backup og meta

ปากนกกระจอก

ปากนกกระจอก

ปากนกกระจอก คือ ภาวะอักเสบที่ทำให้เกิดแผลบริเวณมุมปากด้านใดด้านหนึ่งหรือทั้ง 2 ด้าน โดยสาเหตุส่วนใหญ่มักเกิดจากการติดเชื้อราที่มีชื่อเรียกว่า “แคนดิดา” รวมถึงสาเหตุอื่น ๆ อย่างการขาดสารอาหาร ริมฝีปากแห้ง ปัญหาโรคผิวหนัง เป็นต้น ส่งผลให้ริมฝีปากแห้ง แตก ลอก เกิดสะเก็ดแผลบริเวณมุมปาก อย่างไรก็ตาม โรคปากนกกระจอกอาจหายภายใน 2-3 วัน หรืออาจนานกว่านั้น ขึ้นอยู่กับสาเหตุที่ทำให้เกิดปากนกกระจอกด้วย

คำจำกัดความ

ปากนกกระจอก คืออะไร

ปากนกกระจอก คือ ภาวะอักเสบที่ทำให้เกิดแผลที่มุมปาก โดยแผลจะมีลักษณะแตกเป็นร่องบริเวณมุมปากด้านใดด้านหนึ่งหรือทั้ง 2 ด้าน สาเหตุส่วนใหญ่มักเกิดจากการติดเชื้อราแคนดิดา ซึ่งเป็นเชื้อราชนิดเดียวกับโรคผื่นผ้าอ้อมในเด็กทารก รวมถึงสาเหตุอื่น ๆ เช่น การขาดสารอาหารบางชนิด ริมฝีปากแห้ง ผลข้างเคียงจากการใช้ยาบางชนิด ส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการคันระคายเคืองบริเวณมุมปาก หรือรู้สึกปวดแสบร้อนบริเวณมุมปาก 

โรคปากนกกระจอกอาจหายภายใน 2-3 วัน หรืออาจนานกว่านั้น ขึ้นอยู่กับสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคโดยคุณหมอจะรักษาตามประเภทของเชื้อที่ทำให้เกิดโรคดังกล่าว เช่น รักษาด้วยยาต้านเชื้อรา เชื้อแบคทีเรีย

อาการ

อาการของ ปากนกกระจอก 

อาการของปากนกกระจอก จะมีลักษณะเป็นแผลบริเวณมุมปากด้านใดด้านหนึ่งหรือทั้ง 2 สองด้าน รวมถึงอาการอื่น ๆ ดังนี้ 

  • บริเวณมุมปากตึงขณะอ้าปาก
  • ริมฝีปากแห้ง แตกเป็นขุยรอบมุมปาก
  • รู้สึกปวดแสบร้อนบริเวณมุมปาก
  • รอยแผลแตก แห้ง ที่มุมปาก
  • แผลพุพองบริเวณมุมปาก
  • มีเลือดออก

สาเหตุ

สาเหตุที่อาจทำให้เกิดปากนกกระจอก

สาเหตุที่พบได้บ่อยของปากนกกระจอกมักเกิดจากการติดเชื้อราแคนดิดา ซึ่งเป็นเชื้อราชนิดเดียวกับเชื้อรากันที่ทำให้เกิดโรคผื่นผ้าอ้อมในเด็กทารก รวมถึงสาเหตุอื่น ๆ ที่ทำให้เกิดโรคปากนกกระจอก มีดังนี้

  • น้ำลายจากการเลียริมฝีปาก ถ้าน้ำลายที่สะสมบริเวณมุมปาก ถ้าแห้งจะทำให้ริมฝีปากแตกได้ และยิ่งเลียบริเวณมุมปากที่แห้งบ่อย ๆ อาจทำให้เชื้อราบริเวณดังกล่าวเติบโตและแบ่งเซลล์มากขึ้น ส่งผลให้ริมฝีปากเกิดการอักเสบ
  • ขาดสารอาหารบางชนิด หากร่างกายได้รับวิตามินบี 2 ไม่เพียงพอ อาจเพิ่มความเสี่ยงของโรคปากนกกระจอกได้

ปัจจัยเสี่ยง

ปัจจัยเสี่ยงของ ปากนกกระจอก

ปัจจัยที่ทำให้เสี่ยงเป็นปากนกกระจอกอาจ มีดังต่อไปนี้

  • ริมฝีปากแห้งและแตก หากริมฝีปากแห้งจนแตกอาจทำให้เชื้อไวรัส เชื้อแบคที และยีสต์ เจริญเติบโต
  • ขาดสารอาหาร เช่น วิตามินบี 2 ธาตุเหล็ก
  • จัดฟันหรือดัดฟัน  การจัดฟันหรือดัดฟันอาจทำให้น้ำลายล้นออกมานอกปากสะสมอยู่บริเวณมุมปาก ซึ่งอาจเพิ่มความเสี่ยงของโรคปากนกกระจอกได้
  • ฟันปลอมหลวม การใส่ฟันปลอมที่ไม่พอดีกับขนาดปากอาจเพิ่มความเสี่ยงของโรคปากนกกระจอก
  • ภูมิคุ้มกันบกพร่อง เช่น ผู้ติดเชื้อเอชไอวี  รวมถึงการใช้ยาสเตียรอยด์ที่อาจเพิ่มความเสี่ยงของการติดเชื้อราในช่องปาก
  • ความผิดปกติทางพันธุกรรม เช่น ดาวน์ซินโดรม
  • โรคอื่น ๆ เช่น โรคโลหิตจาง โรคเบาหวาน มะเร็งที่เกี่ยวกับเลือด มะเร็งตับอ่อน ไต ตับ ปอด 
  • สูบบุหรี่ 
  • ผิวหย่อนคล้อย เช่น ผิวหย่อนคล้อยจากการลดน้ำหนักหรืออายุที่เพิ่มขึ้น

การวินิจฉัยและการรักษา

ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ควรปรึกษาคุณหมอทุกครั้งเพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

การวินิจฉัยปากนกกระจอก

ในเบื้องต้นคุณหมอจะสอบถามประวัติและอาการของผู้ป่วย รวมถึงพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวัน ที่อาจส่งผลให้เกิดโรคปากนกกระจอก เช่น การอักเสบบริเวณมุมปาก รอยแดง บวม แผล สะเก็ด 

อย่างไรก็ตาม หากสงสัยว่าสาเหตุเกิดจากภาวะอื่น ๆ เช่น โรคเริมที่ริมฝีปาก และโรคไลเคนพลานัสในช่องปาก (ภาวะอักเสบเรื้อรังที่ส่งผลต่อเยื่อเมือกบุผิวในช่องปาก)

 คุณหมออาจต้องเก็บตัวอย่างของเชื้อจากมุมปากและจมูกของผู้ป่วยเพื่อตรวจสอบว่าอาการป่วยเกิดจากเชื้อชนิดใดบ้าง

การรักษาปากนกกระจอก

สำหรับวิธีการรักษาโรคปากนกกระจอก คุณหมอจะรักษาตามประเภทของการติดเชื้อ เพื่อไม่ให้แผลบริเวณดังกล่าวกลับมาเป็นซ้ำอีก โดยมีวิธีการรักษา ดังต่อไปนี้

  • รักษาด้วยยาต้านเชื้อรา จะใช้รักษาผู้ป่วยปากนกกระจอกซึ่งมีสาเหตุมาจากการติดเชื้อรา เช่น ยาโคลไตรมาโซล ยาไนสแตนดิน ยาคีโตโคนาโซล ยาไมโคนาโซล
  • รักษาด้วยยาต้านเชื้อแบคทีเรีย จะใช้รักษาผู้ป่วยปากนกกระจอกซึ่งมีสาเหตุมาจากการติดเชื้อแบคทีเรีย เช่น ยามิวพิโรซิน ครีมขี้ผึ้ง หรือกรดฟูซิดิก

การปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์หรือดูแลตนเอง

การปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์หรือดูแลตนเองเพื่อป้องกันปากนกกระจอก 

วิธีลดความเสี่ยงของโรคปากนกกระจอก มีดังต่อไปนี้

  • หลีกเลี่ยงการเลียริมฝีปากเมื่อปากแห้งหรือแตก
  • ทาผลิตภัณฑ์บำรุงริมฝีปาก เพื่อเพิ่มความชุ่มชื่นให้ริมฝีปาก 
  • ดูแลสุขภาพช่องปากให้ถูกสุขอนามัย เช่น แปรงฟันเป็นประจำหลังรับประทานอาหารหรือแปรงฟันอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น เพื่อลดความเสี่ยงของการติดเชื้อราในปาก 
  • ผู้ที่ใส่ฟันปลอม ควรเลือกฟันปลอมที่มีขนาดพอดีกับช่องปาก เนื่องจากน้ำลายอาจไหลออกมาสะสมบริเวณมุมปาก

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Angular Cheilitis.https://www.webmd.com/oral-health/angular-cheilitis.Accessed September 07, 2021

All you need to know about angular cheilitis.https://www.medicalnewstoday.com/articles/320053.Accessed September 07, 2021

Angular cheilitis.https://dermnetnz.org/topics/angular-cheilitis.Accessed September 07, 2021

Answer: Can you identify this condition?.https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC1949217/.Accessed September 07, 2021

How is angular stomatitis (perlèche, angular cheilitis) characterized?.https://www.medscape.com/answers/1075227-109150/how-is-angular-stomatitis-perlche-angular-cheilitis-characterized.Accessed September 07, 2021

 

เวอร์ชันปัจจุบัน

16/09/2021

เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย

อัปเดตโดย: สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


บทความที่เกี่ยวข้อง

ขมปาก ขมคอ กินอะไรก็ไม่อร่อย เป็นเพราะอะไรกันนะ

เพิ่มสุขอนามัยในช่องปาก ลดกลิ่นไม่พึงประสงค์ ด้วย ที่ขูดลิ้น


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์ · แก้ไขล่าสุด 16/09/2021

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา