backup og meta

อึฟรุ้งฟริ้งด้วย แคปซูลกากเพชร ควรลองหรือต้องเลี่ยง

อึฟรุ้งฟริ้งด้วย แคปซูลกากเพชร ควรลองหรือต้องเลี่ยง

คุณอยากอึออกมาเป็นกากเพชร ฟรุ้งฟริ้ง และแวววาวบ้างหรือไม่? อึเสร็จแล้วได้ความรู้สึกเสมือนว่าคุณกำลังโลดแล่นอยู่ในโลกของเทพนิยาย ถ้าคุณต้องการเช่นนั้น คุณอาจสนใจผลิตภัณฑ์ที่รู้จักกันในชื่อ แคปซูลกากเพชร ที่กินเข้าไปแล้วจะอึออกมาเป็นกากเพชรวิบวับเลยทีเดียว แต่แคปซูลที่ว่านี้จะปลอดภัยและเห็นผลจริงหรือไม่ และมีความเสี่ยงอย่างไร มาหาคำตอบกันได้กับบทความนี้จาก Hello คุณหมอ

กากเพชรกินได้จริงหรือ

กากเพชร หรือ กลิตเตอร์ (Glitter) มีอยู่ด้วยกัน2แบบ คือแบบที่รับประทานได้กับแบบที่รับประทานไม่ได้

  • กากเพชรที่ไม่สามารถรับประทานได้ คือ กากเพชรสำหรับใช้ในงานศิลปะ เช่น กากเพชรสำหรับแต่งหน้า กากเพชรสำหรับทำงานประดิษฐ์ตกแต่ง
  • กากเพชรที่สามารถรับประทานได้ คือ กากเพชรสำหรับใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร เช่น กากเพชรตกแต่งหน้าคุ้กกี้ กากเพชรตกแต่งหน้าเค้ก

กากเพชรชนิดที่นำมากินได้ มีส่วนประกอบของ น้ำตาล, อะคาเชียหรือกัมอะคาเซีย (Acacia or gum arabic), มอลโทเดกซ์ทริน (maltodextrin), แป้งข้าวโพด, และสีที่ได้รับอนุญาตให้ใช้สำหรับอุตสาหกรรมอาหาร ประกอบไปด้วย สีไมก้า (Mica-based), ผงสีมุก และสีผสมอาหารหรือสีสังเคราะห์ อย่างเช่น สี FD&C Blue No. 1. โดยสีสังเคราะห์ที่ว่านี้ได้รับการรับรองจากองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา ให้ใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร ยา และเครื่องสำอาง หรือ Food, Drug and Cosmetic (FD&C) Act

ความเสี่ยงของการรับประทานกากเพชร

สำหรับกากเพชรที่ใช้ในการประกอบอาหารนั้น แน่นอนว่าสามารถรับประทานได้ อย่างไรก็ตาม องค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกาเองก็ยังได้กล่าวถึงการรับประทานกากเพชรเหล่านี้ว่า ควรระมัดระวังการรับประทานกากเพชรในอาหาร ถึงแม้ว่าจะมีรับการรับรองว่าสามารถกินได้ แต่ก็อาจจะมีสิ่งแปลกปลอมอย่างพลาสติกเจือปนเข้ามาได้เช่นกัน รวมถึงยังมีการประกาศไปยังกลุ่มผู้ผลิตกากเพชรอีกว่า ควรมีความรับผิดชอบต่อผู้บริโภคและควรใส่ใจกับผลิตภัณฑ์ให้มีความปลอดภัยต่อผู้บริโภคอย่างสูงสุด

มีวิธีหลีกเลี่ยงกากเพชรในอาหารอย่างไรได้บ้าง

  • ตรวจเช็กฉลากของผลิตภัณฑ์ก่อนซื้อเสมอ ตรวจดูว่ามีวัตถุแปลกปลอมที่มีความเสี่ยงต่อร่างกายหรือไม่
  • เลือกวัตถุดิบในการตกแต่งอาหารแบบอื่นๆ ไม่จำเป็นต้องใช้กากเพชรในการตกแต่งอาหารเสมอไป
  • ในกรณีที่สั่งอาหารจากร้านอาหาร เช่น อาหารประเภทเบเกอรี่ เค้ก หรือขนมหวานอื่นๆ ควรแจ้งไปยังผู้ผลิตว่าขอให้ลดหรืองดใส่วัตถุดิบที่จะเป็นอันตรายต่อร่างกาย

แคปซูลอึเป็นกากเพชร คืออะไร

เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา มีเรื่องราวที่ได้รับการส่งต่อกันอย่างรวดเร็วและกว้างขวางเกี่ยวกับ แคปซูลกากเพชร หรือที่รู้จักกันในชื่อ Glitter pills  ซึ่งก็คือแคปซูลที่บรรจุกากเพชรไว้ภายใน ลักษณะคล้ายกับยาชนิดแคปซูลที่เราพบเห็นกันทั่วไป แคปซูลดังกล่าวเป็นไวรัลที่แชร์มาจากต่างประเทศ พร้อมกับสรรพคุณที่ระบุเอาไว้ว่า หลังจากที่กินเข้าไปแล้วจะขับถ่ายออกมาเป็นกากเพชร เรียกได้ว่าเป็นผลิตภัณฑ์ที่เอาใจสายกลิตเตอร์ฟรุ้งฟริ้งอย่างแท้จริง อย่างไรก็ตามยังคงเป็นที่ถกเถียงกันในโลกโซเชียลมีเดียว่า เราจะรับประทานสิ่งนี้กันไปเพื่ออะไร หรือ การรับประทานสิ่งนี้จะได้ผลลัพธ์ตามที่ระบุไว้จริงหรือ

แคปซูลกากเพชรควรรับประทานหรือไม่

โดยปกติแล้ว มนุษย์เรานั้นรับประทานอาหารเพื่อเสริมสร้างการเจริญเติบโตของร่างกาย เพื่อให้ร่างกายเกิดพลังงานสำหรับการทำกิจกรรมต่างๆ ในชีวิตประจำวัน อาจจะมีบ้างบางครั้งที่จะรับประทานอาหารที่ไม่ได้มีคุณค่าทางสารอาหารตามความชอบ หรือนานๆ ครั้งจึงจะรับประทาน แต่ในส่วนของแคปซูลอึกากเพชรที่กำลังเป็นกระแสอยู่ในขณะนี้ แพทย์และผู้เชี่ยวชาญหลายท่านก็ได้ออกมาให้คำแนะนำว่า ของดังกล่าวไม่ใช่สิ่งที่จะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อร่างกาย ถึงแม้ว่าจะมีส่วนประกอบที่สามารถรับประทานได้จริง หากแต่ยังไม่ได้มีการรับรองถึงคุณค่าทางสารอาหารใดๆ และถ้าหากพลาดพลั้ง รับประทานแคปซูลที่มาจากแหล่งผลิตที่ไม่ได้มาตรฐาน ก็อาจจะเป็นการรับประทานเอาสิ่งแปลกปลอมหรือสารพิษเข้าสู่ร่างกายจนเกิดอันตรายต่อสุขภาพได้

อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีการรายงานถึงผลลัพธ์ว่าสามารถขับถ่ายอึออกมาเป็นกากเพชรได้จริง และแม้แต่ผู้ผลิตบางรายเองก็ยังเคยได้รับเรื่องร้องเรียนจากลูกค้าด้วยว่า รับประทานเข้าไปแล้วไม่เห็นว่าอึของตนเองจะเป็นกากเพชรตรงไหน

จึงสามารถสรุปได้ว่า แคปซูลอึกากเพชร ไม่ได้ให้คุณค่าทางโภชนาการใดต่อสุขภาพในระดับที่ช่วยเสริมสร้างสุขภาพที่ดี และยังอาจมีความเสี่ยงถ้าหากผลิตภัณฑ์ดังกล่าวไม่ได้มาจากแหล่งผลิตที่ได้มาตรฐานการรับรองจากหน่วยงานขององค์การอาหารและยา ดังนั้นเพื่อสุขภาพชีวิตที่ดี ควรรับประทานอาหารที่มีประโยชน์และให้คุณค่าสารอาหารต่อร่างกายก็จะดีไม่น้อย

Hello Health Group ม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค และการรักษาโรคแต่อย่างใด

[embed-health-tool-bmi]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

เตือน! กินแคปซูลบรรจุกากเพชร หวังให้ “อึฟรุ้งฟริ้ง” อันตรายต่อร่างกาย. https://www.springnews.co.th/social/580763. Accessed November 29, 2019

To Eat or Not to Eat: Decorative Products on Foods Can Be Unsafe. https://www.fda.gov/consumers/consumer-updates/eat-or-not-eat-decorative-products-foods-can-be-unsafe. Accessed November 29, 2019

FDA Advises Home and Commercial Bakers to Avoid Use of Non-Edible Food Decorative Products. https://www.fda.gov/food/food-additives-petitions/fda-advises-home-and-commercial-bakers-avoid-use-non-edible-food-decorative-products. Accessed November 29, 2019

Please don’t take glitter pills to help you poop rainbows. https://www.sheknows.com/health-and-wellness/articles/1065975/dont-take-glitter-pills-to-help-you-poop-rainbows/. Accessed November 29, 2019

Are People Really Taking Glitter Pills to Make Their Shit Sparkle?. https://www.vocativ.com/culture/society/glitter-pills-for-poop/index.html. Accessed November 29, 2019

People are eating glitter for breakfast, lunch and dinner.
https://www.marketwatch.com/story/people-are-eating-glitter-for-breakfast-lunch-and-dinner-2018-03-22. Accessed November 29, 2019

Don’t eat glitter, FDA warns: How to tell when the sparkly substance is actually edible. https://www.foxnews.com/health/dont-eat-glitter-fda-warns-how-to-tell-when-the-sparkly-substance-is-edible. Accessed November 29, 2019

Everything You Need to Know About Eating Glitter. https://www.eater.com/2018/2/14/17008460/edible-glitter-non-toxic-glitter-explained. Accessed November 29, 2019

เวอร์ชันปัจจุบัน

11/05/2020

เขียนโดย Khongrit Somchai

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: Nattrakamol Chotevichean


บทความที่เกี่ยวข้อง

ลูกติดหวาน ควรทำอย่างไร

สารอาหารวัยทำงาน ที่เหมาะสมตามช่วงอายุ มีอะไรบ้าง


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย Khongrit Somchai · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา