backup og meta

กินยาเกินขนาด ภัยอันตรายที่อาจคร่าชีวิต

กินยาเกินขนาด ภัยอันตรายที่อาจคร่าชีวิต

กินยาเกินขนาด (Drug Overdose) อาจเกิดจากอุบัติเหตุ รวมถึงการทำลงไปโดยเจตนา การกินยาเกินขนาด คือ การบริโภคยามากเกินกว่าที่แพทย์กำหนด เมื่อกินเข้าไปแล้วอาจส่งผลเสียต่อสุขภาพ รวมไปถึงอาจทำให้ถึงขั้นเสียชีวิต ดังนั้นเรื่องของการกินยาเกินขนาด จึงเป็นเรื่องสำคัญที่ควรศึกษาและทำความเข้าใจให้ถูกต้อง

[embed-health-tool-heart-rate]

สาเหตุของการ กินยาเกินขนาด

สาเหตุของการกินยาเกินขนาด (Drug Overdose) อาจเกิดขึ้นโดยไม่ได้ตั้งใจ หรือมาจากการยาใช้ในทางที่ผิด การกินยาเกินขนาดโดยอุบัติเหตุมักเกิดขึ้นกับเด็กเล็ก ผู้ที่มีอาการบกพร่องทางจิต หรือผู้ที่ต้องกินยาหลายชนิด การกินยาเกินขนาดจะส่งผลให้เมตาบอลิซึมไม่สามารถล้างพิษยาได้อย่างรวดเร็ว ทำให้เกิดผลข้างเคียงที่ไม่ได้ตั้งใจตามมา ซึ่งผลของแต่ละคนจะแตกต่างกันออกไป

การกินยาเกินขนาดในเด็กเล็กอาจเกิดขึ้นโดยความบังเอิญ ความอยากรู้อยากเห็น เด็กที่มีอายุระหว่าง 6 เดือนถึง 3 ปี มักมีพฤติกรรมหยิบทุกสิ่งที่พบใส่เข้าปาก ส่วนในเด็กวัยหัดเดิน มักมีนิสัยชอบแบ่งปัน ดังนั้นเมื่อพวกเขาพบยาจึงเป็นไปได้ว่าอาจแบ่งยาที่พบให้กับเด็กคนอื่น ๆ ซึ่งอาจทำให้เกิดการกินยาเกินขนาดโดยไม่ได้ตั้งใจ ส่วนวัยรุ่นและผู้ใหญ่อาจมีแนวโน้มที่จะใช้ยาเกินขนาด 1 ชนิดหรือมากกว่านั้น เพื่อป้องกันตัวเอง พยายามทำร้ายตัวเอง รวมถึงพยายามฆ่าตัวตาย ดังนั้นผู้ที่ใช้ยาเกินขนาดในกลุ่มนี้ จึงมักจะประสบกับปัญหาสุขภาพจิต ซึ่งต้องได้รับการวินิฉัยจากคุณหมอเฉพาะทาง

กินยาเกินขนาด อาการ เป็นอย่างไร

สำหรับสัญญาณและอาการที่เกิดขึ้นเมื่อกินยาเกินขนาด มีดังนี้

  • ปัญหาเกี่ยวกับสัญญาณชีพ เช่น อุณหภูมิ อัตราชีพจร อัตราการหายใจ ความดันโลหิต ซึ่งสามารถบ่งบอกอาการผิดปกติของร่างกาย รวมถึงอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้
  • ง่วงนอน สับสน รวมถึงอาจอาการหนักถึงขั้นโคม่า และอาจเป็นอันตรายได้หากมีการสำลักเกิดขึ้น
  • ผิวหนังเย็นและขับเหงื่อออกมา หรือร้อนและแห้ง
  • เกิดอาการชัก
  • มีอาการเจ็บหน้าอก ซึ่งอาจมีผลมาจากหัวใจหรือปอดเสียหาย
  • หายใจถี่
  • ปวดท้อง
  • คลื่นไส้และอาเจียน
  • ท้องเสีย
  • อาเจียนเป็นเลือด
  • มีการเคลื่อนไหวของลำไส้ ซึ่งอาจเป็นอันตรายถึงชีวิต
  • ยาบางชนิดสามารถทำลายอวัยวะเฉพาะส่วนได้

วิธีการรักษาการกินยาเกินขนาด

สำหรับขั้นตอนการรักษาเมื่อได้รับยาเกินขนาด มีดังนี้

  • ล้างท้องเพื่อกำจัดยาที่ไม่ได้ถูกดูดซับออกจากกระเพาะอาหาร
  • ใช้ถ่านกัมมันต์ (Activated Charcoal) ลดปริมาณยาที่ถูกดูดซึมเข้าไปในกระแสเลือด โดยยาที่ถูกถ่านกัมมันต์ดูดซับไว้จะถูกขับออกมาเป็นอุจจาระ
  • ผู้ที่มีอาการรุนแรงอาจได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดจากคุณหมอในแผนกฉุกเฉิน ซึ่งผู้ที่กินยาเกินขนาดอาจจะต้องใส่ท่อช่วยหายใจ เพื่อปกป้องปอด หรือช่วยให้หายใจในระหว่างกระบวนการล้างพิษ
  • อาจต้องให้ยาอื่นเพื่อใช้เป็นยาแก้พิษ โดยทั้งหมดจะขึ้นอยู่กับดุลพินิจของคุณหมอ

สำหรับวิธีป้องกันการกินยาเกินขนาดที่ดีที่สุด คือ ผู้ปกครองควรเก็บยาตามใบสั่งจากคุณหมอให้ห่างจากเด็กเล็ก เด็กวัยรุ่น และสัตว์เลี้ยง นอกจากนั้นหากมีภาวะเครียด ซึมเศร้า หรือวิตกกังวล ควรได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิด รวมถึงการไปปรึกษาคุณหมอเฉพาะทาง และเข้ารับการบำบัดอย่างถูกวิธี

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Drug Overdose. https://www.webmd.com/mental-health/addiction/drug-overdose#1. Accessed December 6, 2019

Drug Overdose. https://www.emedicinehealth.com/drug_overdose/article_em.htm#what_is_a_drug_overdose. Accessed December 6, 2019

Drug Overdose Deaths. https://www.cdc.gov/drugoverdose/deaths/index.html. Accessed January 25, 2022

Overdose. https://americanaddictioncenters.org/overdose. Accessed January 25, 2022

Overdose Death Rates. https://www.drugabuse.gov/drug-topics/trends-statistics/overdose-death-rates. Accessed January 25, 2022

Drug Overdose. https://drugpolicy.org/issues/drug-overdose. Accessed January 25, 2022

เวอร์ชันปัจจุบัน

19/09/2023

เขียนโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย พลอย วงษ์วิไล

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล


บทความที่เกี่ยวข้อง

ซึมเศร้าระหว่างตั้งครรภ์ มีสัญญาณและอาการอย่างไร

ภาวะวิตกกังวล หลังการสูญเสีย อาจส่งผลกระทบต่อชีวิตและจิตใจมากกว่าที่คิด


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

พลอย วงษ์วิไล


เขียนโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย · แก้ไขล่าสุด 19/09/2023

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา