เคยไหมอยากจำเรื่องราวในความฝันแค่ไหน แต่พอตื่นมาก็ดันลืมหรือจำได้แค่เพียงลางๆ ทุกที ฝันของเรานั้นมาจากกระบวนการทำงานของสมองที่ฉายภาพต่าง ๆ ทั้งสิ่งที่มีอยู่จริงและสิ่งที่เกิดจากจินตนาการ วันนี้ Hello คุณหมอจะพามารู้จักกับตัวการที่ทำให้เราลืมความฝัน มีชื่อเรียกกันว่า ฮอร์โมนเมลานิน (Melanin)
รู้หรือไม่? การนอนหลับเป็นแบ่งระยะได้ด้วยนะ
ก่อนจะเข้าสู่ภวังค์แห่งความฝัน บางคนอาจมีอาการสะดุ้งตื่นขึ้นมากลางดึกแบบฉับพลัน หรือบางคนเห็นแค่เพียงภาพดำๆเท่านั้น พอรู้สึกตัวอีกทีก็รุ่งเช้าแล้ว โดยปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นแบ่งได้ทั้งหมด 4 ระยะ ดังนี้
ระยะที่ 1 : ระยะหลับตื้น (Light Sleep) เป็นการนอนหลับเพียงช่วงเวลาสั้นๆ เช่น การพักสายตา
ระยะที่ 2 : ระยะหลับตื้นจนไปถึงหลับลึก เช่น การนอนในเวลากลางวัน
ระยะที่ 3 : ระยะหลับลึก (Deep Sleep) เป็นการพักผ่อนในเวลาที่เราเหนื่อยล้าหรืออ่อนเพลียแต่ยังไม่ถึงกับเกิดความฝัน
ระยะที่ 4 : ระยะการหลับลึกจนทำให้เกิดความฝัน เรียกอีกอย่างได้ว่า REM (Rapid Eye Movement) Sleep หรือ การเคลื่อนไหวของดวงตาอย่างรวดเร็ว
การนอนหลับอย่างมีประสิทธิภาพเริ่มจากอะไรเป็นอันดับแรก…
- สร้างกิจวัตรก่อนนอน โดยการฝึกให้นอนหลับในระยะเวลาเดียวกันหรือใกล้เคียงกันทุกคืน เตรียมร่างกายจิตใจและสมองให้พร้อมสำหรับการนอน เช่น หยุดคิดเรื่องต่างๆ ที่ทำให้เกิดอาการคิดมาก เพราะอาจส่งผลให้เข้าภาวะของการนอนไม่หลับได้
- ลดอาการสะดุ้งตื่นกลางดึก พักผ่อนภายใต้ความเงียบและอุณหภูมิห้องที่พอดี ไม่มีแสงหรือเสียงรบกวน กรณีนี้ขึ้นอยู่กับลักษณะการนอนของแต่บุคคล
- นอนหลับให้เพียงพอ อย่างน้อยคืนละ 7-9 ชั่วโมง
- หลีกเลี่ยงแอลกอฮอล์ก่อนนอน เนื่องจากการดื่มแอลกอฮอล์สามารถเข้าไปรบกวนการนอนหลับในระยะหลับลึก (REM) ทำให้การนอนของคุณอาจมีอาการตื่นเช้ากว่าปกติ หรือนอนน้อยกว่า 8 ชั่วโมง
- เงื่อนไขทางการแพทย์ สำหรับผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น ผู้ที่มีปัญหาด้านการหายใจ และโรคอื่นๆ ที่รบกวนการพักผ่อนของคุณ ควรเข้าได้รับคำแนะนำจากแพทย์ในเบื้องต้น
ฝันดี ฝันร้าย เกิดขึ้นได้อย่างไร ?
นักวิทยาศาสตร์ผู้เชี่ยวชาญทางสมอง พวกเขามองว่าการที่คนเราจะฝันดี หรือฝันร้ายนั้น ขึ้นอยู่กับสิ่งเราพบเจอในแต่ละวันผ่านกระบวนการคิดหรือจิตใต้สำนึก ทำให้เกิดเป็นความทรงจำนำไปสู่ความฝัน
ฝันดี เกิดขึ้นได้ต่อเมื่อเรามีความสุขกับบางอย่าง ความสบายใจ ไม่มีเรื่องให้วิตกกังวลจนเข้าสู่ภาวะเครียดรวมไปถึงการใช้ยาทางการแพทย์เข้าช่วย
ฝันร้าย เกิดจากปัญหาทางอารมณ์ ความขัดแย้งและความกลัวภายในจิตใจที่เราพบเจอจดจำหรือติดตา รวมไปถึงผลข้างเคียงของยาบางชนิดที่คุณกำลังใช้รับการรักษา
ฮอร์โมนเมลานิน สาเหตุเกิดทำให้ลืมความฝัน…
ฮอร์โมนเมลานิน (Melanin-Concentrating Hormone ; MCH) เป็นฮอร์โมนที่อยู่ในระดับความเข้มข้นสูง ควบคุมการนอนหลับและความอยากอาหาร โดยนักวิจัย โทมัสคิลดัฟฟ์ (Thomas Kilduff) ผู้อำนวยการศูนย์ประสาทวิทยาศาสตร์ แห่งสถาบันวิจัย SRI International , CA และ Akihiro Yamanaka แห่งมหาวิทยาลัยนาโกย่าประเทศญี่ปุ่น ได้ทำการศึกษาว่า..
ในขณะที่เรากำลังเข้าสู่ภาวะการนอนในระยะหลับลึก (REM) ฮอร์โมเมลานินจะเข้าไปทำปฏิกิริยาลดการยับยั้งของเซลล์ประสาทฮิปโปแคมปัส (Hippocampus) ซึ่งเป็นเซลล์ประสาทสำคัญช่วยในการจัดวางความทรงจำระยะสั้นเข้าไปเก็บไว้ในระบบความทรงจำระยะยาว และเชื่อมต่อกับอารมณ์ความรู้สึกภายในจิตใจ ทำให้เวลาที่เราตื่นมานั้นภาพความฝันของเราทั้งหมดจะถูกลบหรือจำได้เลือนลางในบางเหตุการณ์เท่านั้น
ไม่อยากลืมความฝันควรทำอย่างไร ?
ในขณะที่เราฝันดีหากตื่นขึ้นมาแล้วต้องลืม คงเป็นที่น่าเสียดายโดยเฉพาะผู้ที่ฝันดีบ่อยๆ ช่วงเวลาที่ดีที่สุดในการจำความฝันคือ 90 วินาทีแรก หลังจากที่ตื่นขึ้นก่อนที่หน่วยความจำจะค่อยๆ จางหายไป เพราะเช่นนั้นคุณควรมีสมุดและปากกาไว้ข้างตัวก่อนนอนเพื่อจดบันทึกเรื่องราวไว้
นอกจากการจดบันทึกแล้วคุณสามารถบำรุงด้วยอาหารเสริมที่มีส่วนประกอบของวิตามินบี 6 ในวารสารชื่อดังกล่าวว่า ค้นพบผู้ที่ได้รับประทานวิตามินเสริม บี6 ก่อนนอน ทั้งหมด 100 คน จากการวิจัย มีแนวโน้มที่จะจำความฝันของพวกเขาได้ เมื่อเทียบกับบุคคลที่ไม่ได้บำรุง
ควรรับประทานวิตามินบี 6 ในปริมาณ 100 มิลลิกรัมต่อวัน ไม่ควรเกินกำหนดจากนี้ เพราะอาจส่งผลให้เกิดความเสียหายของเส้นประสาทหรือปัญหาทางระบบประสาท รวมถึงการสูญเสียการควบคุมแขน ขา และปัญหาเรื่องความสมดุล ควรได้รับการตรวจสอบร่างกาย เพื่อขอคำปรึกษาจากแพทย์ขก่อนเริ่มอาหารเสริมใด ๆ เสมอ
[embed-health-tool-bmi]