แผลร้อนใน คือแผลที่เกิดภายในปาก มีสีขาว เหลืองหรือแดงโดยรอบ เกิดขึ้นที่บริเวณเนื้อเยื่ออ่อนภายในปาก หรือที่ฐานของเหงือก ไม่เกิดที่ริมฝีปาก และไม่เป็นโรคติดต่อ
คำจำกัดความ
แผลร้อนใน คืออะไร
แผลร้อนใน (Canker Sores) คืออาการที่เกิดแผลภายในปาก หรือรอยแผลที่มีขนาดเล็ก มีสีขาว เหลือง หรือแดงโดยรอบ เกิดขึ้นที่บริเวณเนื้อเยื่ออ่อนภายในปาก หรือที่ฐานของเหงือก แผลร้อนในนี้จะไม่เกิดที่บริเวณพื้นผิวของริมฝีปาก และไม่เป็นโรคติดต่อ แตกต่างจากโรคเริม (cold sores)
แผลร้อนในพบได้บ่อยได้แค่ไหน
แผลร้อนในนั้นพบได้บ่อยมาก สามารถเกิดขึ้นได้กับคนทุกช่วงอายุ โรคนี้สามารถจัดการได้ด้วยการลดปัจจัยเสี่ยง โปรดสอบถามแพทย์สำหรับข้อมูเพิ่มเติม
อาการ
อาการของแผลร้อนในเป็นอย่างไร
อาการทั่วไปมีดังนี้
- มีแผลขนาดเล็กรูปวงรี สีขาวหรือสีเหลือง
- มีบริเวณแดงๆ ที่ปวดภายในปาก
- รู้สึกเป็นเหน็บภายในปาก
สำหรับผู้ป่วยบางราย อาจมีอาการอื่นนอกเหนือจากที่กล่าวมาข้างต้น หากมีข้อสงสัยใดๆ โปรดปรึกษาแพทย์
ควรไปพบหมอเมื่อไร
คุณควรติดต่อแพทย์หากมีอาการดังต่อไปนี้
สาเหตุ
สาเหตุของแผลร้อนใน
- มีการบาดเจ็บเล็กน้อยในปาก เช่น การแปรงฟันที่รุนแรง อุบัติเหตุระหว่างเล่นกีฬา การเผลอกัด
- ปฏิกิริยาไวต่ออาหาร โดยเฉพาะต่อช็อกโกแลต กาแฟ สตรอว์เบอร์รี ไข่ ถั่ว ชีส และอาการเผ็ดหรือมีฤทธิ์เป็นกรด
- มีภาวะขาดวิตามินบี12 ขาดธาตุสังกะสี ธาตุโฟเลต (กรดโฟลิค) หรือธาตุเหล็ก
- อาการตอบสนองต่ออาการแพ้แบคทีเรียบางชนิดในปาก
- เชื้อเฮลิโคแบคเตอร์ ไพโลไร (Helicobacter pylori) ซึ่งเป็นเชื้อแบคทีเรียตัวเดียวกันกับที่ทำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหาร
- ฮอร์โมนเปลี่ยนแปลงในช่วงการมีประจำเดือน
- ความเครียด
ปัจจัยเสี่ยง
ปัจจัยเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดแผลร้อนใน
ปัจจัยเสี่ยงของ แผลร้อนใน
ปัจจัยที่เพิ่มความเสี่ยงในการเป็นแผลร้อนใน มีดังนี้
ปัจจัยเสี่ยงของแผลร้อนในมีดังต่อไปนี้
- ประวัติทางการแพทย์ภายในครอบครัว
- อยู่ในวัยรุ่นและวัยหนุ่มสาว
- เป็นเพศหญิง
การวินิจฉัยและการรักษาโรค
ข้อมูลที่นำเสนอไม่สามารถใช้แทนข้อแนะนำทางการแพทย์ได้ โปรดปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม
การวินิจฉัยโรคแผลร้อนใน
แพทย์หรือทันตแพทย์จะทำการระบุโดยการตรวจด้วยการมองภายนอก เนื่องจากไม่จำเป็นต้องใช้การทดสอบในการวินิจฉัยโรคแผลร้อนใน ในกรณีที่รุนแรงอาจต้องมีการตรวจบางอย่าง เช่น การตรวจเลือด หรือตัดชิ้นเนื้อไปเพื่อตรวจสอบดูปัญหาสุขภาพอื่นๆ
การรักษาโรคแผลร้อนใน
แผลร้อนในมักจะหายได้เองโดยไม่ต้องทำการรักษาใดๆ แต่หากอาการปวดนั้นรุนแรงอาจมีรักษาดังต่อไปนี้
- ใช้น้ำยาบ้วนปากต้านจุลชีพ
- ให้อาหารเสริม (โฟเลต วิตามินบี6 วิตามินบี12 สังกะสี)
- สั่งให้ยาแบบขี้ผึ้ง เช่น เบนโซเคน (Benzocaine) ฟลูโอซิโนไนด์ (Fluocinonide) ไฮโดรเจนเพอร์ออกไซด์ (Hydrogen peroxide)
- ใช้น้ำยาบ้วนปากคอร์ติโคสเตียรอยด์ (Corticosteroid) เช่น เดกซาเมทาโซน (Dexamethasone)
การปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตนเอง
การปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์หรือการเยียวยาตนเองที่จะช่วยจัดการแผลร้อนใน
การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตัวเองที่ช่วยจัดการกับแผลร้อนใน
การเปลี่ยนพฤติกรรมหรือการเยียวยาตนเอง ที่อาจช่วยรับมือแผลร้อนในเบื้องต้นด้วยตนเอง มีดังนี้
- บ้วนปากด้วยน้ำเกลือหรือเบกกิ้งโซดา
- ใช้ยามิลค์ออฟแมกนีเซีย (Milk of magnesia) ตบเบาๆ ที่แผล
- หลีกเลี่ยงอาหารที่มีฤทธิ์กัดกร่อน มีฤทธิ์เป็นกรด หรือเผ็ดร้อน
- ใช้น้ำแข็งประคบที่แผลร้อนใน
- แปรงฟันเบาๆ
หากคุณมีข้อสงสัยใดๆ ควรปรึกษาแพทย์เพื่อทำความเข้าใจให้ดีขึ้นถึงทางออกที่ดีที่สุดสำหรับคุณ
[embed-health-tool-bmi]