูลเพิ่มเติม

จะวินิจฉัยอาการท้องผูกได้อย่างไร

แพทย์วินิจฉัยอาการท้องผูกตามประวัติทางการแพทย์รวมทั้งล่าสุด การเปลี่ยนแปลงกิจวัตรประจำวันของคุณและยาที่คุณกำลังใช้อยู่ หมอก็จะทำการตรวจร่างกายเพื่อตรวจดูบริเวณหน้าท้องและทวารหนัก เพื่อหาปัญหาเช่น โรคริดสีดวงทวารหรือการฉีกขาดทางทวารหนัก ถ้าอุจจาระมีเลือด แพทย์ของคุณอาจทำ การส่องกล้องคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่ เพื่อสอบภายในลำไส้ใหญ่ นอกจากนี้ยังอาจต้องมีการทดสอบเลือดและรังสีเอกซ์ในบางครั้ง โปรดปรึกษากับแพทย์ของคุณสำหรับข้อมูลเพิ่มเติม

จะรักษาอาการท้องผูกได้อย่างไร

การรักษาอาการท้องผูกไม่รุนแรงอาจทำได้ง่ายมาก คุณต้องเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต ซึ่งรวมถึง:

  • การออกกำลังกายเพิ่มขึ้น (อย่างน้อยสัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง)
  • ดื่มน้ำมากขึ้น (1.5 ถึง 2 ลิตรต่อวัน)
  • กินอาหารที่มีใยอาหารเพิ่มมากขึ้น
  • เปลี่ยนอาหารเพื่อให้มีผักและผลไม้มากขึ้นเช่น ผักขม, มะละกอหรือกล้วย

เมื่อเปลี่ยนไลฟ์สไตล์หรืออาหารของคุณไม่ได้ช่วยแก้ท้องผูกของคุณได้ โปรดลองยาระบายที่ไม่ต้องออกใบสั่งยา ยาระบายบางชนิดอาจรวมถึง:

  • ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเส้นใย เช่น Metamucil®, Fibercon®, Konsyl®และCitrucel® ผลิตภัณฑ์เหล่านี้ประกอบด้วยส่วนผสมเช่น ไซเลียม, เมทิลเซลลูโลส ซึ่งจะช่วยเพิ่มจำนวนให้กับอุจจาระของคุณเพื่อเพิ่มความเร็วในการเดินของอุจจาระ
  • กระตุ้น เช่น บิซาโคดิล
  • ยาระบายทั่วไป ซึ่งอาจรวมถึง แล็กทูโลส, แมกนีเซียมซิเตรทหรือ การสวนอุจจาระด้วยน้ำยาสำเร็จรูป
  • สารหล่อลื่น ยาระบายเหล่านี้ประกอบด้วยของแร่ธาตุเก่าที่ช่วยให้อุจจาระเคลื่อนผ่านลำไส้ใหญ่ง่ายขึ้น
  • ยาที่ทำให้อุจจาระนิ่ม ยาระบายเหล่านี้มักจะช่วยให้อุจจาระนิ่ม

การรักษาอื่น ๆ รวมถึงการฝึกอบรมกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานของคุณ เพื่อผ่อนคลายและกระชับขึ้น หรือในกรณีที่รุนแรงมากอาจต้องผ่าตัด

การเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตและการรักษาที่บ้าน

วิถีชีวิตและการเยียวยาที่บ้านต่อไปนี้อาจช่วยให้คุณรับมือกับอาการท้องผูก:

วิถีชีวิตสุขภาพเป็นวิธีการรักษาที่ดีที่สุดสำหรับผู้ป่วยท้องผูก โดยเคล็ดลับบางอย่างจะช่วยให้คุณจัดการกับอาการท้องผูก:

  • รับประทานอาหารที่มีใยอาหารมากขึ้น เช่น ผลไม้ ผักและธัญพืช
  • ดื่มน้ำให้เพียงพอโดยเฉพาะในช่วงอากาศร้อน
  • หลีกเลี่ยงยาที่ไม่ได้สั่งโดยแพทย์ ซึ่งอาจเป็นสาเหตุของอาการท้องผูกเช่น ยาแก้อักเสบ

หากคุณมีคำถามใด ๆ โปรดปรึกษาแพทย์เพื่อทำความเข้าใจและหาทางออกที่ดีที่สุดสำหรับคุณ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัย หรือการรักษาแต่อย่างใด

[embed-health-tool-bmr]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Ferri, Fred. Ferri’s Netter Patient Advisor. Philadelphia, PA: Saunders / Elsevier, 2012. Print edition. Page 277.

Porter, R. S., Kaplan, J. L., Homeier, B. P., & Albert, R. K. (2009). The Merck manual home health handbook. Whitehouse Station, NJ, Merck Research Laboratories. Print edition. Page 118.

Constipation. https://www.nlm.nih.gov/medlineplus/constipation.html. Accessed Jul 13 2016.

Constipation. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/constipation/basics/definition/con-20032773. Accessed Jul 13 2016.

เวอร์ชันปัจจุบัน

16/03/2021

เขียนโดย pimruethai

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


บทความที่เกี่ยวข้อง

ยาระบายจากธรรมชาติ ที่ช่วยแก้อาการท้องผูก ทำให้คุณขับถ่ายคล่องขึ้น

ท้องผูกหลังผ่าตัด ผลข้างเคียงจากการผ่าตัดที่คุณรับมือได้


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย pimruethai · แก้ไขล่าสุด 16/03/2021

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา