backup og meta

Stockholm Syndrome

Stockholm Syndrome

หากผู้หญิงหรือใครสักคนถูกลักพาตัว ข่มขืน กังขังหน่วงเหนี่ยว ย่อมส่งผลร้ายและกระทบกระเทือนจิตใจจนนำไปสู่ภาวะและปัญหาด้านจิตใจที่ร้ายแรงได้ แต่มีภาวะทางจิตรูปแบบหนึ่งที่เป็นไปในทางตรงกันข้าม นั่นคืออาการ Stockholm Syndrome หรือสตอกโฮล์ม ซินโดรม ซึ่งเป็นอาการที่ตัวประกันหรือผู้ถูกกระทำรู้สึกดีต่อผู้ร้ายหรือต่อผู้ที่ลงมือกระทำ

 Stockholm Syndrome คืออะไร

Stockholm Syndrome เป็นชื่อของอาการที่นักจิตวิทยาใช้ในการอธิบายลักษณะทางจิตวิทยารูปแบบหนึ่ง ที่เกิดขึ้นครั้งแรกจากเหตุการณ์ปล้นธนาคารที่เมืองสตอกโฮล์มในปี 1973 โดยชายสองคนจับพนักงานธนาคาร 4 คนเป็นตัวประกันในห้องนิรภัยของธนาคาร โดยใช้อาวุธปืนข่มขู่เป็นระยะเวลา 6 วัน โดยเมื่อเหตุการณ์จบลง ผู้ที่ตกเป็นเหยื่อก็ดูเหมือนจะมีความรู้สึกในเชิงบวกและะมีความเห็นอกเห็นใจต่อคนร้าย

มันเป็นการยากที่จะเข้าใจได้ว่าเหตุใดตัวประกันถึงมีความรู้สึกแบบนั้น หลังจากได้ผ่านเหตุการณ์ที่น่ากลัวและถูกคุกคามถึงชีวิต นักจิตวิทยาพบว่า ปรากฎการณ์เช่นนี้ จะมีโอกาสเกิดขึ้นได้ยาก และอาจเกิดขึ้นได้ในลัทธิต่างๆ หรือเกิดขึ้นได้ในเหยื่อของความรุนแรงในครอบครัวด้วยเช่นกัน หนึ่งในตัวอย่างที่โด่งดังของอาการ Stockholm Syndrome คือ Patty Hearst ที่ถูกลักพาตัวโดยกลุ่มก่อการร้ายในปี 1974 โดยในภายหลัง Patty รู้สึกเห็นอกเห็นใจกลุ่มผู้ก่อการร้ายจนถึงขั้นสนับสนุนและร่วมกระทำความผิดไปกับกลุ่มนั้นด้วย

อาการของ Stockholm Syndrome

อาการของ Stockholm Syndrome สามารถแบ่งได้เป็น 3 ช่วงเหตุการณ์

  • เหยื่อเริ่มพัฒนาความรู้สึกในเชิงบวกต่อบุคคลที่จับพวกเขาเป็นตัวประกันหรือบุคคลที่ทำร้ายพวกเขา
  • เหยื่อเริ่มพัฒนาความรู้สึกในเชิงลบต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจหรือใครก็ตามที่อาจจะพยายามช่วยพวกเขาให้หลุดพ้นจากสถานการณ์นั้นๆ โดยที่พวกเขาอาจเริ่มที่จะไม่ต่อต้านผู้ที่จับกุมพวกเขาอยู่
  • เหยื่อเริ่มมีความเข้าใจ เห็นอกเห็นใจ และมีความเชื่อเช่นเดียวกันกับผู้จับกุม

โดยที่เหยื่อมักจะรู้สึกถูกคุกคามจากผู้จับกุม แต่ในขณะเดียวกันก็รู้สึกว่าพวกเขาต้องพึ่งพาผู้จับกุมเพื่อการอยู่รอดของตัวเหยื่อเอง เมื่อผู้จับกุมแสดงพฤติกรรมที่ดีหรือแสดงความเมตตาต่อเหยื่อ พวกเขาอาจเริ่มมีความรู้สึกที่ดีและมีความเห็นอกเห็นใจต่อผู้จับกุม ความรู้สึกเช่นนี้ก็จะถูกพัฒนามากขึ้นเรื่อยๆ เมื่อระยะเวลาผ่านไป

อะไรทำให้เหยื่อมีอาการ Stockholm Syndrome

ในปัจจุบันสาเหตุของการเกิด Stockholm Syndrome ยังไม่แน่ชัด แต่ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิต ได้อธิบายว่า เป็นกลไกในการป้องกันและเป็นวิธีการรับมือของเหยื่อ เมื่อต้องเผชิญกับการละเมิดทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ  เพื่อที่จะสามารถเอาชีวิตรอดและรับมือกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ซึ่งจะรู้สึกในเชิงบวกต่อผู้ร้ายมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับสถานการณ์ที่เหยื่อต้องเผชิญ

 

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Source

What Is Stockholm Syndrome?

https://www.livescience.com/65817-stockholm-syndrome.html. Accessed September 26, 2021.

Stockholm Syndrome

https://www.goodtherapy.org/blog/psychpedia/stockholm-syndrome. Accessed September 26, 2021.

What Is Stockholm Syndrome?.

https://www.webmd.com/mental-health/what-is-stockholm-syndrome#:~:text=Stockholm%20syndrome%20is%20an%20emotional,toward%20an%20abuser%20or%20captor. Accessed September 26, 2021.

 

What is Stockholm syndrome?.

https://www.medicalnewstoday.com/articles/stockholm-syndrome. Accessed September 26, 2021.

The Stockholm syndrome. On the psychological reaction of hostages and hostage-takers.

https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/3662732/. Accessed September 26, 2021.

เวอร์ชันปัจจุบัน

06/10/2021

เขียนโดย ทีม Hello คุณหมอ

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย Duangkamon Junnet

อัปเดตโดย: Duangkamon Junnet


บทความที่เกี่ยวข้อง

วิกฤตวัยกลางคน แค่สภาวะทางอารมณ์ หรือจุดเริ่มต้นของปัญหาสุขภาพจิต

มาร์แฟนซินโดรม (Marfan Syndrome)


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

Duangkamon Junnet


เขียนโดย ทีม Hello คุณหมอ · แก้ไขล่าสุด 06/10/2021

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา