โทรศัพท์กลายเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ทุกคนต้องมี และเนื่องจากทุกอย่างสามารถทำได้ในโทรศัพท์ จึงทำให้คนจำนวนไม่น้อยเกิดอาการติดโทรศัพท์ บางคนถึงขั้นหงุดหงิด หรือวิตกกังวลเมื่อขาดโทรศัทพ์ไป มากกว่านั้นอาจกลายเป็นโรคโนโมโฟเบีย (Nomophobia) โรคที่หลายคนเป็นแต่ไม่รู้ตัว
โนโมโฟเบีย (Nomophobia) คืออะไร?
สำหรับคำว่าโนโมโฟเบีย (Nomophobia) มาจากคำศัพท์เต็มๆ ที่ว่า “no mobile phone phobia” ซึ่งเป็นคนที่ใช้อธิบายอาการของผู้ที่มีอาการทุกข์เมื่อต้องเผชิญหน้ากับความกลัวที่จะต้องไม่มีโทรศัพท์มือถือ สัญญาณโทรศัพท์ รวมถึงการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต ซึ่งอาการที่เกิดขึ้นนั้นสามารถทำให้ส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวัน งาน รวมถึงความสันพันธ์ต่างๆ ได้
ผลการศึกษาหลายชิ้นชี้ว่าโรคโนโมโฟเบียนี้กำลังแพร่หลายมากขึ้น จากข้อมูลการวิจัยที่เชื่อถือได้ของปี 2019 พบว่าเกือบร้อยละ 53 ของคนอังกฤษที่เป็นเจ้าของโทรศัพท์ตั้งแต่ปี 2008 จะใความรู้สึกกังวลเมื่อโทรศัพท์ของพวกเขาแบตเตอรี่หมด หรือไม่มีสัญญาณโทรศัพท์
ผู้ที่เป็นโนโมโฟเบีย อาจจะหลีกเลี่ยงการเดินทางไปยังพื้นที่ที่มีสัญญาณโทรศัพท์ที่ไม่ดี เหตุผลก็เพราะ เขากลัวที่จะถูกตัดจากการเชื่อมต่อ หรือบางคนอาจจะพลาดการเดินทางไปยังสถานที่บางแห่ง เพราะสถานที่แห่งนั้นเป็นสถานที่ที่ไม่มีที่ให้ชาร์ตแบตเตอรี่โทรศัพท์ นอกจากนั้นแล้วบางคนยังอาจจะชอบตื่นมากลางดึกหลายๆ ครั้ง เพื่อตรวจสอบว่าพวกเขายังมีการเชื่อมต่ออยู่หรือไม่ รวมถึงตรวจสอบการอัพเดตบนโซเชียลของตนเอง จนทำให้เกิดการนอนไม่หลับ ซึ่งอาจส่งผลร้ายตามมาก็เป็นได้
อาการที่บ่งบอกว่ากำลังเป็นโนโมโฟเบีย
หลังจากทำความรู้จักกับโนโมโฟเบียกันไปแล้ว คราวนี้ลองมาดูอาการที่อาจจะบ่งบอกได้ว่าคุณกำลังเป็นโนโมโฟเบียอยู่หรือไม่ โดยอาการนั้นแบ่งเป็นอาการทางอารมณ์ และอาการทางกายภาพ ดังนี้
อาการทางอารมณ์
- กังวลหรือตื่นตระหนก เมื่อคิดว่าจะไม่มีโทรศัพท์ใช้ หรือโทรศัพท์อาจใช้งานไม่ได้
- กังวลหรือรู้สึกปั่นป่วน หากต้องวางโทรศัพท์ลง หรือรู้ว่าจะไม่สามารถใช้งานโทรศัพท์ได้ในชั่วขณะหนึ่ง
- วิตกกังวลหรือตื่นตระหนก หากหาโทรศัพท์ไม่พบ
- เกิดความเครียด หรือวิตกกังวล เมื่อไม่สามารถตรวจสอบโทรศัพท์ได้
อาการทางกายภาย
- แน่นหน้าอก
- การหายใจผิดปกติ
- ตัวสั่น
- เหงื่อออกมากขึ้น
- รู้สึกหน้ามืด ตาลาย หรืองุนงง
- การเต้นของหัวใจเร็วขึ้น
เมื่อเป็นโนโมโฟเบียควรรักษาอย่างไร
สำหรับวิธีการรักษาที่ดีที่สุดเมื่อเป็นโนโมโฟเบียก็คือ การเอาชนะความกลัวที่เกิดขึ้น ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องที่ท้าทายเป็นอย่างมากของผู้ที่เป็นโนโมโฟเบีย การพัฒนาหรือฝึกฝนการเผชิญหน้ากับปัญหาด้วยตัวเองก็ถือเป็นเรื่องที่สำคัญ นอกจากนั้นแล้วการเล่นโยคะ การสร้างภาพเชิงบวก การทำสมาธิ ฟังเพลง หรือการเข้าร่วมการบำบัดกับกลุ่มบำบัด ก็ถือเป็นเรื่องที่ดี เนื่องจากช่วยบรรเทาความกลัวจากการไม่มีโทรศัพท์ได้ แต่หากมีอาการวิตกกังวลอย่างหนักร่วมด้วย อาจจะต้องมีการเข้าปรึกษากับผู้เชียวชาญ รวมถึงอาจจะต้องมีการใช้ยาคลายความวิตกกังวลร่วมด้วย