backup og meta

โรคกลัวที่แคบ สาเหตุ อาการ และการรักษา

โรคกลัวที่แคบ สาเหตุ อาการ และการรักษา

ทุกคนล้วนมีความกลัวอยู่ภายในจิตใจที่เก็บเป็นความลับเอาไว้ สำหรับบางคนอาจกลัวความมืดจนต้องเปิดไฟทั้งวันทั้งคืน บางคนมีอาการกลัวรูเพียงแค่เห็นภาพก็ชวนขนลุก รวมถึง โรคกลัวที่แคบ นี้ด้วย โรคเหล่านี้หลายคนอาจไม่ให้ความสำคัญทั้งที่จริงแล้วสามารถส่งผลกระทบต่อชีวิตในด้านอื่นๆ ได้ด้วย ควรหาวิธีรับมือกับโรครวมทั้งรักษาให้หายขาดเพื่อสุขภาพชีวิตที่ดี

[embed-health-tool-bmi]

โรคกลัวที่แคบ (Claustrophobia) คือ

โรคกลัวที่แคบ (Claustrophobia)  คือ กลุ่มอาการวิตกกังวลผิดปกติ เป็นโรคเฉพาะเจาะจงรายบุคคล เมื่อตกอยู่ในสถานการณ์ที่ถูกให้อยู่คนเดียวในบริเวณที่ปิดล้อม และในพื้นที่แออัด เช่น ห้องสี่เหลี่ยมเล็กๆ หรืออยู่ในลิฟต์ที่เต็มไปด้วยคนเยอะๆ ซึ่งส่งผลให้รู้สึกไม่สบายใจ หายใจไม่สะดวก หรือเริ่มมีอาการหงุดหงิด เมื่อต้องตกอยู่ในสถานการณ์ที่เลี่ยงไม่ได้

สาเหตุที่ทำให้เป็นโรคกลัวที่แคบ 

สาเหตุสำคัญของการเป็นโรคกลัวที่แคบอาจเกี่ยวข้องกับความผิดปกติของ อะมิกดะลา (Amygdala) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสมองที่ควบคุมความรู้สึกกลัวหวาดระแวง และอาจเกี่ยวข้องกับความทรงจำในอดีตที่ทำให้สะเทือนต่อจิตใจ

บางครั้งความกลัวที่แคบสามารถเริ่มต้นได้จากเหตุการณ์ในวัยเด็กที่ทำให้ฝังใจ เนื่องจากตอเยาว์วัยจิตใจของเด็กนั้นค่อนข้างอ่อนไหวง่ายต่อสิ่งรอบข้าง เช่น

  • การถูกกลั่นแกล้ง
  • การถูกกักขัง
  • อุบัติเหตุที่ทำให้จำเป็นต้องติดในที่แคบแห่งนั้น เช่น ลิฟต์ค้าง

และยังส่งผลให้รู้สึกกลัวบริเวณที่มีพื้นที่จำกัดเมื่อพบเห็น ไม่ว่าจะเป็น ลิฟต์ อุโมงค์ ตู้เสื้อผ้า รถไฟได้ดิน ห้องเล็กๆ เป็นต้น

อาการที่บ่งบอกว่าเป็นโรคกลัวที่แคบ

  • เหงื่อออก ตัวสั่น
  • อัตราการเต้นของหัวใจแรงขึ้น
  • ความดันโลหิตสูง
  • วิงเวียนศีรษะและมึนหัว
  • ริมฝีปากซีดแห้ง
  • แน่นหน้าอกหายใจไม่สะดวก
  • ท้องไส้ปั่นป่วน

อาการข้างต้นสามารถหายเองได้ ภายใน 5-30 นาที หัดสังเกตอาการของตนเองให้ถี่ถ้วนว่าอยู่ในภาวะที่รุนแรงหรือไม่ เพื่อรับการรักษาได้ทันท่วงที

วิธีรักษาให้หายขาดจากโรคกลัวที่แคบ

  • เข้ารับการรักษาด้วยการบำบัดจิตใจที่ผิดปกติ (CBT) : นักจิตวิทยาจะสอนให้รู้จักควบคุมอารมณ์ความรู้สึกและเปลี่ยนวิธีการคิดให้จากลบเป็นบวก การบำบัดนี้ยังเหมาะกับผู้ที่มีภาวะซึมเศร้าอีกด้วย
  • การบำบัดเชิงอารมณ์ด้วยเหตุและผล (REBT) : เป็นการบำบัดควบคู่กับ (CBT) ตามโปรแกรมการบำบัดของนักจิตวิทยา
  • ผ่อนคลายผ่านการมองเห็น : หารูปภาพหรือออกไปอยู่ในพื้นที่ที่ทำให้รู้สึกผ่อนคลาย เพื่อฟื้นฟูสภาพจิตใจ เช่น การมองรูปภาพหรือมองออกข้างนอกที่มีวิวทิวทัศน์กว้างขวาง
  • การรับประทานยาตามที่จำหน่ายโดยแพทย์ : ยาแก้โรคซึมเศร้า

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

What’s to know about claustrophobia? https://www.medicalnewstoday.com/articles/37062.php. Accessed September 26, 2021.

Claustrophobia. https://www.webmd.com/anxiety-panic/claustrophobia-overview#1. Accessed September 26, 2021.

What Is Claustrophobia?.

https://www.verywellmind.com/claustrophobia-2671681. Accessed September 26, 2021.

Learn To Overcome The Effects Of Claustrophobia. https://www.everydayhealth.com/emotional-health/learn-overcome-effects-claustrophobia/. Accessed September 26, 2021.

Claustrophobia. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK542327/. Accessed September 26, 2021.

เวอร์ชันปัจจุบัน

13/09/2023

เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย พลอย วงษ์วิไล

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล


บทความที่เกี่ยวข้อง

หนทางไกลแค่ไหนไม่หวั่น ขอแค่ไม่ขึ้นเครื่อง เพราะฉันเป็น โรคกลัวเครื่องบิน

ข้อดี ข้อเสีย ของการเยียวยาจิตใจด้วย การบำบัดทางความคิดและพฤติกรรม


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

พลอย วงษ์วิไล


เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 13/09/2023

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา