backup og meta

ระวัง! เชื้อบรูเซลลา แบคทีเรียตัวใหม่ที่รั่วไหล จากห้องปฏิบัติการในจีน

ระวัง! เชื้อบรูเซลลา แบคทีเรียตัวใหม่ที่รั่วไหล จากห้องปฏิบัติการในจีน

นอกจากข่าวการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 แล้ว  ยังมีอีกเรื่องหนึ่งที่ค่อนข้างได้รับความสนใจจากสำนักข่าว และประชาชนทั่วโลกที่กำลังติดตามอยู่อย่างมากในเวลานี้ เนื่องจาก ล่าสุดวันที่ 17 กันยายน 2563 ที่ผ่านมามีการรายงานว่า เชื้อบรูเซลลา ที่อยู่ในห้องปฏิบัติการของบริษัทแห่งหนึ่ง ของจีนเกิดการรั่วไหลออกมา ซึ่งทาง Hello คุณหมอ ต้องบอกเลยว่าเชื้อแบคทีเรียชนิดนี้อาจสร้างความสูญเสียแก่ร่างกายของมนุษย์เราได้ไม่แพ้ COVID-19 เลยทีเดียว

เชื้อบรูเซลลา เชื้อแบคทีเรียที่นำพามาซึ่งโรคอันตราย

บรูเซลลา (Brucella) เป็นเชื้อแบคทีเรียที่นำมาซึ่ง โรคบรูเซลโลซิส (Brucellosis) โรคนี้เรียกอีกอย่างได้ว่า ไข้มอลตา (Malta fever) หรือ ไข้เมดิเตอร์ริเนียน ( Mediterranean fever) ที่อาจส่งผลให้เกิดอาการปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ มีไข้ อ่อนเพลีย ซึ่งอาการข้างต้นอาจสามารถบรรเทาลงได้ แต่ในขณะเดียวกันก็อาจทำให้เกิดเป็นอาการเรื้อรังรุนแรงได้ทันที

จีนแถลง! พบ ผู้ติดเชื้อบรูเซลลา กว่า 1,000 ราย

สำนักงานคณะกรรมการด้านสุขภาพของเมืองหลานโจว เมืองหลวงของมณฑณกานซู ที่ประเทศจีน ได้ออกมายืนยันถึงตัวเลขผู้ติดเชื้อที่ได้รับผลกระทบจากเหตุกาณ์ครั้งนี้ ซึ่งมีประชาชนจำนวนกว่า 3,245 คน ได้รับเชื้อ ที่มาจากการสัมผัสสัตว์ที่มี เชื้อแบคทีเรียบรูเซลลา และยังมีการค้นพบอีกกว่า 1,401 คน ที่ตรวจสอบแล้วผลออกมาเป็นบวกอีกด้วย ถึงจะมีแต่ข่าวร้ายที่คอยสร้างความกังวลใจ แต่อย่างไรก็ยังคงมีข้อดีอยู่บ้างเนื่องจากการแพร่เชื้อแบคทีเรียอีกครั้งนี้ยังไม่มีการรายงานถึงตัวเลขของผู้เสียชีวิตแต่อย่างใด

อีกทั้งในการระบาดครั้งนี้ยังเกิดจากการที่เชื้อแบคทีเรียนั้นรั่วไหลออกมาจากโรงงานเภสัชกรรมชีวภาพจงมู่ หลานโจว ที่เกิดขึ้นในช่วงเดือนกรกฎาคมถึงปลายเดือนสิงหาคมปีที่แล้ว เหตุการณ์เกิดขึ้นเมื่อในขณะที่ผลิตวัคซีน บรูเซลลา (Brucella) สำหรับใช้ในการพ่นกำจัดแบคทีเรีย ทำให้แบคทีเรียในส่วนตกค้างล่องลอยไปตามอากาศ และตกลงไปที่สถาบันวิจัยสัตว์เมืองหลานโจว ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้เกิดการระบาดครั้งแรกขึ้น

จีน-เชื้อบรูเซลลา-โรคบรูเซลโลซิส

อย่างไรก็ดี เหตุการณ์ดังกล่าวทำให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องไม่สามารถเพิกเฉยได้ และยังคงมีการลงพื้นที่ตรวจทดสอบหาเชื้อกันอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ได้รับการรักษา และการป้องกันได้อย่างเท่าทัน แต่ถึงอย่างไรก็ตามคณะกรรมการที่เข้าทำการตรวจสอบถึงเรื่องนี้ได้ทำการยกเลิก หรือเพิกถอนใบอนุญาตและหมายเลขของผลิตภัณฑ์นี้เป็นที่เรียบร้อย อีกทั้งทางโรงงานได้ออกมายอมรับผิด พร้อมขอโทษต่อสาธารณชน และได้กล่าวว่าขณะนี้ทางโรงงานก็ได้รับบทลงโทษจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแล้วด้วยเช่นเดียวกัน

เราจะสามารถป้องกันและรับมือต่อ เชื้อบรูเซลลา ได้อย่างไร

แต่เดิมเชื้อบรูเซลลา หรือโรคบรูเซลโลซิสอาจพบได้บ่อยในประเทศจีนในช่วงปีค.ศ. 1980 แม้ว่าจะลดลงด้วยการควบคุมโรค และการป้องกันด้วยวัคซีนก็ตาม แต่ก็ยังคงมีการระบาดของโรคนี้ติดต่อไปทั่วโลกในช่วงไม่กี่ทศวรรษที่ผ่านมา

เพราะเหตุนี้ เราจึงควรระมัดระวังอีกตนด้วยการหลีกเลี่ยงการทานอาหารที่ขาดการปรุงสุก โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลิตภัณฑ์บางอย่างที่มาจากสัตว์ เช่น นมสด โดยไม่ผ่านการฆ่าเชื้อ  เนื้อสัตว์ที่ไม่ผ่านการปรุงสุก เป็นต้น เพื่อความปลอดภัยตั้งแต่เนิ่น ๆ ที่เราสามารถเริ่มต้นทำได้ในทุก ๆ วัน

[embed-health-tool-bmi]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Bacterial outbreak infects thousands after factory leak in China https://edition.cnn.com/2020/09/17/asia/china-brucellosis-outbreak-intl-hnk/index.html Accessed September 25, 2020

Bacterial outbreak infects thousands after factory leak in China https://www.ctvnews.ca/health/bacterial-outbreak-infects-thousands-after-factory-leak-in-china-1.5108628 Accessed September 25, 2020

Fact Check: Is Brucellosis Really Caused by a ‘Virus’ Leaked from Chinese Labs? https://www.news18.com/news/buzz/fact-check-is-brucellosis-really-caused-by-a-virus-leaked-from-chinese-labs-2895609.html Accessed September 25, 2020

เวอร์ชันปัจจุบัน

06/10/2020

เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: Nattrakamol Chotevichean


บทความที่เกี่ยวข้อง

ไข้นกแก้ว อาการป่วยคล้ายไข้หวัด แต่มีพาหะเป็นสัตว์ปีก

โรคที่มากับสัตว์เลี้ยง ที่คุณควรรู้จัก มีอะไรบ้าง


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 06/10/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา