backup og meta

ความเชื่อผิดๆ เกี่ยวกับความเครียด เชื่อมาผิดๆ มารู้ความจริงกันใหม่ดีกว่า

ความเชื่อผิดๆ เกี่ยวกับความเครียด เชื่อมาผิดๆ มารู้ความจริงกันใหม่ดีกว่า

เวลาพูดถึงเรื่องของ “ความเครียด’ หลายคนก็จะมีมุมมองและความรู้สึกเกี่ยวกับความเครียดที่แตกต่างกันไป บางคนอาจมองว่าเป็นเรื่องเล็กน้อย เลิกใส่ใจก็สิ้นเรื่อง แต่สำหรับบางคนความเครียดอาจเป็นมากกว่าเรื่องเล็กน้อยในชีวิตและจำเป็นที่จะต้องก้าวผ่านไปให้ได้ บางคนเข้าใจความเครียดเป็นอย่างดี ขณะที่บางคนเข้าใจความเครียดผิดไปจากที่ควรจะเป็นอย่างมาก ดังนั้น วันนี้ Hello คุณหมอ จึงอยากนำเสนอ ความเชื่อผิดๆ เกี่ยวกับความเครียด แก่คุณผู้อ่าน มาดูกันว่าคุณเคยเข้าใจความเครียดผิดไปยังไงบ้าง

ความเชื่อผิดๆ เกี่ยวกับความเครียด มีอะไรบ้าง

  • ความเครียดของทุกคนเหมือนกัน

ความเครียด ของคนเราไม่เหมือนกัน เพราะเราต่างก็ได้รับประสบการณ์ในชีวิตที่แตกต่างกัน แม้จะมีเส้นเรื่องที่คล้ายกัน แต่ก็ยังถือว่ามีปัจจัยอื่น ๆ ที่แตกต่างกันอยู่ดี ขณะที่บางคนเครียดเรื่องงาน แต่อีกคนกลับจัดการกับการทำงานได้ดี บางคนเครียดเรื่องอาหาร ขณะที่บางคนไม่มีปัญหากับอาหารการกิน

ทั้งนี้เพราะเราทุกคนแตกต่างกัน ทั้งความคิด ความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์ และความเข้าใจในชีวิตของแต่ละคนก็แตกต่างกันด้วย

  • ความเครียดเกิดจากสถานการณ์ทำให้เครียด

แม้จะดูเหมือนเป็นเช่นนั้น แต่แท้จริงแล้วไม่ใช่เสียทีเดียว ความเครียด ไม่ได้เกิดจากสถานการณ์ แต่เกิดจากความคิดต่อสถานการณ์นั้นๆ ต่างหาก ที่ส่งผลให้เกิดความเครียดขึ้นมา สถานการณ์ไม่ได้สร้างความเครียดในตัวมันเอง แต่ปฏิกิริยา ความรู้สึก ความคิด และอารมณ์ของคนเราต่างหากที่เครียดไปกับสถานการณ์นั้น ๆ

  • ความเครียดเป็นแรงผลักดันที่ดี

ความเครียดและแรงผลักดันเป็นคนละเรื่องกัน จะใช้เหตุผลว่าเพราะเคยเครียดมาก่อนวันนี้จึงประสบความสำเร็จได้ แต่ในความเป็นจริงแล้ว ความเครียดจะลดประสิทธิภาพทั้งความรู้สึกนึกคิด พลังงานในการทำงาน เกิดความวิตกกังวล หงุดหงิด และลดศักยภาพในการทำงานลงด้วย

ดังนั้นแล้ว คนเราจึงประสบความสำเร็จด้วยแรงผลักดัน ไม่ใช่ประสบความสำเร็จเพราะความเครียด การจัดการกับความเครียดได้ดีต่างหากที่เป็นหนึ่งในแรงผลักดันให้ประสบความสำเร็จ

  • ความเครียดบางครั้งก็เป็นเรื่องที่ดี

จากผลการศึกษาพบว่าความครียดมีแนวโน้ม 75-90 เปอร์เซ็นต์ ที่จะนำไปสู่ปัญหาสุขภาพ ตั้งแต่อาการทั่วไป เช่น ปวดศีรษะ หงุดหงิด ขาดสติ ไปจนถึงอาการทางสุขภาพที่รุนแรง เช่น โรคเครียด ซึมเศร้า วิตกกังวล หรือปัญหาทางระบบประสาทและสมอง รวมถึงการเป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้เกิดการเสียชีวิตของประชากรโลกด้วย ดังนั้นแล้ว ความเครียด ไม่ใช่เรื่องที่ส่งผลดี จะเครียดมากหรือเครียดน้อย ก็ส่งผลต่ออาการทางสุขภาพทั้งสิ้น

  • ถ้าไม่เครียดชีวิตก็ขาดสีสัน

เมื่อตอนที่เป็นเด็ก หรือมองย้อนไปในวัยเด็ก เด็กก็ไม่ได้มี ความเครียด ในชีวิตมากมายเท่าไหร่นัก ดังนั้น เด็กจึงมีพลังงานอยู่ตลอดเวลา สนใจใคร่รู้สิ่งต่างๆ รอบตัวอยู่เสมอ นั่นเพราะเด็กไม่มีความเครียดมาเป็นอุปสรรคของการเรียนรู้ ขณะที่วัยผู้ใหญ่ที่ในแต่ละวันรายล้อมไปด้วยความเครียด จนไม่เหลือเวลาได้ทำในสิ่งที่ตนเองสนใจหรือต้องการจะทำ

ด้วยเหตุนี้ความเครียดจึงไม่ใช่เหตุผลของการขาดสีสันในชีวิตอย่างแน่นอน ความมีสีสันของชีวิต คือ การที่ได้ทำสิ่งต่าง ๆ ตามใจปรารถนา โดยไม่มีอุปสรรคใด  ๆ มาขัดขวางต่างหาก

  • วิธีที่ดีที่สุดในการจัดการความเครียดคือ ออกกำลังกาย และการพักผ่อน

วิธีเหล่านี้ เป็นหนึ่งในวิธีบรรเทาความเครียดเท่านั้น เพราะตราบใดที่ต้นตอสาเหตุของความเครียดยังไม่ได้หายไป ความเครียดก็ยังจะกลับมาได้อีก เพราะฉะนั้นต่อให้ออกกำลังกายทุกวัน แต่ถ้าปัญหาในชีวิตยังไม่ได้รับการแก้ไข การออกกำลังกายก็ไม่ได้ช่วยให้อะไรดีขึ้นมาได้ดังที่หวัง

  • ความเครียดไม่ใช่เรื่องใหญ่

นี่เป็นความเชื่อที่ผิดมหันต์ เพราะ ความเครียด สามารถส่งผลต่อชีวิตของคนๆ หนึ่ง ได้มากกว่าความรู้สึกไม่สบายใจ บางคนต้องเก็บงำความเครียดนั้นเป็นปีหรือหลายสิบปี จนกระทั่งต้องมีปัญหาสุขภาพจิต เสียโอกาสในชีวิตต่าง ๆ หรืออาจเครียดหนักจนมีผลต่อสุขภาพ ทั้งโรคซึมเศร้า อาการวิตกกังวล โรคหัวใจ หรือปัญหาทางสมอง ดังนั้นแล้ว ความเครียดสำหรับคน ๆ หนึ่ง ที่ยังหาทางออกของปัญหาไม่ได้ จึงถือว่าเป็นเรื่องใหญ่

  • ถ้าไม่มีอาการก็ไม่ถือว่าเครียด

แค่ไม่ได้แสดงอาการใด ๆ ออกมา ไม่ได้หมายความว่าไม่มีความเครียด บางคนอาจต้องรับประทานยาเพื่อที่จะได้สามารถระงับและควบคุมตนเองได้ หรือยังอยู่ในจุดที่ควบคุมตนเองได้ ทั้งนี้เพราะ ความเครียด ส่งผลกระทบทั้งด้านสภาพร่างกายและสภาพจิตใจ

แม้ส่วนใหญ่จะถูกมองว่าความเครียดมีผลแค่สภาพจิตใจเท่านั้น แต่ในความเป็นจริงแล้วความเครียดมีผลแสดงออกทางร่างกายได้เหมือนกัน เช่น วิงเวียนศีรษะ ปวดศีรษะ หายใจไม่ออก การเปลี่ยนแปลงของน้ำหนัก ปัญหาด้านการนอนหลับพักผ่อน โรคระบบทางเดินอาหาร เป็นต้น

  • ความเครียดไม่สามารถรักษาได้

ที่จริงแล้ว ความเครียด สามารถรักษาได้ แม้แต่คนที่มีปัญหาความเครียดเรื้อรัง ก็สามารถที่จะรักษาได้ เพียงแต่ต้องอาศัยระยะเวลา ต้องมีการจัดการกับต้นตอของปัญหา หรือบางคนอาจรักษาหายได้โดยการรับประทานยา การพบกับคุณหมอหรือการบำบัดกับจิตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

ดังนั้น ความเครียดจึงสามารถรักษาให้หายได้ ขึ้นอยู่กับกระบวนการที่เหมาะสมซึ่งจะแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล เพราะทุกคนไม่ได้มีความเครียดในเรื่องเดียวกัน

  • ความเครียดแก้ไขได้ง่าย ๆ ด้วยการมองข้าม

หากปัญหาไม่ได้รับการแก้ไข เราจะสามารถมองผ่านปัญหานั้นไปได้อย่างไร ความเชื่อที่ว่ามองข้ามมันไป อาจใช้ได้ในบางกรณีและใช้ได้ในบางคนเท่านั้น เพราะบางคนอาจมีปัญหาที่ใหญ่เกินกว่าจะเมินเฉยและปล่อยผ่านไปได้

ข้อแนะนำเพิ่มเติมเกี่ยวกับ การจัดการกับความเครียด

ปัญหาเรื่องความเครียด ส่งผลกระทบทั้งต่อสุขภาพกายและสุขภาพใจ จึงจำเป็นที่จะต้องมีการดูแลและทำความเข้าใจอย่างใกล้ชิด ถูกต้อง และเหมาะสม หากปัญหาความเครียดรุมเร้า ควรหาโอกาสไปพบกับคุณหมอหรือจิตแพทย์ที่เชี่ยวชาญ เพื่อจะได้เข้ารับการวินิจฉัยและทำการรักษาหรือเข้ารับการบำบัดอย่างถูกต้อง ก่อนที่ ความเครียด จะทำลายสุขภาพจนร้ายแรงและยากที่จะแก้ไข

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด 

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

12 Stress “Facts” Psychologists Need You to Stop Believing. https://www.thehealthy.com/mental-health/stress/stress-facts-stop-believing/. Accessed on April 30, 2020.

6 Stress Myths You Might Believe. https://www.premierhealth.com/your-health/articles/women-wisdom-wellness-/6-Stress-Myths-You-Might-Believe/. Accessed on April 30, 2020.

8 Deadly Myths About Stress. https://www.psychologytoday.com/us/blog/the-myth-stress/201005/8-deadly-myths-about-stress. Accessed on April 30, 2020.

เวอร์ชันปัจจุบัน

01/07/2020

เขียนโดย Khongrit Somchai

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: Pattarapong Khuaphu


บทความที่เกี่ยวข้อง

แพนิคคือ อะไร อาการเป็นแบบไหน รักษายังไง

ลดความเครียด ด้วยการล้างจาน งานบ้านง่ายๆ ที่อยู่คู่ทุกครัวเรือน


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย Khongrit Somchai · แก้ไขล่าสุด 01/07/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา