backup og meta

การฉีดยาเข้าลูกตา เทคนิคการรักษาปัญหาดวงตา โดยจักษุแพทย์

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 24/02/2021

    การฉีดยาเข้าลูกตา เทคนิคการรักษาปัญหาดวงตา โดยจักษุแพทย์

    การฉีดยาเข้าลูกตา แม้ว่าอาจจะฟังดูแล้น่ากลัว แต่ก็เป็นกระบวนการ ที่อาจสามารถช่วยแก้ไขปัญหาบางอย่างที่เกิดขึ้นกับดวงตาของเราได้อย่างไม่น่าเชื่อ วันนี้ Hello คุณหมอ จึงขออาสาพาทุกคนมารู้จักกับ การฉีดยาเข้าวุ้นตา ทั้งข้อดีและข้อเสีย เพื่อให้ทุกคนสามารถนำไปประกอบการพิจารณาเป็นอีกตัวเลือกของการรักษาดวงตาค่ะ

    การฉีดยาเข้าลูกตา คืออะไร

    ฉีดยาเข้าลูกตา หรือเรียกอีกอย่างได้ว่า ฉีดยาเข้าวุ้นตา (Eye Injections) คือ การรักษาปัญหาที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพตาโดยตรง เช่น อาการจอประสาทตาเสื่อม โรคเบาหวานขึ้นตา การอุดตันของเส้นเลือดในจอประสาทตา โดยใช้ยาในกลุ่ม anti-VEGF ซึ่งเป็นยาที่ใช้ยับยั้งสารที่ก่อให้เกิดภาวะกระตุ้นการเจริญเติบโตของหลอดเลือด มีทั้งหมด 4 ชนิด ได้แก่

    • Aflibercept (Eylea)
    • Bevacizumab (Avastin®)
    • Brolucizumab( Beovu ®)
    • Ranibizumab(Lucentis®)

    แต่ถึงอย่างไร แพทย์อาจมีการวินิจฉัย และการตรวจสอบอย่างละเอียดเสียก่อน เพื่อหาวิธีรักษา และเลือกชนิดยาที่เหมาะสมกับสภาวะที่คุณเป็น หากจำเป็นต้องเข้ารับการ ฉีดยาเข้าวุ้นตา

    ขั้นตอนการฉีดยาเข้าลูกตา โดยแพทย์

    แพทย์อาจให้คุณนั่งหรือนอนในท่าที่สบายและผ่อนคลาย จากนั้นจึงนำยาชาหยอดลงในลูกตา เพื่อให้คุณไม่รู้สึกถึงความเจ็บปวด พร้อมเริ่มดำเนินการตามขั้นตอนการฉีดยา ดังนี้

    • ทำความโดยรอบบริเวณเปลือกตา โดยปกติแพทย์อาจใช้เป็นโพวิโดน ไอโอดีน (Povidone-iodine)
    • ใช้อุปกรณ์ถ่างตา เพื่อเปิดเปลือกตาขึ้นเตรียมการฉีด
    • ในระหว่างการฉีดยา แพทย์ให้คุณมองไปทิศทางใดทิศทางหนึ่ง เพื่อฉีดเข้าสู่บริเวณตาขาว

    ขั้นตอนการ ฉีดยาเข้าวุ้นตา ทั้งหมดนี้มักใช้ระยะเวลาเพียง 10-15 นาที เท่านั้น ซึ่งแพทย์อาจมีการทำความสะอาดรอบดวงตาอีกรอบหลังจากการฉีดยาเสร็จสิ้น เพื่อให้ดวงตาคุณสะอาดปลอดจากเชื้อแบคทีเรียมากที่สุด

    ความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นหลังถูก ฉีดยาเข้าวุ้นตา

    • การมองเห็นลดลง
    • ดวงตาไวต่อแสง
    • ปวดตา
    • กระจกตาถลอก
    • ความดันในตาเพิ่มขึ้น
    • เรตินา หรือเส้นประสาทในดวงตาเสียหาย
    • การติดเชื้อ
    • เลือดออกในวุ้นตา
    • การอักเสบในดวงตา

    หากไม่อยากเจอกับความเสี่ยงของการ ฉีดยาเข้าวุ้นตา ดังกล่าว คุณจำเป็นต้องดูแลตนเองตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด โดยใช้ยาหยอดตาที่แพทย์กำหนด งดการสัมผัสหรือขยี้ตา และหลีกเลี่ยงไม่ให้ตาโดนน้ำเป็นเวลา 3 วัน พร้อมเข้ารับการตรวจอย่างละเอียดทุกครั้งตามการนัดหมายร่วม เพื่อลดโอกาสเสี่ยงที่จะเกิดอาการแทรกซ้อนรุนแรงขึ้นแก่ดวงตาของคุณได้

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    ทีม Hello คุณหมอ


    เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 24/02/2021

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา