แคลเซียมในเลือดต่ำ (Hypocalcemia) เป็นภาวะที่มีระดับแคลเซียมต่ำกว่าค่าเฉลี่ย ในส่วนประกอบของเลือด ทำให้เกิดปัญหาต่อระบบประสาทและอื่นๆ
คำจำกัดความ
แคลเซียมในเลือดต่ำคืออะไร
แคลเซียมในเลือดต่ำ (Hypocalcemia) เป็นภาวะที่มีระดับแคลเซียมต่ำกว่าค่าเฉลี่ย ในส่วนประกอบของเลือด ที่เป็นของเหลวหรือพลาสมา
แคลเซียมในเลือดต่ำพบได้บ่อยเพียงใด
โปรดปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม
อาการ
อาการแคลเซียมในเลือดต่ำมีอะไรบ้าง
ผู้ป่วยบางรายไม่มีอาการหรือสิ่งบ่งชี้ ของภาวะแคลเซียมในเลือดต่ำ เนื่องจากภาวะดังกล่าวส่งผลต่อระบบประสาท ทารกที่มีภาวะดังกล่าวอาจมีอาการกล้ามเนื้อกระตุก หรือมีอาการสั่น ผู้ใหญ่ที่มีภาวะดังกล่าวอาจมีอาการดังต่อไปนี้
- กล้ามเนื้ออ่อนล้า
- กล้ามเนื้อกระตุก
- ความรู้สึกผิดปกติที่ไร้สาเหตุ (Paresthesias) หรือความรู้สึกเหมือนถูกเข็มทิ่มแทงในบริเวณทั่วร่างกาย
- ความเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ เช่น ความกังวล อาการซึมเศร้า หรืออาการหงุดหงิด
- ปัญหาเกี่ยวกับความทรงจำ
- ความดันเลือดต่ำ
- พูดหรือกลืนลำบาก
- อ่อนเพลีย
- มีอาการพาร์กินสัน
- จานประสาทตาบวม (Papilledema)
อาการของภาวะแคลเซียมในเลือดต่ำ ได้แก่
- อาการชัก
- ภาวะหัวใจเสียจังหวะ (Arrhythmias)
- หัวใจวาย
- กล่องเสียงหดเกร็ง (Laryngospasms)
อาการในระยะยาวของภาวะแคลเซียมในเลือดต่ำ ได้แก่
- ผิวแห้ง
- เล็บเปราะ
- มีนิ่วในไต หรือมีการสะสมตัวของแคลเซียมอื่นๆ ในร่างกาย
- ภาวะสมองเสื่อม
- ต้อกระจก
- ผื่นผิวหนังอักเสบ
อาจมีบางอาการที่ไม่ได้ระบุไว้ข้างต้น หากมีข้อกังวลเกี่ยวกับอาการหนึ่งๆ โปรดปรึกษาแพทย์
ควรไปพบหมอเมื่อใด
หากคุณมีสิ่งบ่งชี้หรืออาการใดๆ ตามที่ระบุข้างต้น หรือมีคำถาม โปรดปรึกษาแพทย์ ร่างกายของแต่ละบุคคลมีการตอบสนองแตกต่างกัน ทางที่ดีที่สุดให้ปรึกษาแพทย์ เกี่ยวกับวิธีรักษาที่ดีที่สุดตามสถานการณ์ของคุณ
สาเหตุ
แคลเซียมในเลือดต่ำเกิดจากอะไร
สาเหตุที่พบได้มากที่สุดของภาวะแคลเซียมในเลือดต่ำก็คือ ภาวะที่ร่างกายที่ผลิตฮอร์โมนพาราไทรอยด์น้อยเกินไป (hypoparathyroidism) ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อร่างกายมีการหลั่งฮอร์โมนพาราไทรอยด์ (parathyroid hormone: PTH) ในปริมาณน้อยกว่าค่าเฉลี่ย ฮอร์โมนพาราไทรอยด์ในระดับต่ำ ส่งผลให้แคลเซียมในร่างกายอยู่ในระดับต่ำ ภาวะแคลเซียมในเลือดต่ำสามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้ หรือเกิดจากการผ่าตัดต่อมไทรอยด์ หรือมะเร็งในบริเวณศีรษะและคอ
สาเหตุอื่นๆ ของภาวะแคลเซียมในเลือดต่ำ ได้แก่
- ปริมาณแคลเซียมหรือวิตามินดีไม่เพียงพอในอาหารที่รับประทาน
- การติดเชื้อ
- ยาบางชนิด ได่แก่ ยาฟีไนโทอิน (Phynytoin) อย่างไดแลนติน (Dilantin) ยาฟีโนบาร์บิทอล (Phenobarbital) และยาไรแฟมปิน (Rifampin)
- ความเครียด
- ความกังวล
- การออกกำลังกายอย่างหนัก
- ระดับแมกนีเซียมหรือฟอสเฟตที่ผิดปกติ
- โรคไต
- ท้องร่วง ท้องผูก หรือความผิดปกติอื่นๆ เกี่ยวกับลำไส้ที่ทำให้ร่างกายไม่สามารถดูดซึมแคลเซียมได้อย่างเหมาะสม
- การให้ฟอสเฟตหรือแคลเซียมทางหลอดเลือด
- มะเร็งที่กำลังลุกลาม
- มารดาที่เป็นเบาหวาน ในผู้ป่วยที่เป็นทารก
คำจำกัดความ
แคลเซียมในเลือดต่ำคืออะไร
แคลเซียมในเลือดต่ำ (Hypocalcemia) เป็นภาวะที่มีระดับแคลเซียมต่ำกว่าค่าเฉลี่ย ในส่วนประกอบของเลือด ที่เป็นของเหลวหรือพลาสมา
แคลเซียมในเลือดต่ำพบได้บ่อยเพียงใด
โปรดปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม
อาการ
อาการแคลเซียมในเลือดต่ำมีอะไรบ้าง
ผู้ป่วยบางรายไม่มีอาการหรือสิ่งบ่งชี้ ของภาวะแคลเซียมในเลือดต่ำ เนื่องจากภาวะดังกล่าวส่งผลต่อระบบประสาท ทารกที่มีภาวะดังกล่าวอาจมีอาการกล้ามเนื้อกระตุก หรือมีอาการสั่น ผู้ใหญ่ที่มีภาวะดังกล่าวอาจมีอาการดังต่อไปนี้
- กล้ามเนื้ออ่อนล้า
- กล้ามเนื้อกระตุก
- ความรู้สึกผิดปกติที่ไร้สาเหตุ (Paresthesias) หรือความรู้สึกเหมือนถูกเข็มทิ่มแทงในบริเวณทั่วร่างกาย
- ความเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ เช่น ความกังวล อาการซึมเศร้า หรืออาการหงุดหงิด
- ปัญหาเกี่ยวกับความทรงจำ
- ความดันเลือดต่ำ
- พูดหรือกลืนลำบาก
- อ่อนเพลีย
- มีอาการพาร์กินสัน
- จานประสาทตาบวม (Papilledema)
อาการของภาวะแคลเซียมในเลือดต่ำ ได้แก่
- อาการชัก
- ภาวะหัวใจเสียจังหวะ (Arrhythmias)
- หัวใจวาย
- กล่องเสียงหดเกร็ง (Laryngospasms)
อาการในระยะยาวของภาวะแคลเซียมในเลือดต่ำ ได้แก่
- ผิวแห้ง
- เล็บเปราะ
- มีนิ่วในไต หรือมีการสะสมตัวของแคลเซียมอื่นๆ ในร่างกาย
- ภาวะสมองเสื่อม
- ต้อกระจก
- ผื่นผิวหนังอักเสบ
อาจมีบางอาการที่ไม่ได้ระบุไว้ข้างต้น หากมีข้อกังวลเกี่ยวกับอาการหนึ่งๆ โปรดปรึกษาแพทย์
ควรไปพบหมอเมื่อใด
หากคุณมีสิ่งบ่งชี้หรืออาการใดๆ ตามที่ระบุข้างต้น หรือมีคำถาม โปรดปรึกษาแพทย์ ร่างกายของแต่ละบุคคลมีการตอบสนองแตกต่างกัน ทางที่ดีที่สุดให้ปรึกษาแพทย์ เกี่ยวกับวิธีรักษาที่ดีที่สุดตามสถานการณ์ของคุณ
สาเหตุ
แคลเซียมในเลือดต่ำเกิดจากอะไร
สาเหตุที่พบได้มากที่สุดของภาวะแคลเซียมในเลือดต่ำก็คือ ภาวะที่ร่างกายที่ผลิตฮอร์โมนพาราไทรอยด์น้อยเกินไป (hypoparathyroidism) ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อร่างกายมีการหลั่งฮอร์โมนพาราไทรอยด์ (parathyroid hormone: PTH) ในปริมาณน้อยกว่าค่าเฉลี่ย ฮอร์โมนพาราไทรอยด์ในระดับต่ำ ส่งผลให้แคลเซียมในร่างกายอยู่ในระดับต่ำ ภาวะแคลเซียมในเลือดต่ำสามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้ หรือเกิดจากการผ่าตัดต่อมไทรอยด์ หรือมะเร็งในบริเวณศีรษะและคอ
สาเหตุอื่นๆ ของภาวะแคลเซียมในเลือดต่ำ ได้แก่
- ปริมาณแคลเซียมหรือวิตามินดีไม่เพียงพอในอาหารที่รับประทาน
- การติดเชื้อ
- ยาบางชนิด ได่แก่ ยาฟีไนโทอิน (Phynytoin) อย่างไดแลนติน (Dilantin) ยาฟีโนบาร์บิทอล (Phenobarbital) และยาไรแฟมปิน (Rifampin)
- ความเครียด
- ความกังวล
- การออกกำลังกายอย่างหนัก
- ระดับแมกนีเซียมหรือฟอสเฟตที่ผิดปกติ
- โรคไต
- ท้องร่วง ท้องผูก หรือความผิดปกติอื่นๆ เกี่ยวกับลำไส้ที่ทำให้ร่างกายไม่สามารถดูดซึมแคลเซียมได้อย่างเหมาะสม
- การให้ฟอสเฟตหรือแคลเซียมทางหลอดเลือด
- มะเร็งที่กำลังลุกลาม
- มารดาที่เป็นเบาหวาน ในผู้ป่วยที่เป็นทารก
ปัจจัยเสี่ยง
อะไรที่เพิ่มความเสี่ยงสำหรับแคลเซียมในเลือดต่ำ
ผู้ที่มีภาวะพร่องวิตามินดีหรือแมกนีเซียม มีความเสี่ยงต่อภาวะแคลเซียมในเลือดต่ำ ปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ ได้แก่
- เคยมีประวัติเกี่ยวกับความผิดปกติของทางเดินอาหาร
- ตับอ่อนอักเสบ
- ไตวาย
- ตับวาย
- โรควิตกกังวล
ทารกแรกเกิดมีความเสี่ยงต่อภาวะดังกล่าวนี้ เนื่องจากร่างกายยังไม่เติบโตเต็มที่ ซึ่งพบได้โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเด็กที่เกิดจากมารดาที่เป็นโรคเบาหวาน
การวินิจฉัยและการรักษา
ข้อมูลที่นำเสนอมิได้ใช้แทนข้อแนะนำทางการแพทย์ ให้ปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม
วินิจฉัยแคลเซียมในเลือดต่ำได้อย่างไร
ขั้นตอนแรกในการวินิจฉัย คือการตรวจเลือดเพื่อระบุระดับแคลเซียมในเลือด แพทย์ยังอาจตรวจทางร่างกายและจิตใจ เพื่อตรวจหาสิ่งบ่งชี้ของภาวะแคลเซียมในเลือดต่ำ การตรวจร่างกายอาจรวมถึงการศึกษาเกี่ยวกับส่วนของร่างกายดังต่อไปนี้
- ผม
- ผิวหนัง
- กล้ามเนื้อ
การตรวจทางจิตใจอาจรวมถึงการตรวจสำหรับ
- โรคสมองเสื่อม
- ประสาทหลอน
- กาการสับสน
- อาการหงุดหงิด
- อาการชัก
นอกจากนี้ แพทย์ยังอาจตรวจหาอาการโควสเต็กและอาการทรูโซ (Chvostek’s and Trousseau’s signs) ซึ่งทั้งสองอาการมีความสัมพันธ์กับภาวะแคลเซียมในเลือดต่ำ อาการโควสเต็กเป็นอาการกระตุกเมื่อแตะที่กลุ่มเส้นประสาทที่ใบหน้า อาการทรูโซเป็นอาการกระตุกที่มือหรือเท้าซึ่งเกิดจากการขาดเลือด หรือการขัดขวางทางเดินเลือดไปยังเนื้อเยื่อต่าง ๆ อาการกระตุกจัดว่าเป็นการตอบสนองในทางที่ดีต่อการทดสอบดังกล่าวนี้และเป็นสิ่งบ่งชี้ถึงการเร้าต่อประสาทและกล้ามเนื้อ อันเป็นผลมาจากภาวะแคลเซียมในเลือดต่ำ
รักษาแคลเซียมในเลือดต่ำได้อย่างไร
ผู้ป่วยบางรายอาจหายขาดจากภาวะดังกล่าวโดยไม่ได้เข้ารับการรักษา ผู้ป่วยบางรายมีอาการรุนแรง และอาจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ หากมีอาการเฉียบพลัน แพทย์จะทำการฉีดแคลเซียมเข้าทางเส้นเลือดให้แก่คุณ
การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตนเอง
การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตนเองที่ช่วยจัดการแคลเซียมในเลือดต่ำ
การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียยวยาตนเองดังต่อไปนี้ อาจช่วยให้คุณรับมือกับภาวะแคลเซียมในเลือดต่ำได้
ผู้ป่วยภาวะแคลเซียมในเลือดต่ำจำนวนมาก รับการรักษาได้ง่ายโดยการเปลี่ยนอาหารที่รับประทาน การรับประทานอากหารเสริมแคลเซียม วิตามินดี หรือแมกนีเซียม หรือการรับประทานอาหารที่มีสารอาหารเหล่านี้อย่างเพียงพอสามารถช่วยรักษาภาวะดังกล่าวได้
การรับแสงแดดจะช่วยเพิ่มระดับวิตามินดีได้ ปริมาณแสงแดดที่จำเป็นมีความแตกต่างกันออกไปในแต่ละบุคคล ให้มั่นใจว่าได้ใช้ครีมกันแดดหากต้องโดนแดดเป็นเวลานาน แพทย์อาจแนะนำให้วางแผนการรับประทานอาหารที่อุดมไปด้วยแคลเซียม เพื่อช่วยรักษาภาวะดังกล่าวนี้ด้วยเช่นกัน
หากคุณมีข้อสงสัย โปรดปรึกษาแพทย์เพื่อให้เข้าใจได้ดีขึ้นถึงวิธีการรักษาที่ดีที่สุดสำหรับคุณ
Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค และการรักษาโรคแต่อย่างใด
[embed-health-tool-bmi]