โดยปกติแล้ว คนทั่วไปมักจะไม่นิยมมี แต่งงานในเครือญาติ เนื่องจากกลัวว่าเด็กที่เกิดมานั้นอาจจะมีข้อบกพร่องต่าง ๆ นอกจากนั้นแล้ว ความสัมพันธ์ในเครือญาติ ยังเป็นเรื่องที่ดูไม่เหมาะสมสักเท่าไหร่ แต่ในโลกของความเป็นจริงแล้ว ความสัมพันธ์ภายในเครือญาติก็เป็นเรื่องที่สามารถเกิดขึ้นได้ ซึ่งอาจมีเหตุผลมาจากวัฒนธรรม ต้องการรักษาสายเลือด หรือการสร้างพันธมิตรทางการเมือง เป็นต้น
[embed-health-tool-heart-rate]
เลือดชิด คือ อะไร
หากพูดถึงคำว่า “ลูกพี่ลูกน้อง” แล้ว ในความเป็นจริงลูกพี่ลูกน้องนั้นมีหลายประเภทด้วยกัน แต่ลูกพี่ลูกน้องลำดับที่ 1 มักจะเป็นญาติที่เราสนิทมากที่สุด แต่ลูกพี่ลูกน้องลำดับที่ 2 และ 3 นั้นอาจจะไม่ใช่ก็ได้ ลองมาดูข้อมูลเหล่านี้กันดู
- ลูกพี่ลูกน้องลำดับที่ 1 คือ ลูกของลุงหรือป้า ซึ่งเป็นพี่น้อง หรือลูกพี่ลูกน้องกับพ่อหรือแม่ของเรา
- ลูกพี่ลูกน้องลำดับที่ 2 คือ ลูกของลูกพี่ลูกน้อง หรือเรียกง่ายๆ ว่าหลานของลุง หรือหลานของป้า
- ลูกพี่ลูกน้องลำดับที่ 3 คือ หลานของลูกพี่ลูกน้อง หรือเรียกง่ายๆ ว่า เหลนของลุง หรือเหลนของป้า
แต่งงานในเครือญาติ กับข้อเท็จจริงที่ควรรู้
ในบางวัฒนธรรมมีข้อห้ามในการแต่งงานระหว่างเครือญาติ ซึ่งเป็นรากฐานมาจากกฎเกณฑ์และกฎหมายต่อต้านการร่วมประเวณีระหว่างพี่น้อง นอกจากนั้นก็ยังเป็นเรื่องของความกังวลทางพันธุกรรมอีกด้วย ที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะ ผู้ที่เกี่ยวข้องกันอย่างใกล้ชิด อาจจะแบ่งปันยีนที่มีปัญหาต่างๆ มาสู่ลูกที่เกิดมาก็เป็นได้
แต่ความเป็นจริงแล้ว เด็กทารกที่เกิดจากคู่รักที่ไม่ได้มีความเกี่ยวข้องกันทางเครือญาติ จะมีความเสี่ยงต่อความพิการ 2-3% แต่ในเด็กทารกที่เกิดจากลูกพี่ลูกน้องลำดับที่ 1 จะมีความเสี่ยงต่อความพิการ 4-6% แม้จะไม่ใช้ความเสี่ยงที่สูงนัก แต่ก็ควรต้องได้รับการปรึกษาทางพันธุกรรมก่อนจะมีลูก หาจะมีการแต่งงานในเครือญาติกันจริงๆ
ซึ่งในทางกลับกันหลายวัฒนธรรม ก็มีการสนับสนุนให้มีการแต่งงานกันในเครือญาติเช่นกัน โดยเหตุผลหลักก็มาจากการต้องการรักษาสายเลือด รวมถึงเป็นการสร้างพันธมิตรทางการเมือง ซึ่งในวัฒนธรรมของเอเชียนั้น มีการสนับสนุนให้แต่งงานกันระหว่างลูกพี่ลูกน้องก็เพื่อกระชับความสัมพันธ์ระหว่างเผ่านั่นเอง
ความเสี่ยงของเด็กที่เกิดจากการ แต่งงานในเครือญาติ
อย่างที่กล่าวไปข้างต้นแล้วว่า การแต่งงานกันในเครือญาติ โดยเฉพาะกับลูกพี่ลูกน้องนั้น ถือเป็นความคิดที่ผิด เนื่องจากอาจเป็นการนำไปสู่โรคทางพันธุกรรม ปัญญาอ่อน หรือข้อบกพร่องต่อเด็กทารกก็เป็นได้
จากรายงานชิ้นหนึ่งของ ดร. อาร์โน โมตูลสกี ศาสตราจารย์ด้านเวชศาสตร์และจีโนมวิทยาศาสตร์ ที่มหาวิทยาลัยวอชิงตันและผู้เขียนอาวุโส ระบุเอาไว้ว่า ในประชากรทั่วไป ความเสี่ยงที่เด็กจะเกิดมาพร้อมกับปัญหาร้ายแรง เช่น ความบกพร่องของกระดูกไขสันหลัง (spina bifida) หรือโรคซิสติก ไฟโบรซิส (Cystic Fibrosis) เรียกอีกอย่างว่า “โรคหลอดลมพอง” คือ 3-4% แต่สำหรับลูกพี่ลูกน้องลำดับที่ 1 ที่มีความสัมพันธ์กันในเครือญาติ จะเพิ่มขึ้นอีกร้อยละ 1.7-2.8 ซึ่งแม้ว่าการเพิ่มขึ้นจะแสดงถึงความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นเกือบ 2 เท่า แต่ผลลัพธ์ก็ยังไม่ถือว่าใหญ่พอที่จะกีดกันการมีลูกระหว่างลูกพี่ลูกน้องได้
ดร. อาร์โน โมตูลสกี ยังได้กล่าวอีกว่า นักวิจัยไม่ทราบว่าทำไมการแต่งงานระหว่างลูกพี่ลูกน้อง จึงถูกมองด้วยความไม่พอใจในสหรัฐอเมริกา แต่ถึงกระนั้นก็ไม่มีใครรู้ว่า มีญาติกี่คนที่แต่งงานหรืออาศัยอยู่ด้วยกัน การประมาณการแต่งงานระหว่างคนที่เกี่ยวข้องทางสายเลือด ซึ่งรวมถึงลูกพี่ลูกน้องลำดับที่ 1 และคนที่อยู่ห่างไกลมากขึ้น มีตั้งแต่น้อยกว่าร้อยละ 0.1 ของประชากรทั่วไปถึงร้อยละ 1.5
นอกจากนั้นแล้ว ยังมีข้อมูลจากผลการวิจัยอีกหนึ่งชิ้นเกี่ยวกับความเสี่ยงของเด็กที่เกิดจากความสันพันธ์ในเครือญาติ ซึ่งนักวิจัยที่ได้ทำการศึกษาหาคำตอบเกี่ยวกับอัตราการตายและความผิดปกติแต่กำเนิดในทารกของชุมชนปากีสถาน ที่เกิดจากการแต่งงานระหว่างลูกพี่ลูกน้องลำดับที่ 1 โดยได้ศึกษาจากทารก 13,500 คนที่เกิดในแบรดฟอร์ด ได้ข้อสรุปว่า ปัจจัยหลักที่ทำให้เกิดการแต่งงานกันในเครือญาติระหว่างลูกพี่ลูกน้องลำดับที่ 1 ของชุมชนนั่นก็คือ เรื่องของวัฒนธรรม โดยการแต่งงานกับญาติทางสายเลือดเกิดขึ้นเกือบ 1 ใน 3 หรือคิดเป็น 31% ต่อความบกพร่องที่เกิดขึ้นในทารก
แม้ความเสี่ยงของการเกิดทารกที่มีข้อบกพร่อง มักจะมีปัญหาเกี่ยวกับระบบหัวใจหรือระบบประสาท ซึ่งบางครั้งอาจถึงแก่ชีวิต ยังมีขนาดเล็กอยู่ แต่ก็เพิ่มขึ้นจาก 3% ในประชากรปากีสถานทั่วไปถึง 6% ในหมู่ผู้แต่งงานกับญาติเลือดเดียวกัน โดยนักวิจัยยังพบว่า มีความเสี่ยงในทารกของสตรีผิวขาวชาวอังกฤษที่อายุเกิน 34 ปี เพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีว่า ความเสี่ยงนั้นเพิ่มขึ้นจาก 2% เป็น 4%