backup og meta

การตรวจตัวรับสัญญาณฮอร์โมน อีกหนึ่งการ วินิจฉัย มะเร็งเต้านม ที่ควรรู้จัก

การตรวจตัวรับสัญญาณฮอร์โมน อีกหนึ่งการ วินิจฉัย มะเร็งเต้านม ที่ควรรู้จัก

มะเร็งเต้านม เป็นโรคที่เกิดจากเซลล์ในเต้านมมีการเจริญเติบโตแบบผิดปกติ แท้จริงแล้ว มะเร็งเต้านมประมาณ ร้อยละ 85-90 เกิดจากความผิดปกติทางพันธุกรรม ที่เป็นผลมาจากอายุที่เพิ่มขึ้น ในขณะที่มีมะเร็งเพียงร้อยละ 5-10 ซึ่งเกิดจากลักษณะผิดปกติที่สืบทอดในครอบครัว โรคดังกล่าวไม่เพียงส่งผลต่อสุขภาพจิตของแต่ละบุคคลเท่านั้น แต่ยังส่งผลต่อความสามารถในการทำสิ่งต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน และสมรรถภาพทางเพศ การวินิจฉัยมะเร็งเต้านมทำได้ด้วยการใช้แมมโมแกรม อัลตราซาวด์ การตรวจชิ้นเนื้อที่เต้านม แต่วันนี้ Hello คุณหมอ จะพาไปทำความรู้จักการตรวจแบบ การตรวจตัวรับสัญญาณฮอร์โมน

การตรวจตัวรับสัญญาณฮอร์โมน คืออะไร

ทั้งผู้หญิงและผู้ชายต่างมีฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรน แต่ฮอร์โมนทั้งสองชนิดมีหน้าที่สำคัญต่อรอบเดือน และพัฒนาการทางเพศของผู้หญิง ตัวรับสัญญาณเอสโตรเจน (Estrogen receptor : ER) และตัวรับสัญญาณโปรเจสเตอโรน (PR) เป็นโปรตีนที่สำคัญ อาจพบในเซลล์มะเร็งเต้านม

ตัวรับสัญญาณฮอร์โมนเหล่านี้จะรับข้อมูลจากสารต่าง ๆ ในกระแสเลือด แล้วส่งผลต่อการทำงานของฮอร์โมนในผู้หญิง เช่น การขยายของหน้าอก เช่นเดียวกับเซลล์ดีอื่น ๆ เซลล์มะเร็งเต้านมมีตัวรับสัญญาณฮอร์โมน และตอบสนองต่อสัญญาณฮอร์โมนเหล่านั้น การทราบว่าเซลล์มะเร็งเต้านมมีตัวรับสัญญาณฮอร์โมน หรือไม่เป็นสิ่งสำคัญที่จะกำหนดวิธีการรักษา

การตรวจหาตัวรับสัญญาณเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรน

การตรวจหาตัวรับสัญญาณเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรน เป็นพื้นฐานของการวินิจฉัยมะเร็งเต้านม วิธีที่ใช้กันทั่วไปที่สุดในปัจจุบันก็คือ การตรวจเนื้องอก เพื่อหาตัวรับสัญญาณเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรน ที่เรียกกันว่า การใช้เทคนิคอิมมูโนฮิสโตเคมิสทรี (Immunohistochemistry : IHC) การตรวจสอบด้วยวิธีนี้ สามารถประเมินตัวรับสัญญาณเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรนในเซลล์มะเร็ง

จากตัวอย่างของเนื้อเยื่อของเต้านม เซลล์ในเต้านมอาจมีตัวรับสัญญาณฮอร์โมนเพียงประเภทเดียว หรือสองประเภทก็ได้ ผลการตรวจควรจะแม่นยำ เพราะการกำหนดวิธีการรักษาที่เหมาะสมสำหรับคนไข้เป็นสิ่งสำคัญ ทั้งยังสามารถเลี่ยงผลข้างเคียงจากการรักษาที่ไม่มีประสิทธิภาพพอ

ผลการตรวจ

ผลการตรวจที่เป็นไปได้ 4 ประเภท มีดังนี้

  • ER (+)

    ตัวรับสัญญาณเอสโตรเจนเป็นบวก หมายความว่าตัวรับสัญญาณของเซลล์มะเร็งตอบสนองต่อเอสโตรเจน มะเร็งเต้านมประเภท ER (+) เป็นประเภทที่พบบ่อยที่สุด และในบางกรณียังไม่จำเป็นต้องใช้เคมีบำบัดหลังจากการผ่าตัดอีกด้วย

    • ER (+) PR (+) ร้อยละ 65 ของกรณีที่มะเร็งเต้านมแบบตัวรับสัญญาณเอสโตรเจนเป็นบวก เซลล์จะมีตัวรับสัญญาณโปรเจสเตอโรนที่ส่งเสริมการเจริญเติบโตของมะเร็งเต้านม
    • ER (+) PR (-) ในกรณีของผู้ป่วยมะเร็งเต้านมประมาณร้อยละ 13 เอสโตรเจนจะส่งเสริมการเจริญเติบโต และการลุกลามของเซลล์มะเร็ง ไม่ใช่โปรเจสเตอโรน
  • ER (-) PR (+)

    ในกรณีของผู้ป่วยมะเร็งเต้านมประมาณร้อยละ 2  ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนมีแนวโน้มที่จะส่งเสริมการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง เราแนะนำให้คุณศึกษางานวิจัยเพิ่มเติม เพื่อให้เข้าใจมะเร็งเต้านมเเบบตัวรับสัญญาณโปรเจสเตอโรนเป็นบวก

  • ER (-) PR (-)

    ประมาณครึ่งหนึ่งในกรณีของผู้ป่วยมะเร็งเต้านม เซลล์มะเร็งเต้านมจะไม่มีตัวรับสัญญาณฮอร์โมนทั้งสองชนิด หรือที่เรียกว่าตัวรับสัญญาณฮอร์โมนเป็นลบ ผู้เชี่ยวชาญเสนอว่า มะเร็งเต้านมแบบตัวรับสัญญาณฮอร์โมนเป็นลบ จะตอบสนองต่อการใช้ยาเคมีบำบัดได้ดีกว่า มะเร็งเต้านมแบบตัวรับสัญญาณฮอร์โมนเป็นบวก

[embed-health-tool-bmi]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

ER- Positive breast cancer : Information for the newly diagnosed. http://www.healthline.com/health/er-positive-breast-cancer-information-newly-diagnosed#2. Accessed December 22, 2016.

Estrogen and progesterone receptor testing for breast cancer. http://www.cancer.net/research-and-advocacy/asco-care-and-treatment-recommendations-patients/estrogen-and-progesterone-receptor-testing-breast-cancer. Accessed December 22, 2016.

How is breast cancer classified. http://www.cancer.org/cancer/breastcancer/detailedguide/breast-cancer-classifying. Accessed December 22, 2016.

เวอร์ชันปัจจุบัน

02/02/2021

เขียนโดย จิดาภา ติยะสิริทานนท์

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: Nattrakamol Chotevichean


บทความที่เกี่ยวข้อง

มะเร็งเต้านมกับการตั้งครรภ์ เมื่อเป็นมะเร็งเต้านม ยังสามารถมีลูกได้อยู่หรือเปล่า ?

สัญญาณและอาการของ มะเร็งเต้านมระยะที่ 4


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย จิดาภา ติยะสิริทานนท์ · แก้ไขล่าสุด 02/02/2021

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา