backup og meta

ภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ อาการ สาเหตุ วิธีรักษาและดูแลตัวเองที่ควรรู้

ภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ อาการ สาเหตุ วิธีรักษาและดูแลตัวเองที่ควรรู้

ภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ เป็นโรคที่เกิดจากความไม่สมดุลทางฮอร์โมนในผู้หญิง ที่ร่างกายผลิตฮอร์โมนเพศชายมากกว่าฮอร์โมนเพศหญิง ทำให้เกิดซีสต์ในรังไข่จำนวนมาก และเกิดปัญหากับรอบเดือน และอื่นๆ

คำจำกัดความ

ภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบคืออะไร

ภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ (Polycystic Ovary Syndromr: PCOS) เป็นโรคเกี่ยวกับฮอร์โมน ผู้หญิงที่มีภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบจะมีซีสต์ในรังไข่เป็นจำนวนมาก ซีสต์เหล่านี้เต็มไปด้วยของเหลวและไข่ที่จะไม่สุก หากคุณมีภาวะดังกล่าว รังไข่ของคุณจะขยายใหญ่

ภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบทำให้เกิดปัญหากับรอบเดือน ความสามารถในการมีบุตร การทำงานของหัวใจ รวมถึงรูปร่างหน้าตา คุณอาจมีประจำเดือนมามาก และน้ำหนักเกิน และขนขึ้นบริเวณหน้า เนื่องจากโรคทำให้ร่างกายผลิตฮอร์โมนเพศชายมากกว่าฮอร์โมนเพศหญิง

ภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบพบบ่อยแค่ไหน

โรคนี้เป็นโรคที่พบได้บ่อย ผู้หญิงที่อยู่ในช่วงที่พร้อมมีบุตร 1 ใน 10 และ 1 ใน 20 คน มีภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ การควบคุมโรคทำได้โดยการลดปัจจัยเสี่ยง ควรปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม

อาการ

อาการของภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ

อาการที่พบได้บ่อยของภาวะนี้ได้แก่

  • สิว
  • น้ำหนักเพิ่มและลดยาก
  • ขนขึ้นที่ลำตัวและหน้า ส่วนใหญ่ขนจะขึ้นดกและหนาบริเวณหน้าอก ท้อง และหลัง
  • เสียงทุ้ม
  • ผมบาง
  • ประจำเดือนมาไม่ปกติ
  • ปัญหาในการมีบุตร
  • ซึมเศร้า

ระดับฮอร์โมนที่ไม่สมดุลในผู้ที่มีภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ อาจนำไปสู่ปัญหาสุขภาพอื่นๆ เช่น เบาหวานชนิดที่ 2 และโรคหัวใจและหลอดเลือด

อาจมีอาการอื่นของโรคที่ไม่ได้ระบุไว้ข้างต้น หากคุณมีปัญหาที่เกี่ยวข้องกับอาการของโรค ควรติดต่อแพทย์

ควรพบหมอเมื่อใด

ควรพบหมอหากเกิดสัญญาณของโรค ร่างกายของแต่ละคนแสดงอาการได้แตกต่างกัน วิธีที่ดีสุดคือการเข้าพบหมอ

สาเหตุ

สาเหตุของภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ

ยังไม่ทราบสาเหตุของการเกิดภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบที่แน่ชัด อย่างไรก็ตาม บางคนเสนอแนะว่าพันธุกรรมอาจเป็นสาเหตุ เช่น ผู้หญิงที่มารดาหรือพี่สาวเคยเป็นโรคนี้ อาจมีโอกาสเป็นโรคนี้เช่นเดียวกัน

การอักเสบเรื้อรังอาจเกี่ยวข้องกับการกระตุ้นให้ถุงน้ำรังไข่ผลิตแอนโดรเจน ปริมาณอินซูลินที่มากเกินไปอาจส่งผลต่อรังไข่ โดยเพิ่มการผลิตแอนโดนเจน ซึ่งรบกวนความสามารถของรังไข่ในช่วงไข่ตก

ปัจจัยเสี่ยง

ปัจจัยเสี่ยงในการเกิดภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ มีดังนี้

  • ความเสี่ยงการเกิดโรคจะสูงขึ้น หากมีสมาชิกในครอบครัวเป็นโรคนี้
  • เป็นโรคอื่นๆ ที่ส่งผลกระทบต่อสมดุลฮอร์โมนในร่างกาย

การวินิจฉัยและการรักษา

ข้อมูลเหล่านี้ไม่สามารถใช้แทนคำปรึกษาทางการแพทย์ ควรปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม

การวินิจฉัยภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ

ยังไม่มีการทดสอบใดๆ เพื่อประเมินภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ ส่วนใหญ่แพทย์จะซักถามอาการ และประวัติการเคยเป็นโรคนี้ในครอบครัวของคุณ หรือคุณกำลังรักษาโรคหรืออาการใดอยู่หรือไม่

เพื่อการวินิจฉัยที่แน่นอน แพทย์อาจให้สั่งการทดสอบดังนี้

  • การตรวจเลือด เพื่อหาระดับฮอร์โมนโดยทั่วไป
  • การตรวจไทรอยด์ เพื่อตรวจว่ามีภาวะขาดไทรอยด์ฮอร์โมนหรือต่อมไทรอยด์ทำงานเกินหรือไม่
  • การวัดค่ากลูโคส เพื่อวัดการต่อต้านอินซูลิน
  • การตรวจไขมันในเลือด ภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบอาจทำให้ระดับคอเลสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์อยู่ในระดับที่ผิดปกติ

อาจมีการตรวจด้วยการฉายภาพ (ซีทีสแกน หรืออัลตราซาวนด์) เพื่อตรวจดูขนาดของรังไข่ หากแพทย์สงสัยถึงการเติบโตใดๆ การตรวจผ่านกล้องทางนรีเวชจะแสดงถึงปัญหาในการเติบโต อาจมีการตัดชิ้นเนื้อไปตรวจ เพื่อดูว่ามีเซลล์ที่เป็นมะเร็งหรือไม่

การรักษาภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ

จุดมุ่งหมายในการรักษาภาวะนี้คือ การควบคุมอาการและป้องกันการเติบโตของรังไข่ วิธีการรักษาอาจะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับอาการ

  • เพื่อควบคุมประจำเดือน คุณอาจต้องใช้ยาคุมกำเนิด ซึ่งมีทั้งฮอร์โมนแอนโดรเจนและโปรเจสติน หากคุณประสงค์ที่จะตั้งครรภ์ อาจจำเป็นต้องได้รับความช่วยเหลือทางการแพทย์
  • สำหรับผู้หญิงบางคน การผ่าตัดอาจเป็นวิธีที่แนะนำ เพื่อกระตุ้นการตกไข่และลดฮอร์โมนเพศชาย การผ่าตัดเรียกว่า การผ่าตัดจี้รังไข่ ซึ่งแพทย์จะเจาะเข้าไปที่รังไข่ แต่วิธีการนี้ได้ผลเพียงชั่วคราวเท่านั้น
  • การรักษาสิวและขนขึ้น คุณอาจใช้ยาปรับฮอร์โมนเพศชาย (anti-androgens) เพื่อควบคุมระดับฮอร์โมนเพศชาย
  • การปรับสมดุลระดับอินซูลินและน้ำตาล การใช้ยาโรคเบาหวานเป็นสิ่งจำเป็น

การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตนเอง

การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์หรือการเยียวยาตนเองที่ช่วยจัดการกับภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ

การเปลี่ยนพฤติกรรมหรือการเยียวยาภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบด้วยตนเอง ที่อาจช่วยคุณได้มีดังนี้

  • ควบคุมน้ำหนัก โดยลดอาหารจำพวกคาร์โบไฮเดรต
  • ออกกำลังกาย เพื่อให้ร่างกายผลิตอินซูลิน
  • เลิกสูบบุหรี่

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

What is polycystic ovarian syndrome (PCOS)? http://www.healthline.com/health/polycystic-ovary-disease#Overview1. Accessed July 24, 2016.

Polycystic Ovary Syndrome (PCOS) – Topic Overview. http://www.webmd.com/women/tc/polycystic-ovary-syndrome-pcos-topic-overview. Accessed July 24, 2016.

Polycystic Ovary Syndrome (PCOS). http://www.hormone.org/diseases-and-conditions/womens-health/polycystic-ovary-syndrome. Accessed July 24, 2016.

Polycystic ovary syndrome (PCOS). http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/pcos/basics/definition/con-20028841. Accessed July 24, 2016.

เวอร์ชันปัจจุบัน

28/09/2022

เขียนโดย ฤทธิศักดิ์ วงศ์วุฒิพงษ์

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย เนตรนภา ปะวะคัง

อัปเดตโดย: เนตรนภา ปะวะคัง


บทความที่เกี่ยวข้อง

ฮอร์โมนของผู้หญิง มีอะไรบ้าง

หนองในผู้หญิง สาเหตุ อาการ การรักษา


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

เนตรนภา ปะวะคัง


เขียนโดย ฤทธิศักดิ์ วงศ์วุฒิพงษ์ · แก้ไขล่าสุด 28/09/2022

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา