backup og meta

สิ่งที่ควรรู้เกี่ยวกับ การขูดมดลูก สำหรับคุณแม่แท้งบุตร

สิ่งที่ควรรู้เกี่ยวกับ การขูดมดลูก สำหรับคุณแม่แท้งบุตร

เพียงแค่ได้ยินถึง การขูดมดลูก ก็อาจจะดูน่ากลัวแล้ว สำหรับใครหลายคน จนทำให้คุณแม่หลาย ๆ ท่านที่ประสบกับภาวะแท้งบุตรอาจไม่กล้าเข้าไปดำเนินการรักษา ซึ่งในความเป็นจริงนั้นมันอาจไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิด วันนี้ Hello คุณหมอ จึงขออาสาพาไปรู้จักกับการ ขูดมดลูก ให้มากยิ่งขึ้น เพื่อนำไปประกอบพิจารณาเบื้องต้น มาฝากกันค่ะ

การขูดมดลูก (Dilation and Curettage หรือ D&C) คืออะไร

การขูดมดลูก (Dilation and Curettage; D&C) เป็นการผ่าตัดที่ใช้ระยะเวลาสั้น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเปิดช่องปากมดลูก เพื่อขูดเอาเยื่อบุมดลูกออก โดยใช้อุปกรณ์อย่างหนึ่งที่มีชื่อว่า Curettes แต่ถึงอย่างไรการผ่าตัดนี้ไม่ได้เหมาะสมสำหรับบุคคลทั่วไป ซึ่งผู้ป่วยที่มีความประสงค์รับการขูดมดลูก อาจจำเป็นที่ต้องได้รับการอนุญาตจากแพทย์เสียก่อน และถูกพิจารณาอยู่ในเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ จึงจะสามารถเข้ารักษาได้

  • ผู้ที่อยู่ในความเสี่ยงของโรคมะเร็งปากมดลูก ติ่งเนื้อมดลูก เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่
  • ภาวะเลือดออกหลังวัยหมดประจำเดือน
  • ภาวะเลือดออกผิดปกติในมดลูก
  • ผู้ป่วยที่เคยมีประวัติการทำแท้ง และต้องการขจัดเนื้อเยื่อที่ยังค้างอยู่ในมดลูกออก
  • ภาวะเลือดออกมากหลังคลอดบุตร
  • โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์บางประเภท

หากคุณต้องการตรวจสอบให้แน่ชัดว่าตนเองถูกจัดอยู่ในเกณฑ์ดังกล่าวหรือไม่ คุณสามารถเข้ารับการตรวจอย่างละเอียดได้ที่โรงพยาบาลใกล้แหล่งที่อยู่ของคุณ พร้อมบอกรายละเอียดถึงอาการต่าง ๆ ที่คุณประสบให้แน่ชัด เพื่อให้แพทย์ได้พิจารณาถึงวิธีรักษาอย่างเหมาะสม เนื่องจากการขูดมดลูกนั้น อาจมิใช่ทางออกเดียวในการรักษาเสมอไป

ขั้นตอนการขูดมดลูก ด้วยเทคนิคแพทย์

แรกเริ่มแพทย์อาจทำการให้คุณกรอกประวัติทางสุขภาพ พร้อมตรวจเช็กร่างกายเสียก่อน เพื่อความปลอดภัยในระหว่างการผ่าตัด จากนั้นแพทย์จึงจะให้ผู้ป่วยนอนบนเตียงเฉพาะ ซึ่งมีขาหยั่งให้คุณอ้าขาพาดเอาไว้ทั้ง 2 ข้าง พร้อมรับยาชา หรือยาระงับความรู้สึกชั่วคราว และเริ่มดำเนินการตามขั้นตอนการ ขูดมดลูก ดังนี้

  1. แพทย์จะทำการใส่อุปกรณ์ที่เรียกว่าคีมถ่างช่องคลอด หรือสเปคคูลั่ม (Speculum) เพื่อขยายผนังช่องคลอด เปิดให้เห็นปากมดลูก
  2. แพทย์จะเริ่มขยายมดลูก โดยการสอดแท่งยาวหนา เพื่อให้ช่องคลอดขยายตัวขึ้น
  3. หลังจากมดลูกขยายตัว แพทย์จะนำ Curettes ซึ่งเป็นอุปกรณ์ขูดคล้ายช้อนสอดเข้าไป และทำการขูดไปตามเยื่อบุมดลูก
  4. หาก Curettes ไม่สามารถขูดเนื้อเยื่อออกมาได้หมด แพทย์อาจนำอุปกรณ์เสริมอย่าง Cannula มาช่วยดูดนำเนื้อเยื่อออก
  5. หลังจากขูดเอาเยื่อบุมดลูกออกหมดแล้ว แพทย์จะทำการนำอุปกรณ์ทั้งหมดออกจากช่องคลอดของคุณ และนำเนื้อเยื่อที่ได้ไปตรวจสอบ เพื่อทำการวิเคราะห์ในลำดับถัดไปในการหาอาการติดเชื้อ หรือโรคแทรกซ้อน อื่น ๆ ที่มีความเกี่ยวข้องกับช่องคลอด และมดลูก

ความเสี่ยงหลังการ ขูดมดลูก ที่อาจเกิดขึ้น

หลังจาก ขูดมดลูก เสร็จสิ้น คุณอาจประสบกับเลือดออก และอาการตะคริวเกิดขึ้นเล็กน้อย แต่หากผู้ป่วยกรณีที่มีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วยเป็นเวลานาน เช่น ความเจ็บปวด เลือดออกเป็นเวลานาน กลิ่นไม่พึงประสงค์บริเวณช่องคลอด พร้อมมีไข้ขึ้น อาจจำเป็นต้องเข้าขอรับคำปรึกษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญอีกครั้ง เพราะสัญญาณเตือนดังกล่าวอาจเป็นที่มาของความเสียต่อมดลูกของคุณได้

วิธีดูแลตนเองหลังจาก ขูดมดลูก

ถึงแม้จะสามารถกลับมาทำกิจกรรมในชีวิตประจำวันได้ภายใน 1-2 วัน แต่หลังจากการ ขูดมดลูก ผู้ป่วยอาจจำเป็นต้องมีคนในครอบครัว หรือคนดูแลรอบข้างมาคอยดูแลอย่างใกล้ชิด เพราะผู้ป่วยบางกรณีอาจมีการให้ยาระงับประสาท หรือดมยาสลบ ทำให้ไม่สะดวก และเสี่ยงเกิดอุบัติเหตุต่อการเดินทางกลับด้วยตนเอง

นอกจากนี้ผู้ป่วยควรรับประทานยาตามที่แพทย์ได้จัดไว้ให้อย่างเคร่งครัด พร้อมงดการอาบน้ำ งดการสวนล้าง และงดมีเพศสัมพันธ์ ไปสักระยะ หรือตามที่แพทย์กำหนด เพื่อให้แผลภายในช่องคลอดได้มีการฟื้นตัว และกลับมาใช้งานได้เร็วขึ้น

[embed-health-tool-bmi]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

D and C (Dilation and Curettage) Procedure https://www.healthline.com/health/d-and-c Accessed December 17, 2020

D and C (Dilation and Curettage) https://www.webmd.com/women/guide/d-and-c-dilation-and-curettage#1 Accessed December 17, 2020

Dilation and curettage (D&C) https://www.mayoclinic.org/tests-procedures/dilation-and-curettage/about/pac-20384910#:~:text=Dilation%20and%20curettage%20(D%26C)%20is,after%20a%20miscarriage%20or%20abortion Accessed December 17, 2020

เวอร์ชันปัจจุบัน

29/03/2021

เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: เนตรนภา ปะวะคัง


บทความที่เกี่ยวข้อง

วิธี ฉีดอินซูลินด้วยปากกา สำหรับผู้ป่วยเบาหวาน

แท้ง อาการ สาเหตุ และวิธีป้องกัน


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 29/03/2021

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา