backup og meta

เตือนภัยนักสูบ! หากสูบบุหรี่จัด ระวังเสี่ยงเป็น โรคเบอร์เกอร์

เตือนภัยนักสูบ! หากสูบบุหรี่จัด ระวังเสี่ยงเป็น โรคเบอร์เกอร์

เป็นที่ทราบกันดีว่าโทษจากการสูบบุหรี่นั้นนอกจากจะส่งผลกระทบต่อสุขภาพร่างกายแล้ว ยังส่งผลกระทบต่อบุคคลรอบข้าง และคนที่คุณรักอีกด้วย บทความนี้  Hello คุณหมอ จึงพาทุกคนมาทำความรู้จักกับ โรคเบอร์เกอร์ ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่ของโรคดังกล่าวนี้มักเกิดขึ้นกับผู้ที่สูบบุหรี่จัด เรามาทำความรู้จักกับโรคเบอร์เกอร์ให้มากขึ้นกันค่ะ

ทำความรู้จักโรคเบอร์เกอร์ (Buerger’s Disease)

โรคเบอร์เกอร์ (Buerger’s Disease) เป็นโรคหายากที่เกิดจากความผิดปกติของหลอดเลือดแดงและหลอดเลือดดำบริเวณแขนและขา ทำให้หลอดเลือดอุดตัน เกิดการอักเสบและบวม อาการของโรคเบอร์เกอร์ในระยะแรกมักพบบริเวณมือและเท้า และอาจส่งผลต่อบริเวณแขนและขาด้วย

อย่างไรก็ตาม ในกรณีผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงอาจทำให้เนื้อเยื่อผิวหนังถูกทำลาย และอาจนำไปสู่การติดเชื้อและเนื้อเน่าเปื่อย

นักสูบจงระวัง! สูบบุหรี่จัด ระวังเสี่ยงเป็น โรคเบอร์เกอร์

ในปัจจุบันยังไม่มีการระบุสาเหตุของโรคเบอร์เกอร์อย่างแน่ชัด  แต่ได้มีข้อสันนิษฐานว่าการสูบบุหรี่เป็นปัจจัยเสี่ยงมากที่สุดต่อการเกิดโรคดังกล่าว (สารเคมีในบุหรี่อาจทำให้เกิดการระคายเคืองต่อเยื่อบุหลอดเลือด)  นอกจากการสูบบุหรี่แล้วยังมีปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ ที่อาจส่งผลต่อการเกิดโรค ดังนี้

  • โรคเหงือกเรื้อรัง การติดเชื้อในเหงือกระยะยาว อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคเบอร์เกอร์
  • เพศ พบได้บ่อยในเพศชายมากกว่าเพศหญิง
  • อายุ มักพบในผู้ที่มีอายุน้อยกว่า 45 ปี

5 สัญญาณอันตราย เข้าข่ายผู้ป่วย โรคเบอร์เกอร์

ผู้ป่วยโรคเบอร์เกอร์มีอาการแสดงปรากฏ ดังต่อไปนี้

  • รู้สึกเสียวซ่าหรือมีอาการชาบริเวณมือและเท้า
  • มือและเท้ามีสีซีดแดงหรือน้ำเงิน
  • มีอาการปวดบริเวณขาและเท้า หรือแขนและมือ
  • การอักเสบตามหลอดเลือดดำที่อยู่ใต้ผิว
  • นิ้วและเท้าซีดเมื่อสัมผัสกับความเย็น
  • มีบาดแผลเปิดบริเวณบนนิ้วมือและนิ้วเท้า

รักษา โรคเบอร์เกอร์ อย่างไร ปรึกษาคุณหมอได้

วิธีการรักษา ในส่วนของวิธีการรักษา ในเบื้องต้นแพทย์จะสอบถามประวัติและอาการของผู้ป่วย โดยส่วนใหญ่มีวิธีการรักษา ดังนี้

  • ยา เช่น ยาขยายหลอดเลือด หรือยาละลายลิ่มเลือด
  • การผ่าตัด แพทย์จะทำการผ่าตัดเส้นประสาทในบริเวณที่ผิดปกติ

 วิธีการป้องกัน โดยวิธีการป้องกันที่ดีที่สุดเพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบอร์เกอร์ คือการเลิกบุหรี่ แม้แต่การดูดบุหรี่เพียงไม่กี่มวนต่อวันก็อาจส่งผลให้สุขภาพแย่ลงกว่าเดิมได้  รวมถึงการออกกำลังกาย เช่น การเดินออกกำลังกาย การเคลื่อนไหวบริเวณแขนและขา

[embed-health-tool-bmi]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Buerger’s disease. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/buergers-disease/symptoms-causes/syc-20350658. Accessed on September 28, 2020.

Buerger’s Disease (Thromboangiitis Obliterans). https://www.webmd.com/a-to-z-guides/what-is-buergers-disease#1. Accessed on September 28, 2020.

Thromboangiitis Obliterans (Buerger Disease). https://emedicine.medscape.com/article/460027-overview. Accessed on September 28, 2020.

เวอร์ชันปัจจุบัน

06/10/2020

เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: Pattarapong Khuaphu


บทความที่เกี่ยวข้อง

สารพัด ปัญหาสุขภาพช่องปาก ที่มาจากการสูบบุหรี่

บุหรี่ไฟฟ้า ช่วยเลิกบุหรี่ ได้จริงหรือ


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์ · แก้ไขล่าสุด 06/10/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา