backup og meta

โรคกลัวรู (Trypophobia) ขนลุกแบบขำๆ หรืออันตรายที่ต้องระวัง

โรคกลัวรู (Trypophobia) ขนลุกแบบขำๆ หรืออันตรายที่ต้องระวัง
โรคกลัวรู (Trypophobia) ขนลุกแบบขำๆ หรืออันตรายที่ต้องระวัง

หลายคนคงจะเคยเห็นภาพรูเล็กๆ ที่เรียงต่อกันหลายๆ รู ผ่านสายตากันมาบ้าง หลังจากเห็นภาพรูมากมายเหล่านั้นแล้ว คุณรู้สึกอย่างไร? รู้สึกขนลุกซู่ ขยะแขยง หรือรังเกียจหรือไม่? ถ้าหากคุณมีปฏิกิริยากับภาพรูเล็กๆ เหล่านั้น ไม่แน่ว่า คุณอาจจะกำลังเป็น โรคกลัวรู อยู่ก็เป็นได้ มาทำความรู้จักกับโรคกลัวรูให้มากขึ้นกับบทความนี้จาก Hello คุณหมอ กันค่ะ

รู้จักกับ โรคกลัวรู (Trypophobia) 

เชื่อว่าไม่ใช่แค่เพียงคุณที่กำลังอ่านบทความนี้แล้วรู้สึกว่าตนเองมีอาการหวาดกลัว ขนลุก ขยะแขยงทุกครั้งที่เห็นภาพรูเล็กๆ เช่น ภาพฝักบัว รังผึ้ง หรือภาพวงกลมเล็กๆ หลายๆ วงเรียงต่อกัน ยังมีอีกหลายคนที่มีอาการเช่นเดียวกันกับที่คุณกำลังเป็นอยู่ อาการนั้นเรียกว่า โรคกลัวรู หรือ Trypophobia โดยคำว่า “Trypophobia’ ได้เกิดขึ้นในสื่อเว็บไซต์ต่างๆ เมื่อปี 2005 ก่อนที่จะกลายมาเป็นกระแสไวรัลไปทั่วทั้งอินเทอร์เน็ตจนกระทั่งปัจจุบัน

โรคกลัวรู คือ การที่บุคคลหนึ่งมีความรู้สึกรังเกียจและกลัวต่อรูเล็ก ๆ ที่เรียงติดกัน บุคคลนั้นจะรู้สึกอีดอัด ไม่สบายกาย ไม่สบายใจ หากจะต้องจ้องมองไปยังรูหรือหลุมเล็ก ๆ ที่เรียงติดกันเหล่านั้น

อย่างไรก็ตาม โรคกลัวรูก็ยังไม่ได้รับการระบุว่าเป็นความผิดปกติของโรค หรือความผิดปกติทางสุขภาพจิตแต่อย่างใด เนื่องจากข้อจำกัดในการวิจัย และข้อมูลที่ยังไม่เพียงพอ

สมาคมจิตวิทยาแห่งสหรัฐอเมริกา (American Psychological Association) หรือ APA ยังไม่มีการรับรองโรคกลัวรู หรือ Trypophobia ว่าเป็นความผิดปกติตามเกณฑ์คู่มือการวินิจฉัยโรคทางจิตเวชฉบับล่าสุดของสมาคมจิตแพทย์อเมริกัน (Diagnostic and Statistical Manual of Mental Disorders, 5th edition) หรือ DSM-5 ด้วยเหตุนี้ผู้เชี่ยวชาญจึงจัดว่าโรคกลัวรู เป็นเพียงความรู้สึกรังเกียจ ซึ่งเป็นความรังเกียจที่มากกว่าความกลัวโดยทั่วไป 

สาเหตุของโรคกลัวรู

ความรู้สึกกลัวรูนั้น มาจากการที่ได้รับแรงกระตุ้น ซึ่งโดยส่วนมากมักจะเป็นแรงกระตุ้นจากการที่ได้เห็นภาพรูเล็ก ๆ เช่น

  • ภาพฟองน้ำ
  • ภาพฟองสบู่
  • ภาพปะการัง
  • ภาพฟองน้ำทะเล
  • ภาพรวงผึ้ง
  • ภาพกระบวนการควบแน่นของน้ำ
  • ภาพฝักเมล็ดบัว
  • ภาพสตรอว์เบอร์รี่
  • ภาพเม็ดของผลทับทิม
  • ภาพฟองเล็กๆ ติดกัน
  • ภาพกลุ่มดวงตาของแมลง

อาการของโรคกลัวรู

หลังจากเห็นภาพดังที่กล่าวไปข้างต้น ผู้ที่เห็นภาพจะมีอาการดังต่อไปนี้

  • มีความรู้สึกรังเกียจ หรือรู้สึกกลัว
  • รู้สึกไม่สบายตัว
  • รู้สึกเหมือนมีอะไรคลานยุบยับอยู่ในผิว
  • ขนลุก
  • มีอาการคันผิวหนัง
  • เหงื่อออกมาก
  • ตื่นตระหนก

รับมือกับโรคกลัวรูอย่างไร

เนื่องจากโรคกลัวรูยังไม่ถูกระบุว่าเป็นความผิดปกติในทางใด จึงยังไม่มีวิธีรักษาที่แท้จริงออกมาในขณะนี้ แต่จากการศึกษาบางชิ้นพบว่า มีการใช้ยารักษาโรคซึมเศร้าอย่างยาเซอร์ทราลีน (Sertraline) รวมถึงมีการใช้วิธีการบำบัดด้วยการพูดคุย หรือที่เรียกว่า Cognitive Behavioral Therapy หรือ CBT ซึ่งเป็นการบําบัดทางความคิดและพฤติกรรม โดยกระบวนการ CBT จะพยายามเปลี่ยนความคิดในแง่ลบอันเนื่องมาจากความกลัวและความเครียด

เมื่อไหร่ควรไปพบคุณหมอ

ปัจจุบันโรคกลัวรู หรือ Trypophobia ยังไม่ถูกจัดไว้ในความผิดปกติใดๆ และยังคงถูกมองว่าเป็นเพียงความเกลียด กลัว ที่เหมือนกับเวลาที่เรากลัวเชื้อโรค เกลียดสัตว์เลื้อยคลาน หรือกลัวแมลงต่างๆ เท่านั้น หากคุณรู้สึกว่าคุณมีลักษณะอาการที่มีความผิดปกติที่รุนแรงมากกว่าที่ได้กล่าวไป ควรที่จะหาเวลาไปปรึกษากับแพทย์หรือจิตแพทย์

หากคุณมีอาการ หรือมีปฏิกิริยากับภาพที่รูในรูปแบบต่างๆ ที่สามารถเป็นแรงกระตุ้นให้เกิดความไม่สบายเนื้อไม่สบายตัว ควรหลีกเลี่ยงการพบเห็นภาพเหล่านั้นให้มากที่สุด และควรแจ้งให้ผู้ที่อยู่ใกล้ชิดทราบว่าสิ่งใดที่คุณไม่ปรารถนาจะพบเห็น หรือถ้าหากพบเจอภาพดังกล่าวบนหน้าฟีดของสื่อโซเชียลมีเดีย ควรกดลบ หรือกดรายงานปัญหาไปยังผู้พัฒนาแอปพลิเคชันนั้น

อย่างไรก็ตามในปัจจุบันนี้ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญเองก็ยังไม่พบวิธีใดที่จะนำมาใช้ในการทดสอบอาการของโรคกลัวรูได้ แต่แพทย์หรือนักจิตวิทยาจะสอบถามถึงลักษณะอาการและผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันของคุณ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรค และการรักษาโรคแต่อย่างใด

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

What Is Trypophobia?. https://www.webmd.com/anxiety-panic/trypophobia-overview#1. Accessed November 22, 2019

Everything You Should Know About Trypophobia. https://www.healthline.com/health/trypophobia. Accessed November 22, 2019

If This Photo Disgusts You, You May Have Trypophobia. https://www.nationalgeographic.com/news/2017/07/trypophobia-fear-of-holes-study-spd/. Accessed November 22, 2019

Is trypophobia real?. https://www.medicalnewstoday.com/articles/320512.php. Accessed November 22, 2019

เวอร์ชันปัจจุบัน

29/05/2020

เขียนโดย Khongrit Somchai

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: Nattrakamol Chotevichean


บทความที่เกี่ยวข้อง

โรคกลัวสังคม คุณพ่อคุณแม่ควรรับมืออย่างไร

วิธีการรับมือเมื่อเด็กกลัวความมืด


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย Khongrit Somchai · แก้ไขล่าสุด 29/05/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา