backup og meta

ความวิตกกังวลกับปัญหาการนอนหลับ เกี่ยวข้องกันอย่างไร

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ชลธิชา จันทร์วิบูลย์ · แก้ไขล่าสุด 14/09/2020

    ความวิตกกังวลกับปัญหาการนอนหลับ เกี่ยวข้องกันอย่างไร

    ความเครียดและความวิตกกังวล อาจทำให้เกิดปัญหาในการนอนหลับ หรือทำให้อาการนอนหลับที่เป็นอยู่แล้วนั้นแย่ลงได้ ซึ่งปัญหาในการนอนหลับนั้น จะยิ่งทำให้โรควิตกกังวลนั้นรุนแรงขึ้นได้ บางครั้งปัญหาในการนอนหลับ ก็เป็นต้นเหตุให้เกิดความเครียด ความวิตกกังวลกับปัญหาการนอนหลับ มีความเกี่ยวข้องกันอย่างไร วันนี้ Hello คุณหมอ มีข้อมูลที่น่าสนใจมาให้อ่านกันค่ะ

    ความวิตกกังวลกับปัญหาการนอนหลับ มีความเกี่ยวข้องกันอย่างไร

    ปัญหาความวิตกกังวลที่เกิดขึ้นเป็นครั้งคราวนั้น ถือเป็นเรื่องปกติ แต่ความกังวลที่ไม่สามารถจัดการได้ อาจพัฒนากลายไปเป็น โรควิตกกังวล ซึ่งเป็นปัญหาสุขภาพจิตที่พบได้บ่อย

    ความวิตกกังวลนั้น อาจถูกกระตุ้นได้จากปัจจัยหลายอย่าง ซึ่งจะแตกต่างกันออกไปในแต่ละคน ไม่ว่าจะเป็นความกลัวเมื่อต้องตกอยู่ในเหตุการณ์อันตราย ต้องเผชิญหน้ากับสิ่งที่กลัว หรือตกอยู่ในสถานการณ์ที่มีความท้าทาย ซึ่งความวิตกกังวลเหล่านี้ อาจส่งผลต่อร่างกาย ทำให้เราตัวสั่น ใจสั่น เหงื่อออกได้ นอกจากนี้ความวิตกกังวล ยังทำให้เกิดปัญหาในการนอนไม่หลับอีกด้วย เมื่อความวิตกกังวลเข้าโจมตีเราเมื่อไร สมองก็มักจะคิดถึงแต่เรื่องที่ทำให้เกิดความกังวลอยู่อย่างนั้นนั้นซ้ำๆ จนอ่อนเพลีย และยากที่จะหลับลง

    ผู้ที่มีอาการนอนไม่หลับอยู่แล้ว เมื่อมีเรื่องให้ต้องกังวล ก็จะยิ่งทำให้อาการทั้งสองอย่างนั้นแย่ลง การนอนหลับถือเป็นช่วงที่ร่างกายได้พักผ่อน ฟื้นฟูร่างกายและจิตใจและรักษาพลังงาน แต่เมื่อความวิตกกังวลยังคงตามหลอกหลอนแม้ยามจะนอน จนร่างกายไม่ได้พักผ่อนอาจส่งผลต่อร่างกายได้ สรุปได้ว่า การนอนไม่หลับอาจทำให้มีความวิตกกังวลเพิ่มขึ้น และความวิตกกังวลอาจทำให้นอนไม่หลับ ซึ่งทั้งสองอย่างนั้นมีความเกี่ยวข้องกัน อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

    เคล็ดลับที่ช่วยให้คุณหลับง่ายขึ้น ในยามที่ตกอยู่ในความกังวล

    นอกเหนือจากการเข้ารับการรักษาอาการวิตกกังวลและอาการนอนไม่หลับกับคุณหมอแล้ว ยังมีเคล็ดลับที่ช่วยให้การหลับของคุณนั้นง่ายขึ้น ดังนี้

    • งดการงีบตอนกลางวัน
    • งดการรับประทานอาหารมื้อดึก
    • หลีกเลี่ยงการออกกำลังกายอย่างหนัก ก่อนเวลานอน เพราะจะยิ่งทำให้คุณนั้นหลับได้ยาก
    • ไม่ดูทีวีบนเตียง
    • ลดเสียงและเสียงในห้องนอน
    • เข้านอนในเวลาเดิม ๆ ทุกวัน เพื่อให้ร่างกายชินกับเวลานอน และจะทำให้นอนได้ง่ายขึ้น
    • งดแอลกอฮอล์และคาเฟอีน
    • ตั้งอุณหภูมิห้องให้มีความเหมาะสม สบายตัว

    หากคุณต้องตกอยู่ในความวิตกกังวลและโรคนอนไม่หลับ อย่างต่อเนื่อง จนปัญหาทั้งสองอย่างนี้ส่งผลต่อสุขภาพของคุณ ทำให้คุณอ่อนเพลีย ไม่มีสมาธิในการทำงาน ง่วงนอนระหว่างวัน หรือไม่สามารถทำกิจกรรมระหว่างวันได้อย่างเต็มที่ คุณควรจะต้องเข้ารับการปรึกษาแพทย์ เพื่อหาทางในการรักษา ทั้งปัญหาในการนอนหลับและปัญหาความวิตกกังวล โดยแพทย์จะมีการรักษาที่แตกต่างกันออกไป บางคนใช้วิธีการบำบัดด้วยการพูดคุย บางครั้งอาจจะได้ยารับประทาน หากการรักษาอาการนอนหลับจนดีขึ้น อาจทำให้โรควิตกกังวลของคุณนั้นดีขึ้นด้วย

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    ทีม Hello คุณหมอ


    เขียนโดย ชลธิชา จันทร์วิบูลย์ · แก้ไขล่าสุด 14/09/2020

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา