backup og meta

เสมหะในคอ เคลียร์ได้! ด้วยการใช้ อะเซทิลซิสเทอีน (Acetylcysteine) หรือ เอ็น-อะเซทิลซิสเทอีน (N-Acetylcysteine)

เสมหะในคอ เคลียร์ได้! ด้วยการใช้ อะเซทิลซิสเทอีน (Acetylcysteine) หรือ เอ็น-อะเซทิลซิสเทอีน (N-Acetylcysteine)

อะเซทิลซิสเทอีน  (Acetylcysteine) หรือ เอ็น-อะเซทิลซิสเทอีน (N-acetylcysteine) หรือที่เรียกโดยย่อว่า NAC คือ ตัวยาสำคัญที่มักนำมาเป็นส่วนประกอบของกลุ่มยาละลายเสมหะ โดยมีคุณสมบัติเด่นในการช่วยคลายความข้นเหนียวของ เสมหะในคอ ช่วยให้ร่างกายสามารถกำจัดเสมหะออกมาได้ง่ายขึ้น เพราะฉะนั้น เป็นโอกาสดีที่เราจะมาทำความรู้จักกับสารตัวนี้ให้มากขึ้น ซึ่งน่าจะเป็นประโยชน์สำหรับผู้ที่กำลังกังวลหรืออึดอัดกับอาการไอมีเสมหะอยู่ในขณะนี้

[embed-health-tool-bmi]

รู้จักรู้จริงเกี่ยวกับ อะเซทิลซิสเทอีน

อะเซทิลซิสเทอีน (Acetylcysteine) หรือ เอ็น-อะเซทิลซิสเทอีน (N-Acetylcysteine) จัดเป็นอนุพันธ์หนึ่งของกรดอะมิโนชนิด แอล-ซิสเทอีน (L-cysteine) ลักษณะเป็นผลึกสีขาวละลายน้ำและแอลกอฮอล์ได้ดี ถูกนำมาใช้เป็นยาละลายเสมหะเป็นครั้งแรกในปี ค.ศ. 1960 ในผู้ป่วยโรคซิสติกไฟโบรซิส (Cystic Fibrosis) ซึ่งเป็นโรคถ่ายทอดทางพันธุกรรมที่ทำให้มีการสร้างเสมหะอุดกั้นปอด และเกิดเมือกในตับอ่อนและอวัยวะอื่น ๆ ในร่างกาย

อะเซทิลซิสเทอีน (เอ็น-อะเซทิลซิสเทอีน) จัดการกับ เสมหะในคอ อย่างไร

คุณสมบัติที่โดดเด่นของ อะเซทิลซิสเทอีน (เอ็น-อะเซทิลซิสเทอีน) คือ ความสามารถในการทำลายการยึดเกาะของโมเลกุลเสมหะ ทำให้เสมหะแตกตัวและมีความข้นเหนียวลดลง ส่งผลให้ร่างกายสามารถขับเสมหะออกมาได้ง่ายขึ้น ตัวยานี้จึงมักนำไปใช้ในการรักษากับผู้ที่มีอาการไอแบบมีเสมหะทั่วไป รวมทั้งผู้ป่วยโรคระบบทางเดินหายใจ ได้แก่ โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรคหลอดลมอักเสบ โรคถุงลมโป่งพอง โรคหลอดลมโป่งพองหรือโรคมองคร่อ (Bronchiectasis) เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการขับเสมหะ ลดการสะสมของเสมหะ และขับเชื้อโรคในระบบทางเดินหายใจ

ใช้ยาอะเซทิลซิสเทอีน (เอ็น-อะเซทิลซิสเทอีน) อย่างไรให้เหมาะสม

การใช้ยาอะเซทิลซิสเทอีน (เอ็น-อะเซทิลซิสเทอีน) สำหรับการละลายเสมหะ สามารถใช้ได้ในหลากหลายรูปแบบ ได้แก่ ยาฉีด แบบผงละลายน้ำ ยารับประทาน ยาอม ยาแกรนูล และยาเม็ดฟู่ สำหรับยาฉีดนั้นเป็นการฉีดยาเข้าทางเส้นเลือดดำ สำหรับผู้ป่วยโรคซิสติกไฟโบรซิส หรือในผู้ป่วยปอดอุดกั้นเรื้อรัง ซึ่งจำเป็นต้องกระทำตามคำสั่งแพทย์เท่านั้น

ขนาดการใช้ยาอะเซทิลซิสเทอีนในผู้ใหญ่นั้น มีมาตรฐานอยู่ที่ 600-1,500 มิลลิกรัมต่อวัน โดยแบ่งรับประทาน 3 ครั้งต่อวัน ส่วนในเด็ก ใช้ครั้งละ 100 มิลลิกรัม วันละ 2-4 ครั้ง

สำหรับยาชนิดเม็ดฟู่นั้นควรใช้กับผู้ใหญ่และเด็กอายุ 14 ปีขึ้นไป

ผลข้างเคียงและข้อควรระวังสำหรับการใช้ยาอะเซทิลซิสเทอีน (เอ็น-อะเซทิลซิสเทอีน)

ทางการแพทย์ อะเซทิลซิสเทอีน (เอ็น-อะเซทิลซิสเทอีน) ถือว่ามีความปลอดภัยค่อนข้างสูง แต่สำหรับสตรีมีครรภ์หรือกำลังให้นมบุตร ควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ยา อย่างไรก็ตาม อาการข้างเคียงอาจพบได้ในบางกรณี โดยมักเกิดขึ้นได้ในระบบทางเดินอาหาร ได้แก่

  • คลื่นไส้
  • อาเจียน
  • ระคายเคืองกระเพาะอาหาร
  • ไม่สบายท้อง
  • มีอาการง่วงซึม
  • ปวดศีรษะ

ข้อควรระวังของการใช้ยานี้ คือ ไม่ควรใช้กับอาการไอที่เกิดจากภาวะหอบหืดเฉียบพลันในผู้ป่วยโรคหอบหืด

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Acetylcysteine. https://www.drugbank.ca/drugs/DB06151. Accessed 13 Feb 2019

ACETYLCYSTEINE SOLUTION. https://www.rxlist.com/acetylcysteine-solution-drug.htm. Accessed 13 Feb 2019

LiverTox. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK547852/. Accessed 13 Feb 2019

Duijvestijn YC, Brand PL. “Systematic Review of N-Acetylcysteine in Cystic Fibrosis​.” Acta Paediatr. 1999 Jan;88(1):38-41. NAC Benefits: Helps Lung Problems, Addictions, Autism, Bipolar, and More. https://universityhealthnews.com/daily/nutrition/nac-benefits-helps-lung-problems-addictions-autism-bipolar-and-more/
. Accessed 13 Feb 2019

acetylcysteine – Drug Summary. https://www.pdr.net/drug-summary/Acetylcysteine-acetylcysteine-668. Accessed 13 Feb 2019

อะเซทิลซิสเทอีน. https://www.nectec.or.th/schoolnet/library/create-web/10000/technology/10000-4993.html. Accessed 13 Feb 2019

เวอร์ชันปัจจุบัน

31/10/2022

เขียนโดย แวววิกา ศรีบ้าน

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


บทความที่เกี่ยวข้อง

ไอมีเสมหะ ไม่หายซะที! วิธีไหนทำให้หายไวที่สุด

อาการไอแห้ง ไร้เสมหะ เราสามารถรักษาได้อย่างไรกัน


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย แวววิกา ศรีบ้าน · แก้ไขล่าสุด 31/10/2022

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา