backup og meta

วิตกกังวล มากไป ไม่ใช่แค่ทำให้เครียด แต่ยังส่งผลต่อสุขภาพอีกด้วย

วิตกกังวล มากไป ไม่ใช่แค่ทำให้เครียด แต่ยังส่งผลต่อสุขภาพอีกด้วย

ความวิตกกังวล เป็นความรู้สึกไม่สบายใจอย่างหนึ่ง มักเกิดจากความเครียด คนทุกคนมักจะมีเรื่องให้วิตกกังวลกันอยู่เสมอ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องงาน ครอบครัว หรือว่าความรัก ซึ่งความวิตกกังวลนี้ถือเป็นเรื่องปกติ ที่สามารถเกิดขึ้นได้ทุกวัน แต่หากมีความกังวลเรื้อรัง ความกังวลเหล่านั้น ไม่เพียงแต่จะส่งผลต่อสุขภาพจิต แต่ อาการวิตกกังวล ส่งผลต่อร่างกาย ได้อีกด้วย วันนี้ Hello คุณหมอ มีจ้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับความวิตกกังวลที่ส่งผลต่อร่างกายมาฝากกันค่ะ

อาการวิตกกังวล ส่งผลต่อร่างกาย อย่างไรบ้าง

ความวิตกกังวลนั้น ถือเป็นเรื่องปกติที่สามารถเกิดขึ้นได้ในชีวิตประจำวันของคนเรา ไม่ว่าจะเป็นเวลาที่ต้องไปสัมภาษณ์งาน การพูดในที่ชุมชน หรือการสอบเข้าเรียน เรื่องต่างๆ เหล่านี้สามารถทำให้เกิดความวิตกกังวลได้ทั้งสิ้น เวลาที่คุณวิตกอยู่ในความวิตกกังวลอัตราการเต้นของหัวใจจะเพิ่มสูงขึ้น หายใจถี่ขึ้น เพราะเมื่อเกิดความวิตกกังวล สมองนั้นจะมีความต้องการเลือดมาก ทำให้หัวใจทำงานหนัก หากมีความวิตกกังวลมากจะส่งผลให้เกิดความมึนงงและคลื่นไส้ บางครั้งอาจส่งผลต่อสุขภาพในด้านอื่นๆ ด้วย เช่น

หายใจถี่หอบ

อาการหายใจถี่หอบ เป็นภาวะที่ร่างกายต้องการออกซิเจนไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกายเป็นจำนวนมาก เพื่อที่จะตอบสนองต่อความวิตกกังวล แต่บางครั้งร่างกายอาจเกิดความรู้สึกว่าไม่สามารถรับออกซิเจนได้อย่างเมที่ทำให้เกิดการหายในเฮือก ซึ่งจะส่งผลให้เกิดอาการต่างๆ เหล่านี้ได้ เช่น

  • วิงเวียน
  • เป็นลม
  • รู้สึกอ่อนเพลีย

การตอบสนองของระบบหัวใจและหลอดเลือด

ความวิตกกังวล เป็นอาการที่ ส่งผลให้หัวใจเต้นเร็วขึ้น ทำให้เลือดไหลเวียนได้เร็วขึ้น ออกซิเจนและสารอาหารก็จะไหลเวียนไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ได้เร็วตามไปด้วย แต่ในขณะเดียวกัน เมื่อเกิดความวิตกกังวลหลอดเลือดจะตีบลง ทำให้ส่งผลต่ออุณภูมิของร่างกาย ทำให้เรารู้สึกร้อนวูบวาบ ทำให้ร่างกายตอบสนองโดยการขับเหงื่อออกมาเพื่อระบายความร้อน แต่บางครั้งเมื่อร่างกายขับเหงื่อออกมามากเกินไปก็จะทำให้เรารู้สึกหนาวได้

หากร่างกายเกิดความวิตกกังวลเรื้อรัง ก็จะส่งผลเสียต่อระบบหัวใจและหลอดเลือด ยังมีงานวิจัยที่เชื่อถือได้บอกว่าความวิตกกังวลระยะยาวอาจทำให้เกิดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจได้

ทำร้ายระบบภูมิคุ้มกัน

ความวิตกกังวลในระยะสั้นมีส่วนช่วยในการกระตุ้นการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกัน แต่ว่าความวิตกกังวลในระยะยาวนั้นกลับส่งผลตรงกันข้าม คือทำร้ายระบบภูมิคุ้มกัน เพราะฮอร์โมนคอร์ติซอล ซึ่งเป็นฮอร์โมนแห่งความเครียด จะหลั่งออกมา ซึ่งในฮอร์โมนนั้นจะหลั่งสารที่ทำให้ร่างกายเกิดความอักเสบออกมาด้วย และจะไปปิดระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันมีการตอบสนองที่บกพร่อง ซึ่งหากระบบภูมิคุ้มกันทำงานได้ไม่เต็มที่ก็จะทำให้เป็นหวัด ติดเชื้อได้ง่าย

ส่งผลต่อระบบย่อยอาหาร

ฮอร์โมนคอร์ติซอล ที่มักจะหลั่งเมื่อร่างกายเกิดความเครียดนั้น จะไปปิดกั้นกระบวนการย่อยอาหาร รวมทั้งการที่ร่างกายหลั่งอดรีนาลีนก็จะทำให้ร่างกายรู้สึกผ่อนคลาย ทำให้กล้ามเนื้อของกระเพาะอาหารก็จะรู้สึกผ่อนคลายด้วย ส่งผลให้เกิดอาการคลื่นไส้ ท้องเสีย ท้องไส้ปั่นป่วน และยังมีงานวิจัยบางชิ้นกล่าวว่าความเครียดและภาวะซึมเศร้าสามารถส่งผลต่อระบบย่อยอาหารได้อีกด้วย

นอกจากนี้ความวิตกกังวลและความเครียด ยังส่งผลให้ร่างกายรู้สึกต้องการปัสสาวะบ่อยๆ ในบางคนถึงขนาดที่ไม่สามารถกลั้นปัสสาวะได้เลย

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Source
What does anxiety feel like and how does it affect the body?

https://www.medicalnewstoday.com/articles/322510

Effects of Anxiety on the Body

https://www.healthline.com/health/anxiety/effects-on-body#1

Health Anxiety: What It is and How to Beat It

https://adaa.org/learn-from-us/from-the-experts/blog-posts/consumer/health-anxiety-what-it-and-how-beat-it

เวอร์ชันปัจจุบัน

02/02/2021

เขียนโดย ชลธิชา จันทร์วิบูลย์

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: Nattrakamol Chotevichean


บทความที่เกี่ยวข้อง

ภาวะวิตกกังวล หลังการสูญเสีย อาจส่งผลกระทบต่อชีวิตและจิตใจมากกว่าที่คิด

วิตกกังวลมากไป อาจเป็นเหตุให้คุณเกิด อาการแน่นหน้าอก


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ชลธิชา จันทร์วิบูลย์ · แก้ไขล่าสุด 02/02/2021

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา