backup og meta

วัคซีนป้องกันโรค กับข้อมูลสำคัญที่ควรรู้

วัคซีนป้องกันโรค กับข้อมูลสำคัญที่ควรรู้

วัคซีน เป็นสารชนิดหนึ่งที่ฉีดเข้าไปในร่างกาย เพื่อกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันโรคต่าง ๆ โดยวัคซีนแต่ละตัวอาจทำหน้าที่ในการป้องกันโรคที่แตกต่างกันออกไป โดย วัคซีนป้องกันโรค สามารถฉีดได้ตั้งแต่แรกเกิด เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดโรคต่าง ๆ เช่น ไวรัสตัวอักเสบเอ ไวรัสตับอีกเสบบี อีสุกอีใส โปลิโอ ไข้หวัดใหญ่ รวมทั้งอาจช่วยให้สุขภาพดีขึ้นได้ด้วย

วัคซีนป้องกันโรค คืออะไร

วัคซีน (Vaccine) เป็นสารชนิดหนึ่งที่ฉีดเข้าไปในร่างกาย เพื่อกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันและอาจช่วยลดความเสี่ยงในการเป็นโรคต่าง ๆ โดยวัคซีนจะทำงานร่วมกับระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย เพื่อกระตุ้นระบบภูมิคุ้นกันให้ทำงานได้ดีขึ้น โดยส่วนใหญ่แล้ว วัคซีนป้องกันโรค อาจทำมาจากเชื้อโรคซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ ทำจากเชื้อโรคที่ตายแล้ว และทำจากเชื้อโรคที่อ่อนแอ ซึ่งเมื่อฉีดเข้าไปในร่างกายแล้ว ร่างกายจะสร้างภูมิคุ้มกันโรคนั้น ๆ ขึ้นมา

นอกจากนี้ การฉีดวัคซีนป้องกันโรคยังเป็นอีกหนึ่งวิธีในการดูแลสุขภาพเบื้องต้น ทั้งยังมีความสำคัญในการป้องกันและควบคุมการระบาดของโรคติดต่อได้อีกด้วย โดยในปัจจุบันมีวัคซีนป้องกันโรคที่คุกความชีวิตมากกว่า 20 โรค เช่น ไวรัสตัวอักเสบเอ ไวรัสตับอีกเสบบี อีสุกอีใส โปลิโอ ไข้หวัดใหญ่ ซึ่งอาจช่วยให้คนทุกเพศ ทุกวัยมีสุขภาพที่ดีขึ้น ทั้งยังช่วยสดความเสี่ยงในการเสียชีวิตจากโรคต่าง ๆ ได้ถึง 2-3 ล้านคนในทุกปี

9 วัคซีนป้องกันโรคที่พบบ่อย

การฉีดวัคซีน หรือการรับวัคซีนอาจเป็นมาตรการป้องกันที่ดีที่สุดวิธีหนึ่งที่คุณพ่อคุณแม่สามารถใช้เพื่อป้องกันทารก เด็ก หรือวัยรุ่นจากการติดเชื้อต่าง ๆ ได้ นอกจากนี้ วัคซีนบางชนิดอาจช่วยป้องกันโรคในผู้ใหญ่ได้ด้วย นอกจากนี้ การฉีควัคซีนอาจช่วยลดผลกระทบด้านสุขภาพที่ร้ายแรง เช่น ความเจ็บป่วย การเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล หรือแม้แต่การเสียชีวิต ดังนั้น ทุกคนควรได้รับการฉีดวัคซีนตามคำแนะนำของคุณหมอ เพื่อรักษาสุขภาพของตัวเอง รวมถึงสุขภาพของผู้อื่นด้วย โดย วัคซีนป้องกันโรคต่าง ๆ อาจมีดังนี้

1. วัคซีนตับอักเสบบี (Hepatitis B Vaccine)

ไวรัสตับอักเสบบี (Hepatitis B) เป็นโรคที่ทำให้ตับอักเสบและถูกทำลาย รวมถึงอาจทำให้เกิดโรคตับแข็ง ซึ่งเป็นภาวะที่เนื้อเยื่อเป็นแผลจนอาจนำไปสู่ความล้มเหลวของตับและอาจทำให้เกิดโรคมะเร็งตับได้ ไวรัสตับอักเสบบีติดต่อผ่านทางเลือดหรือของเหลวอื่น ๆ ในร่างกาย ดังนั้น เพื่อป้องกันการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี อาจทำได้ด้วยการฉีดวัคซีนป้องกันโรคตั้งแต่แรกเกิด

2. วัคซีนบาดทะยัก คอตีบ และไอกรน (Tetanus Diphtheria and Acellular Pertussis หรือ Tdap)

การฉีดวัคซีนป้องกันบาดทะยัก คอตีบ และไอกรน เป็นการฉีดวัคซีนเพื่อเข้าไปกระตุ้นภูมิต้านทานที่ทำหน้าป้องกันบาดทะยัก คอตีบ และไอกรน โดยวัยรุ่นอาจได้รับวัคซีนครั้งแรกอายุประมาณ 11-12 ปี จากนั้นจะได้รับวัคซีนป้องกันบาดทะยัก และคอตีบ (Td boosters) ทุก 10 ปี

สำหรับผู้หญิงควรได้รับวัคซีนทุกครั้งที่ตั้งครรภ์ เนื่องจาก ทารกในครรภ์มีความเสี่ยงสูงต่อการเป็นโรคไอกรน นอกจากนี้ ทารกอาจได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคคอตีบ บาดทะยัก และไอกรน (DTaP) เป็นครั้งแรกเมื่ออายุ 2 เดือน

3. วัคซีนฮีโมฟีลุส อินฟลูเอนเซ ชนิดบี  (Haemophilus influenzae type b หรือ Hib Vaccine)

วัคซีนฮีโมฟีลุส อินฟลูเอนเซ ชนิดบี สามารถฉีดเพียงตัวเดียว หรือจะฉีดร่วมกัยวัคซีนชนิดอื่น ๆ ก็ได้ โดยวัคซีนชนิดนี้อาจช่วยป้องกันแบคทีเรียที่เรียกว่า ฮีโมฟีลุส อินฟลูเอนเซ ชนิดบี (Haemophilus influenzae type b) สามารถแพร่กระจสยได้ทางอากาศ ส่งผลทำให้เกิดโรคปอดบวม (Pneumonia) เยื่อหุ้มสมองอักเสบ (Meningitis) ฝาปิดกล่องเสียงอักเสบ (Epiglottitis) รวมถึงการติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบนอื่น ๆ

โดยเด็กควรได้รับวัคซีนฮีโมฟีลุส อินฟลูเอนเซ ชนิดบี 3 ครั้ง คือ 2 เดือน 4 เดือนและ 6 เดือน รวมทั้งควรฉีดเข็มกระตุ้นเมื่ออายุประมาณ 12-18 เดือน

4. วัคซีนป้องกันโรคโปลิโอชนิดฉีด (Inactivated Poliomyelitis Vaccine หรือ IPV)

ผู้ติดเชื้อโปลิโอส่วนใหญ่มักไม่มีอาการใด ๆ แต่มีจำนวนน้อยกว่า 2% เท่านั้นที่อาจมีอาการโปลิโออักเสบ หรือการติดเชื้อของระบบประสาทส่วนกลาง ซึ่งอาจนำมาไปสู่การเป็นอัมพาตถาวร ดังนั้น เด็กทุกคนควรได้รับการฉีดวัคซีน ซึ่งปัจจุบันการฉีดวัคซีนโปลิโอแบบฉีดอาจใช้แทนชนิดกินได้ นอกจากนี้ ยังรวมอยู่กับวัคซีนป้องกันคอตีบ ไอกรน บาดทะยัก

5. วัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโรต้า (Rotavirus Vaccine)

วัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโรต้า เป็นวัคซีนที่อาจช่วยป้องกันโรคท้องร่วง โดยวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโรต้าทั้ง 2 ชนิด คือ ชนิดโมโนวาเลนต์ (Monovalent) และชนิดเพนตาวาเลนต์ (Pentavalent) สามารถเริ่มให้ครั้งแรกได้เมื่ออายุประมาณ 6-15 สัปดาห์ และครั้งสุดท้ายไม่ควรเกิน 8 เดือน ซึ่งแต่ละครั้งจะห่างกันประมาณ 4 สัปดาห์ โดยวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโรต้าอาจให้ร่วมกับวัคซีนโปลิโอชนิดกินได้

6. วัคซีนป้องกันโรคหัด คางทูม หัดเยอรมัน (Measles Mumps Rubella Vaccine หรือ MMR)

วัคซีนป้องกันโรคหัด คางทูม หัดเยอรมัน ป็นวัคซีนรวมที่ฉีดเพื่อป้องกันโรคหัด คางทูม และหัดเยอรมัน โดยโรคหัดอาจมีความสัมพันธ์กับการเปลี่ยนแปลงของผิวหนัง แผลในปาก เช่น จุดค็อปลิก (Koplik’s Spot) ทำให้เกิดโรคสมอง (Encephalopathy) หรือสมองได้รับความเสียหาย โรคคางทูมทำให้ต่อมน้ำลายบริเวณกกหู (Parotid) อักเสบและเจ็บปวด ทั้งยังอาจทำให้เกิดการอักเสบของตับอ่อนและอัณฑะ แต่ไม่ทำให้สมองได้รับความเสียหายหรือเสียชีวิต

สำหรับโรคหัดเยอรมันอาจทำให้ต่อมน้ำเหลืองขยายใหญ่ขึ้น มีผื่นที่ผิวหนัง และปวดข้อ หากคุณแม่ตั้งครรภ์ติดเชื้อ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงตั้งครรภ์ระยะแรก อาจส่งผลทำให้ข้อเกิดความบกพร่องอย่างรุนแรงในทารกแรกเกิดได้

วัคซีนป้องกันโรคหัด คางทูม หัดเยอรมัน อาจฉีดครั้งแรกเมื่ออายุ 9-12 เดือน และครั้งที่ 2 เมื่ออายุ 4-6 ปี เนื่องจาก วัคซีนที่ฉีดเข็มแรกอาจป้องกันโรคเหล่านี้ได้เพียง 95% จากวัคซีน ดังนั้น จึงจำเป็นต้องได้รับการฉีดเข็มที่ 2

7. วัคซีนอีสุกอีใส (Varicella Vaccine)

ไวรัสวาริเซลลาซอสเตอร์ (Varicella-zoster Virus) อาจทำให้เกิดโรคอีสุกอีใส โรคงูสวัดในผู้ใหญ่ โรคปอดบวม ซึ่งผู้ป่วยที่ติดเชื้อจากไวรัสวาริเซลลาซอสเตอร์จำนวน 5 ใน 1,000 ราย ต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล โดยส่วนใหญ่ผู้ที่เข้ารับการรักษาอาจมีอายุระหว่าง 1-4 ปี ดังนั้น วัคซีนอีสุกใสจึงควรฉีดตั้งแต่อายุ 1 ปีขึ้นไป ในผู้ที่ยังไม่เคยเป็นโรคอีสุกอีใส โดยฉีดเข้าใต้ผิวหนังจำนวน 2 เข็ม นอกจากนี้ การฉีดวัคซีนอีสุกอีใสในแต่ละช่วงวัย อาจทำได้ดังนี้

  • เด็กอายุต่ำกว่า 13 ปี ควรฉีดเข็มแรกเมื่ออายุ 12-18 เดือน และฉีดกระตุ้นอีกครั้งเมื่ออายุ 4-6 ปี ในกรณีที่มีการระบาดของโรคอาจฉีดเข็มที่ 2 ก่อนอายุ 4 ปี โดยห่างจากเข็มแรกอย่างน้อย 3 เดือน
  • เด็กอายุ 13 ปีขึ้นไปและผู้ใหญ่ ควรได้รับการฉีดวัคซีนจำนวน 2 เข็ม โดยจะฉีดวัคซีนเข็มแรกและเข็มที่ 2 ห่างกันอย่างน้อย 1 เดือน

8. วัคซีนไวรัสตับอักเสบเอ (Hepatitis A Vaccine)

ไวรัสตับอักเสบเอ (Hepatitis A) อาจทำให้เกิดความเจ็บป่วยของตับเฉียบพลันในระยะสั้น โดยไวรัสตับอักเสบเออาจแพร่กระจายผ่านทางอาหาร น้ำที่ปนเปื้อน นอกจากนี้ การไม่รักษาสุขอนามัยให้ดียังอาจเพิ่มความเสี่ยงในการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบเอได้ แม้การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบเอจะไม่ทำให้เสียชีวิต แต่อาจทำให้เกิดโรคระบาดที่สามารถคุกคามสุขภาพของผู้ติดเชื้อ ทำให้เสียเวลาในการทำงานหรือการเรียนนานหลายสัปดาห์

9. วัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ (Influenza Vaccine)

วัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่อาจป้องกันไข้หวัดตามฤดูกาล ซึ่งไข้หวัดใหย๋ตามฤดูกาลนั้นอาจร้ายแรงจนถึงขั้นทำให้เสียชีวิตได้  โดยวัคซีนไข้หวัดใหญ่อาจฉีดให้เด็ดอายุตั้งแต่ 6 เดือนขึ้นไป สำหรับเด็กที่อายุน้อยกว่า 9 ปีที่ได้รับการฉีดวัคซีนเข็มแรก อาจต้องฉีดเข็มที่ 2 โดยใช้เวลาห่างกัน 1 เดือน สำหรับผู้ที่ฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ในปีแรกเพียงเข็มเดียว อาจต้องฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ 2 ครั้งในปีต่อมา หลังจากนั้นอาจฉีดเพียงปีละ 1 ครั้ง

[embed-health-tool-bmi]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Pneumococcal Polysaccharide VIS. https://www.cdc.gov/vaccines/hcp/vis/vis-statements/ppv.html. Accessed December 02, 2020

Recommended Adult Immunization Schedule for ages 19 years or older. https://www.cdc.gov/vaccines/schedules/downloads/adult/adult-combined-schedule.pdf. Accessed December 02, 2020

Yellow fever. https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/yellow-fever. Accessed December 02, 2020

Vaccines and immunization. https://www.who.int/health-topics/vaccines-and-immunization#tab=tab_1. Accessed December 02, 2020

Vaccines by Disease. https://www.cdc.gov/vaccines/vpd/vaccines-diseases.html. Accessed April 8, 2022

Vaccines for adults: Which do you need?. https://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/adult-health/in-depth/vaccines/art-20046750. Accessed April 8, 2022

เวอร์ชันปัจจุบัน

08/04/2022

เขียนโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย

อัปเดตโดย: สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


บทความที่เกี่ยวข้อง

โรคไวรัสตับอักเสบบี คือโรคอะไร ใครควรได้รับวัคซีนไวรัสตับอักเสบบี

ข้อควรรู้เกี่ยวกับ วัคซีนโรตา ทางเลือกในการปกป้องลูกน้อย จากเชื้อไวรัสในของเล่น


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


เขียนโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย · แก้ไขล่าสุด 08/04/2022

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา