backup og meta

ดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป ไม่ได้ช่วยให้ร่างกายอบอุ่นขึ้น

ดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป ไม่ได้ช่วยให้ร่างกายอบอุ่นขึ้น

หลายคนคงมีความเชื่อว่า การดื่มแอลกอฮอล์ในช่วงอากาศเย็น จะช่วยทำให้ร่างกายอบอุ่นขึ้น แต่รู้หรือไม่ว่า…การ ดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป อาจจะส่งผลเสียต่อสุขภาพร่างกายในหลายๆ ด้าน ทาง Hello คุณหมอ จึงมีเรื่องราวเกี่ยวกับแอลกอฮอล์ในแง่มุมต่างๆ มาฝากกัน

ดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป ส่งผลอย่างไรต่อร่างกาย

แม้แอลกอฮอล์จะช่วยทำให้เลือกสูบฉีดและไหวเวียนได้ดี แต่การ ดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป ก็อาจส่งผลเสียต่อสุขภาพและร่างกายได้เช่นกัน ซึ่งผลที่จะเกิดขึ้นกับร่างกาย เมื่อดื่มแอลกอฮอล์เข้าไป มีดังนี้

สมองทำงานช้าลง

ในช่วงระยะเวลา 30 นาที หลังจากดื่มแอลกอฮอล์เข้าไป จะส่งผลให้สมองทำงานได้ช้าลง ทั้งในด้านการสื่อสาร อารมณ์ รวมถึงการตอบสนองต่างๆ อีกด้วย

เซลล์สมองเปลี่ยนแปลง

หากดื่มหนักเป็นเวลานานอาจทำให้เซลล์สมองเปลี่ยนแปลง และสมองหดลง จึงส่งผลต่อความสามารถในการเรียนรู้ และการจดจำสิ่งต่างๆ นอกจากนี้ส่งผลทำให้ร่างกายรักษาอุณหภูมิได้ยากขึ้น

ร่างกายพักผ่อนไม่เพียงพอ

แอลกอฮอล์อาจทำให้เผลอหลับได้ง่ายขึ้น แต่ร่างกายจะไม่ได้พักผ่อนเพราะเมื่อร่างกายมีแอลกอฮอล์อยู่ตลอดทั้งคืน จะทำให้รู้สึกวิงเวียนอยู่ตลอดคืน ตื่นบ่อยเพื่อเข้าห้องน้ำ ส่งผลให้พักผ่อนไม่เพียงพอ ทั้งยังมีแนวโน้มที่จะฝันร้าย

แผลในกระเพาะอาหาร

การดื่มแอลกอฮอล์ทำให้เยื่อบุกระเพาะอาหารระคายเคือง และทำให้น้ำย่อยไหลผ่าน เมื่อร่างกายมีกรดและแอลกอฮอล์อยู่เป็นจำนวนมาก จะทำให้รู้สึกคลื่นไส้และอาเจียน ในช่วงที่ดื่มหนักๆ อาจทำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหาร และมีน้ำย่อยในปริมาณที่สูง จนทำให้ไม่รู้สึกหิว ดังนั้นเหล่านักดื่มที่ดื่มมาอย่างยาวนาน มักจะไม่ได้รับสารอาหารตามที่ร่างกายต้องการ

ลำไส้เกิดการระคายเคือง

ลำไส้เล็กและลำไส้ใหญ่เกิดอาการระคายเคือง จึงเป็นเหตุให้เกิดอาการท้องเสีย นอกจากนั้นยังทำให้มีอาการเสียดท้องมากยิ่งขึ้น

ปัสสาวะบ่อย

เนื่องจากแอลกอฮอล์ส่งผลต่อการทำงานของสมอง ดังนั้นสมองจึงหยุดสั่งการฮอร์โมนที่ป้องกันไม่ให้ไตผลิตปัสสาวะมากเกินไป นั่นจึงทำให้เกินการปัสสาวะบ่อยขึ้น

เซลล์ตับได้รับผลกระทบ ไตหยุดทำงาน

ถ้าหากเป็นโรคตับอยู่ การดื่มแอลกอฮอล์จะทำให้ขั้นตอนในการรักษาตับสูญเปล่า ที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะแอลกอฮอล์จะทำให้ไขมันในอวัยวะและเนื้อเยื่อหนาขึ้นจนเป็นเส้นใย ส่งผลกระทบต่อการไหลเวียนของเลือด เซลล์ตับก็จึงได้รับผลกระทบเช่นกัน อาจทำให้ไตถึงขั้นหยุดการทำงาน นี่จึงเป็นที่มาของโรคที่เรียกกันว่า “โรคตับแข็ง”

ตับอ่อนไม่สามารถผลิตอินซูลินได้

โดยปกติตับอ่อนจะทำหน้าที่ผลิตอินซูลิน และสารเคมีอื่นๆ ที่ช่วยให้ลำไส้ทำหน้าที่ย่อยอาหาร แต่เมื่อดื่มแอลกอฮอล์เข้าไป จะทำให้สารเคมี และแอลกอฮอล์เข้าไปอยู่ในตับอ่อน ส่งผลให้เกิดการอักเสบในอวัยวะ รวมถึงอาจส่งผลให้เกิดความเสียหายร้ายแรงได้ด้วย และเมื่อดื่มเป็นระยะเวลานาน ตับอ่อนจะไม่สามารถผลิตอินซูลินได้อีกต่อไป จึงนำไปสู่การเป็นโรคเบาหวาน นอกจากนั้นยังอาจมีแน้วโน้มเป็นโรคมะเร็งตับอ่อนได้อีกด้วย

ทำไมดื่มแอลกอฮอล์แล้วถึงอุ่นขึ้น

จากความเชื่อที่ว่า การดื่มแอลกอฮอล์ในช่วงอากาศเย็น จะช่วยทำให้ร่างกายอบอุ่นขึ้น เราลองมาดูข้อเท็จจริงกันดีกว่าว่า ความจริงแล้วแอลกฮอล์สามารถทำให้ร่างกายนั้นอุ่นขึ้นได้จริงหรือ?

  • ความจริงแล้วแอลกอฮอล์มีอุณหภูมิแช่แข็งต่ำกว่าน้ำมาก ที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะองค์ประกอบทางเคมีของแอลกอฮอล์ ซึ่งไม่ได้มีอะไรที่เกี่ยวข้องกับการทำให้ร่างกายอบอุ่นขึ้นเลย
  • ทางฟิสิกส์พื้นฐานได้ระบุเอาไว้ว่า การดื่มเครื่องดื่มเย็นๆ จะดึงความร้อนออกจากร่างกาย ส่วนการดื่มเครื่องดื่มร้อนๆ จะช่วยเพิ่มความร้อนให้กับร่างกาย ดังนั้นตามหลักเหตุผลแล้วแอลกอฮอล์ไม่ควรเพิ่มหรือลบความร้อนแตกต่างจากเครื่องดื่มอื่น ๆ
  • จริงๆ แล้วเมื่อดื่มแอลกอฮอล์เข้าไปแล้ว แอลกอฮอล์จะเข้าไปทำให้หลอดเลือดขยายตัว จึงทำให้การไหลเวียนของเลือดถูกส่งไปยังผิวหนัง จึงทำให้รู้สึกอบอุ่นและสบายขึ้นนั่นเอง เปรียบง่ายๆ ก็เหมือนกับเมื่อเราเอามือไปอังที่กองไฟก็ต้องรู้สึกถึงความรอบของไฟเป็นธรรมดา
  • การดื่มแอลกอฮอล์ช่วยเพียงทำให้ลดการรับรู้ของอุณภูมิที่เย็น และที่รู้สึกอบอุ่นก็เนื่องจากการไหลเวียนของเลือดที่มาจากฤทธิ์แอลกอฮอล์ ถูกส่งผ่านไปยังเส้นเลือดที่อยู่บริเวณใต้ผิวหนัง ส่งผลทำให้ร่างกายเย็นลง

ความจริงเกี่ยวกับการดื่มแอลกอฮอล์กับอุณหภูมิในร่างกาย

ความจริงแล้ว การดื่มแอลกอฮอล์ไม่ได้ทำให้อบอุ่นขึ้น หรือป้องกันภาวะอุณหภูมิต่ำ แต่การดื่มแอลกอฮอล์ลดอุณหภูมิแกนกลางของร่างกาย ซึ่งทาง ดร. วิลเลียม เฮย์เนส ผู้อำนวยการคลินิกเภสัชวิทยาของมหาวิทยาลัยไอโอวา กล่าวว่า การบริโภคแอลกอฮอล์ไม่ได้ส่งผลดีต่อสุขภาพ หนึ่งในนั้นก็คือการทำให้อุณหภูมิแกนกลางของร่างกายอบอุ่นในสภาพอากาศที่หนาวเย็น ซึ่งการดื่มแอลกอฮอล์เป็นเพียงจุดเริ่มต้นของกระบวนการที่จะทำให้อุณหภูมิแกนกลางของร่างกายลดลงเท่านั้น แถมยังใช้เวลานานมากอีกด้วยกว่าจะเกิดขึ้นได้

ในสภาพอากาศที่หนาวเย็นหลอดเลือดจะหดตัวลง จึงทำให้การไหลเวียนของเลือดลดลง ดังนั้นเมื่อดื่มแอลกอฮอล์เข้าไป มันจะกลายเป็นเครื่องมือขยายหลอดเลือด ทำให้หลอดเลือดขยายโดยเฉพาะเส้นเลือดฝอยที่อยู่บริเวณใต้ผิวหนัง แต่กว่าจะรู้สึกอบอุ่นขึ้นมา ก็ต้องดื่มแอลกอฮอล์จนรู้สึกเมาเล็กน้อยแล้ว

อีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้รู้สึกอบอุ่นเมื่ออยู่ในอากาศที่หนาวเย็นก็คือ เมื่อรู้สึกเพลิดเพลินกับเครื่องดื่มในอากาศที่เย็น ก็จะทำให้เลือดเพิ่มขึ้น ส่งผลทำให้ผิวหนังอบอุ่นขึ้นนั่นเอง ซึ่งความอบอุ่นที่เกิดจากการที่เลือดพุ่งมาที่บริเวณผิวหนัง จะทำให้เหงื่อออกและทำให้อุณหภูมิแกนกลางของร่างกายลดลงไปอีก แต่เลือดนั้นจะเย็นลงอย่างรวดเร็ว เพราะความเย็นในอากาศ

การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้มักเกิดขึ้นโดยที่ผู้ดื่มแอลกอฮอล์ไม่รู้ตัว เพราะผิวหนังยังคงรู้สึกอบอุ่นอยู่เสมอ ซึ่งถือว่าเป็นอันตรายอย่างมาก หากดื่มแอลกอฮอล์ในอากาศที่หนาว ซึ่งการดื่มกาแฟก็จะมีผลเช่นเดียวกัน เนื่องจากคาเฟอีนในกาแฟก็มีผลคล้ายกันกับแอลกอฮอล์นั่นเอง

ดังนั้น การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เพื่อให้ร่างกายอบอุ่นในสภาพอากาศหนาวเย็นเป็นสิ่งที่ไม่ควรกระทำเป็นอย่างมาก

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัย หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

How Alcohol Affects Your Body. https://www.webmd.com/mental-health/addiction/ss/slideshow-alcohol-body-effects. Accessed November 22, 2019

Will Drinking Alcohol Warm You Up?. https://www.verywellhealth.com/will-drinking-alcohol-warm-me-up-1298743. Accessed November 22, 2019

Why alcohol makes you feel warm – and other strange effects it has on the brain. http://theconversation.com/why-alcohol-makes-you-feel-warm-and-other-strange-effects-it-has-on-the-brain-59547. Accessed November 22, 2019

Does Drinking Alcohol Really Keep You Warm When It’s Cold Out?. https://www.mentalfloss.com/article/32256/does-drinking-alcohol-really-keep-you-warm-when-its-cold-out. Accessed November 22, 2019

เวอร์ชันปัจจุบัน

28/05/2020

เขียนโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: Nattrakamol Chotevichean


บทความที่เกี่ยวข้อง

ดื่มแอลกอฮอล์ มากเกินไป ทำร้ายตับอย่างไรบ้าง

ผู้ป่วยโรคตับอักเสบดื่มแอลกอฮอล์ ได้หรือเปล่านะ


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย · แก้ไขล่าสุด 28/05/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา