backup og meta

ยาสีฟันต่างชนิด เลือกอย่างไรให้ดีต่อสุขภาพปากและฟัน?

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย Sopista Kongchon · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

    ยาสีฟันต่างชนิด เลือกอย่างไรให้ดีต่อสุขภาพปากและฟัน?

    ยาสีฟัน ที่ดีคือยาสีฟันที่เหมาะกับความต้องการของคุณ โดยคุณควรคำนึงถึงปัญหาสุขภาพช่องปาก หรือความต้องการในการดูแลช่องปากเฉพาะจุด เช่น ต้องการลดอาการเสียวฟัน หรือต้องการให้ฟันขาว ซึ่งยาสีฟันแต่ละประเภทจะมีคุณสมบัติแตกต่างกัน บทความนี้จึงมีข้อมูลของ ยาสีฟันต่างชนิด และวิธีเลือกซื้อยาสีฟัน เพื่อให้คุณมีข้อมูลในการตัดสินใจเลือกใช้ยาสีฟันที่เหมาะกับคุณ

    ส่วนผสมพื้นฐานของยาสีฟัน

    • แคลเซียม คาร์บอเนต (Calcium carbonate) และซิลิเกต (Silicate) จะช่วยกำจัดคราบต่างๆ และเศษอาหารออกจากฟัน รวมถึงช่วยกำจัดแบคทีเรียด้วย
    • กลีเซอรอล (Glycerol) คือสารที่จะป้องกันไม่ใช้ยาสีฟันแห้ง และคงรูปเป็นเนื้อเจล
    • โซเดียมลอเรทซัลเฟต (SLS, Sodium Lauryl Sulfate) เป็นสารที่ทำให้ยาสีฟันมีฟอง
    • แซ็กคาริน (Saccharin) เป็นสารให้ความหวานเทียมที่มักจะมีในยาสีฟัน เพื่อให้มีรสชาติดีขึ้น เช่น รสมินต์ รสซินนามอน หรือรสมะนาว

    ยาสีฟันชนิดต่างๆ ที่ควรรู้จัก

    ยาสีฟันฟลูออไรด์

    สถาบัน American Dental Association (ADA) และทันตแพทย์ส่วนใหญ่พิจารณาว่าฟลูออไรด์เป็นส่วนผสมที่จำเป็นในยาสีฟัน เนื่องจากเวลาที่แบคทีเรียในช่องปากย่อยน้ำตาลและแป้ง จะทำให้เกิดกรด ซึ่งฟลูออไรด์จะช่วยทำให้ผิวเคลือบฟันแข็งแรง และช่วยลดความเสียหายที่เกิดจากกรด นอกจากนี้ฟลูออไรด์ยังช่วยฟื้นฟูฟันที่เกิดความเสียหายจากกรด โดยการคืนแร่ธาตุ (Remineralizing) ในบริเวณที่เริ่มมีอาการฟันผุ

    ยิ่งไปกว่านั้นยังมีงานวิจัยที่พบว่า การใช้ยาสีฟันฟลูออไรด์ ช่วยเพิ่มความเข้มข้นของฟลูออไรด์ในฟัน อย่างไรก็ตาม ในกรณีที่คุณยังไม่ฟันผุ การใช้ยาสีฟันฟลูออไรด์จะช่วยฟื้นฟูผิวเคลือบฟัน แต่หากคุณฟันผุแล้ว การใช้ยาสีฟันฟลูออไรด์อาจไม่ส่งผล จึงควรปรึกษาทันตแพทย์เพื่อรักษาอาการฟันผุ

    ยาสีฟันขจัดคราบหินปูน

    คราบแบคทีเรียที่เป็นชั้นๆ เรียกว่า คราบพลัค หรือคราบจุลินทรีย์ (Plaque) ซึ่งเมื่อคราบจุลลินทรีย์แข็งตัวขึ้นจะกลายเป็น คราบหินปูน (Tartar) ที่ยากต่อการกำจัด และอาจเป็นเหตุให้เกิดโรคเหงือก การทำความสะอาดช่องปากอย่างเหมาะสมและการแปรงฟันทุกวันจะช่วยป้องกันการเกิดคราบหินปูนได้

    ส่วนผู้ที่มีคราบหินปูนแล้ว ควรไปพบทันตแพทย์ และทันตแพทย์อาจแนะนำให้ใช้ยาสีฟันที่ควบคุมคราบหินปูน (Tartar-control toothpaste) ที่จะมีสารเคมี เช่น ไพโรฟอสเฟตและซิงก์ ซิเทรค (Zinc citrate) ที่จะช่วยป้องกันการเกิดคราบหินปูน

    ยาสีฟันที่ช่วยลดอาการเสียวฟัน

    ยาสีฟันที่ช่วยลดอาการเสียวฟัน เป็นยาสีฟันที่เหมาะกับผู้ที่ฟันระคายเคืองได้ง่าย เช่น ฟันระคายเคืองจากอุณหภูมิที่ร้อนหรือเย็น ซึ่งยาสีฟันที่ช่วยลดอาการเสียวฟันโดยปกติจะมีสารโพแทนเซียม ไนเตรต หรือสตรอนเทียม คลอไรด์ โดยสารประกอบทางเคมีทั้ง 2 จะใช้เวลา 4 สัปดาห์ในการบรรเทาอาการ และช่วยลดอาการเสียวฟัน ด้วยการระงับการส่งสัญญาณจากเส้นประสาทภายในฟัน ที่เป็นตัวส่งสัญญาณความเจ็บปวดไปที่สมอง จึงทำให้อาการเสียวฟันลดลง

    ยาสีฟันไวเทนนิ่ง

    ยาสีฟันไวเทนนิ่ง หรือยาสีฟันที่ช่วยทำให้ฟันขาวขึ้น โดยปกติแล้วจะไม่มีสารฟอกขาว แต่จะมีอนุภาคที่ขัดผิวฟันได้ หรือมีสารเคมีที่มีประสิทธิภาพในการขัดผิวฟัน รวมถึงช่วยดึงคราบออกจากผิวฟัน

    บางคนอาจกังวลว่าการขัดผิวฟันของยาสีฟันไวท์เทนนิ่งอาจทำลายสุขภาพฟัน แต่มีงานวิจัยที่ให้คำแนะนำว่า ยาสีฟันไวเทนนิ่งไม่ได้สร้างความเสียหายให้กับผิวเคลือบฟัน เมื่อเทียบกับยาสีฟันชนิดอื่น

    อย่างไรก็ตาม สำหรับผู้ที่มีอาการเสียวฟัน อาจต้องหลีกเลี่ยงการใช้ยาสีฟันไวเทนนิ่ง เนื่องจากมีสารเคมีที่จะทำให้อาการเสียวฟันแย่ลง

    เลือกยาสีฟันยังไงดี

    ตรวจสอบคุณสมบัติของยาสีฟัน

    มาตรฐานยาสีฟันที่สมาคมทันตแพทย์อเมริกันแนะนำคือ

    • มีฟลูออไรด์
    • มีส่วนประกอบที่ช่วยทำให้ช่องปากสะอาด
    • ปราศจากสารแต่งกลิ่นและรส (flavoring agent) ที่สามารถทำให้ฟันผุ เช่น น้ำตาล
    • มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์สนับสนุนว่าปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ

    อ่านฉลากก่อนเสมอ

    ควรตรวจสอบฉลากอย่างละเอียด เนื่องจากยาสีฟันบางชนิดไม่ได้เหมาะกับทุกคน เช่น ยาสีฟันบางผลิตภัณฑ์ไม่เหมาะกับเด็ก นอกจากนี้ส่วนผสมบางอย่างในยาสีฟัน เช่น โซเดียมลอเรทซัลเฟต (SLS, Sodium Lauryl Sulfate) มีงานวิจัยที่แนะนำว่าส่วนผสมชนิดนี้อาจเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นแผลในปาก ดังนั้นจึงควรอ่านฉลากยาสีฟันอย่างละเอียด เพื่อตรวจสอบส่วนผสมในยาสีฟัน

    เลือกยาสีฟันให้ตรงกับปัญหาสุขภาพช่องปาก

    แต่ละคนมีปัญหาสุขภาพช่องปากไม่เหมือนกัน ดังนั้นการเลือกยาสีฟันจึงควรเลือกตามความต้องการของแต่ละคน เช่น ถ้าคุณมีอาการเสียวฟัน อาจเลือกใช้ยาสีฟันที่ลดอาการเสียวฟันและหลีกเลี่ยงการใช้ยาสีฟันไวท์เทนนิ่ง

    ตรวจสอบค่า RDA

    ค่า RDA หรือ Relative Dentin Abrasion (RDA) เป็นค่าการขัดถูของยาสีฟัน โดยสมาคมทันตแพทย์อเมริกัน (ADA) กำหนดว่ายาสีฟันควรมีค่า RDA 250 หรือน้อยกว่า และยาสีฟันที่มีค่า RDA สูงกว่า 250 สามารถทำให้ฟันเสียหายได้

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    ทีม Hello คุณหมอ


    เขียนโดย Sopista Kongchon · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา