backup og meta

รู้หรือไม่! การ กลั้นจาม อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพได้

รู้หรือไม่! การ กลั้นจาม อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพได้

เวลาออกไปข้างนอก หลายคนไม่ค่อยกล้าที่จะไอหรือจามออกมาดัง ๆ เพราะกลัวว่าคนอื่นจะรังเกียจ กลัวว่าเราติดเชื้อหรือป่วยเป็นโรคอะไรหรือเปล่า จึงต้องพยายามกลั้นไอและกลั้นจามอย่างสุดฤทธิ์ แต่คุณรู้หรือเปล่าคะว่า การกลั้นจามนั้นอาจทำให้เกิดอันตรายต่อร่างกายได้ บทความนี้ Hello คุณหมอ ขอนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับ อันตรายของการ กลั้นจาม ที่เป็นสาเหตุว่าทำไมคุณถึงไม่ควรกลั้นจามอย่างเด็ดขาด

อันตรายที่อาจเกิดขึ้นจากการ กลั้นจาม

  • แก้วหูทะลุ

ขณะที่เราจามนั้น จะเกิดแรงดันอากาศอย่างรุนแรงภายในระบบทางเดินหายใจ และเมื่อเรากลั้นจาม แรงดันอากาศที่ปล่อยออกมานั้นจะไม่มีที่ไป และตีกลับเข้าไปวนอยู่ภายในร่างกาย แรงดันอากาศบางส่วนอาจจะขึ้นไปสู่บริเวณท่อในหู ที่เชื่อมต่อกับหูชั้นกลางและแก้วหู

ในบริเวณหูชั้นกลางและแก้วหูนั้นจะมีความบอบบางมาก และสามารถเกิดการเสียหายได้ แม้แต่จากการกระทบเพียงเล็กน้อย แรงดันอากาศที่มาจากการกลั้นจามนั้นอาจทำให้แก้วหูของคุณแตก หรือทำให้หูชั้นในและแก้วหูเกิดความเสียหาย จนทำให้คุณสูญเสียการได้ยินได้ แม้ว่าส่วนใหญ่แล้วอาการแก้วหูแตกนั้นจะสามารถฟื้นฟูกลับขึ้นมาได้ภายในเวลาไม่กี่สัปดาห์ แต่บางกรณีก็อาจจะรุนแรงมาก และจำเป็นต้องรับการผ่าตัด

  • ติดเชื้อในหูชั้นกลาง

โดยปกติแล้วการจามนั้นเป็นปฏิกิริยาของร่างกาย เพื่อกำจัดเอาสิ่งแปลกปลอม เช่น เชื้อแบคทีเรีย หรือเชื้อโรคต่าง ๆ ที่อยู่ในทางเดินหายใจให้ออกไปจากร่างกาย

ดังนั้นการกลั้นจามจึงอาจทำให้เสมหะ น้ำมูก และน้ำลายที่ปนเปื้อนเชื้อโรค ไหลกลับเข้าไปพร้อมกับแรงดันอากาศ และไปยังบริเวณหู ทำให้เกิดการติดเชื้อหรือการอักเสบที่หูได้ โดยเฉพาะอาการติดเชื้อในหูชั้นกลาง ที่ส่งผลกระทบต่อการได้ยิน และทำให้เกิดอาการปวดอย่างมาก

  • ลมขึ้นสมอง

ล่าสุดมีผู้ป่วยหญิงไทยอายุ 85 ปี รายหนึ่ง เข้ารับการรักษาตัวที่โรงพยาบาล เนื่องจากมีอาการ พูดไม่ชัด หูอื้อ หน้าเบี้ยว และมีเสียงดัง เมื่อแพทย์ทำการตรวจด้วยการแสกน MRI ก็พบว่า มีลมขังอยู่ในบริเวณสมองด้านซ้าย ขนาด 7 × 4 × 3.2 เซนติเมตร ทำให้เบียดพื้นที่สมอง และทำให้เกิดอาการหน้าเบี้ยวและพูดไม่ชัดเหล่านี้ เมื่อสอบถามก็พบว่า ผู้ป่วยนั้นได้กลั้นจาม โดยการบีบจมูกและเม้มปากแน่นขณะจาม ทำให้ลมตีกลับผ่านท่อในปาก เข้าหูชั้นกลาง และดันทะลุกระโหลกศีรษะขึ้นไปขังในบริเวณสมอง แต่โชคดีที่แพทย์สามารถทำการรักษา และทำให้ผู้ป่วยค่อยๆ มีอาการดีขึ้นได้

  • คอบาดเจ็บ

เคยมีกรณีหนึ่งพบผู้ป่วยชายวัย 34 ปี เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล เนื่องจากมีอาการบาดเจ็บที่คออย่างรุนแรง เพราะผู้ป่วยได้ทำการกลั้นจามโดยการบีบจมูกและเม้มปากแน่นขณะจาม อาการบาดเจ็บที่คอนั้นรุนแรงมากจนทำให้เขาแทบจะพูดหรือกลืนอาหารไม่ได้ นอกจากนี้ยังมีอาการปวดอย่างรุนแรงในบริเวณลำคออีกด้วย

ถ้าหากไม่อยากจาม ควรทำอย่างไร

หากเราไม่ต้องการที่จะจาม ก็มีวิธีที่ทำให้เราสามารถป้องกันไม่ให้เราจามได้ ดังต่อไปนี้

  • รักษาโรคภูมิแพ้ บางคนอาจจะมีอาการจามเนื่องจากเป็นโรคภูมิแพ้ เช่น แพ้ฝุ่น แพ้เกสรดอกไม้ การรักษาโรคภูมิแพ้โดยการใช้ยาแก้แพ้ จะช่วยป้องกันไม่ให้เกิดอาการจามได้
  • หลีกเลี่ยงสิ่งระคายเคืองในอากาศ เช่น เกสรดอกไม้ หรือฝุ่นควันต่างๆ
  • อย่ามองแสงแดด เพราะบางคนอาจจะมีอาการมองแสงแล้วจาม (ACHOO syndrome)
  • ล้างจมูก
  • ใช้ยาพ่นจมูกสำหรับบรรเทาอาการแพ้
  • สั่งน้ำมูก

[embed-health-tool-bmi]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

The Potential Dangers of Holding in a Sneeze https://www.healthline.com/health/holding-in-a-sneeze

Trying to Hold That Sneeze In? Better Not if You Know What’s Good for You https://health.clevelandclinic.org/dont-stifle-that-sneeze-you-could-get-hurt/

Hold That Sneeze? Maybe Not https://www.webmd.com/a-to-z-guides/news/20180116/hold-that-sneeze–maybe-not

เวอร์ชันปัจจุบัน

25/01/2021

เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: Sukollaban Khamfan


บทความที่เกี่ยวข้อง

คุณป่วยได้หรือเปล่าถ้ามีใคร ไอจาม ใส่คุณ?

คุณแม่ตั้งท้องจามบ่อย จะอันตรายกับลูกน้อยหรือไม่


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 25/01/2021

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา