backup og meta

ออกกำลังกาย ทำให้สุขภาพจิตดีขึ้นได้อย่างไร

ออกกำลังกาย ทำให้สุขภาพจิตดีขึ้นได้อย่างไร

เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่าการ ออกกำลังกาย มีประโยชน์ต่อสุขภาพและช่วยป้องกันโรคต่างๆ เช่น โรคอ้วน โรคเบาหวาน โรคหัวใจ และการเสียชีวิตก่อนวัยอันควร เพิ่มเติมไปกว่านั้น การออกกำลังกาย ยังมีประโยชน์ต่อสุขภาพจิต Hello คุณหมอ มีข้อมูลว่าในด้าน สุขภาพจิต ออกกำลังกาย มีประโยชน์ต่อสุขภาพจิตดังนี้

ออกกำลังกาย ทำให้สุขภาพจิตดีขึ้นได้อย่างไร

ออกกำลังกายช่วยทำให้สุขภาพจิตดีขึ้น เพราะช่วยลดความกังวล ภาวะซึมเศร้า และอารมณ์ด้านลบ นอกจากนี้ยังช่วยเพิ่มความนับถือตนเอง (self-esteem) ด้วย มากไปกว่านั้น ยังมีหลักฐานที่พบว่าการออกกำลังกาย สามารถบรรเทาอาการ เช่น การนับถือตนเองต่ำ (low self-esteem) และการปลีกตัวออกจากสังคม และยังสำคัญต่อคนไข้ที่เป็นโรคจิตเภท

เนื่องจากคนไข้ที่ได้รับผลกระทบจากโรคจิตเภท และเข้าร่วมโปรแกรมปรับสภาพร่างกาย เป็นเวลา 3 เดือน ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่า สุขภาพจิตกับการออกกำลังกายมีความสัมพันธ์กัน ในคนไข้โรคจิตเภทมีการพัฒนาในด้านการควบคุมน้ำหนัก และจากรายงานพบว่ามีการเพิ่มขึ้นของระดับการออกกำลังกาย ความทนทานต่อการออกกำลังกาย ระดับความดันโลหิตลดลง และระดับพลังงานเพิ่มขึ้น รวมถึงเพิ่มระดับความแข็งแรงของร่างกายส่วนบน และการใช้มือจับด้วย

ผู้เชี่ยวชาญแนะนำ ให้ออกกำลังกาย 30 นาที

ผู้เชี่ยวชาญให้ข้อมูลว่า การออกกำลังกาย ดีต่อสุขภาพจิต ตราบใดที่ไม่ได้ออกกำลังกายหนักเกินไป และผู้เชี่ยวชาญยังแนะนำอีกว่า การออกกำลังกาย 30 นาทีด้วยความเข้มข้นปานกลาง เช่น เดินเร็ว 3 วันต่อสัปดาห์ ถือว่าเพียงพอที่จะทำให้มีสุขภาพดีแล้ว มากไปกว่านั้น ออกกำลังกาย 30 นาทียังอาจไม่จำเป็นต้องทำอย่างต่อเนื่อง โดยสามารถแบ่งเป็นเดิน 10 นาที 3 ครั้ง ก็ถือว่ามีประโยชน์ต่อร่างกายเหมือนกับการเดิน 30 นาทีติดต่อกัน

นอกจากนี้ ประโยชน์สุขภาพจากการออกกำลังกายเป็นประจำ ที่ส่งผลต่อสุขภาพจิต ได้แก่

  • ทำให้การนอนหลับดีขึ้น
  • เพิ่มความสนใจในเรื่องทางเพศ
  • เพิ่มความอดทน
  • บรรเทาความเครียด
  • ทำให้อารมณ์ดีขึ้น
  • เพิ่มพลังและความแข็งแรง
  • บรรเทาความเหนื่อยล้า
  • ลดน้ำหนัก
  • ลดคอเลสเตอรอล และทำให้สุขภาพหัวใจและหลอดเลือดดีขึ้น

ออกกำลังกายอาจช่วยให้ โรคซึมเศร้าดีขึ้น

ในด้าน สุขภาพจิต ออกกำลังกาย ถือว่ามีประโยชน์ต่อสุขภาพจิตอย่างดี อ้างอิงจากการวิเคราะห์ข้อมูลจากคน 1.2 ล้านคนในสหรัฐอเมริกาพบว่า มีการรายงานสุขภาพจิตที่ไม่ดีโดยเฉลี่ย 3.4 วันต่อเดือน แต่สำหรับคนที่ออกกำลังกายจะมีจำนวนวันน้อยกว่า 1.5 วันต่อเดือน ซึ่งน้อยกว่าคนที่ไม่ออกกำลังกาย ดังนั้นออกกำลังกายจึงอาจมีส่วนช่วยทำให้สุขภาพจิตดีขึ้น

เพิ่มเติมไปกว่านั้น จากการศึกษาแนะนำว่า การออกกำลังกายมีประโยชน์อย่างมาก สำหรับผู้ที่เป็นโรคซึมเศร้า เนื่องจากในกลุ่มคนที่ออกกำลังกาย มีจำนวนวัน 3.75 วันต่อเดือน ที่รายงานปัญหาสุขภาพจิต ซึ่งถือว่าน้อยกว่ากลุ่มที่ไม่ได้ออกกำลังกาย

เริ่มต้นออกกำลังกายอย่างไรดี

คุณสามารถเริ่มออกกำลังกายง่ายๆ ด้วยการเดินเป็นเวลา 30 นาทีต่อวัน นอกจากนี้ การออกกำลังกายแบบคาร์ดิโอ หรือออกกำลังกายแบบฝืนแรงต้านทาน (resistance training) เป็นเวลาประมาณ 45-60 นาทีต่อรอบ สามารถช่วยบรรเทาโรคซึมเศร้าเรื้อรัง ซึ่งกว่าการออกกำลังกายจะส่งผลต่อสุขภาพ อาจต้องใช้เวลาประมาณ 4 สัปดาห์ และมีข้อมูลที่ชี้ว่าการออกกำลังกายอย่างต่อเนื่องเป็นเวลา 10-12 สัปดาห์ ส่งผลดีต่อโรคซึมเศร้า ดังนั้นจึงควรออกกำลังกายเป็นประจำ เพื่อสุขภาพจิตที่ดีขึ้น

 

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัย หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Exercise for Mental Health. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC1470658/. Accessed on June 4 2019.

Exercise Can Chase Away the Blues, to a Point. https://www.webmd.com/depression/news/20180809/exercise-can-chase-away-the-blues–to-a-point. Accessed on June 4 2019.

How Your Mental Health Reaps the Benefits of Exercise. https://www.psychologytoday.com/intl/blog/what-works-and-why/201803/how-your-mental-health-reaps-the-benefits-exercise. Accessed on June 4 2019.

เวอร์ชันปัจจุบัน

11/05/2020

เขียนโดย Sopista Kongchon

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: Pattarapong Khuaphu


บทความที่เกี่ยวข้อง

ฟังเพลงตอนออกกำลังกาย กิจกรรมห้ามพลาดเพราะประโยชน์ดีๆ เพียบ

สัญญาณของโรคซึมเศร้า ที่บอกว่าคุณควรต้องรับความช่วยเหลือได้แล้ว


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย Sopista Kongchon · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา