backup og meta

อาการเลือดออกตามไรฟัน รับมือกับอาการอย่างไรดี

หากมี อาการเลือดออกตามไรฟัน ควรปรึกษาทันตแพทย์ นอกจากนี้ถ้ามีเลือดออกขณะแปรงฟัน คุณอาจคิดว่าไม่เป็นอะไร แต่ความจริงแล้วอาจเป็นสัญญาณของปัญหาสุขภาพช่องปากบางอย่าง ดังนั้นในกรณีที่มีอาการนานกว่า 7-10 วัน หรือเริ่มมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น เหงือกบวม ควรปรึกษาทันตแพทย์ มากไปกว่านั้นคุณอาจรับมือกับอาการ เลือดออกตามไรฟัน ได้ด้วยวิธีเหล่านี้

อาการเลือดออกตามไรฟัน เกิดจากสาเหตุใด

เลือดออกตามไรฟัน เกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย โดยสาเหตุที่พบบ่อยคือเกิดจากโรคเหงือกอักเสบ และอาจเกิดจากสาเหตุอื่น ได้แก่

  • มีเลือดออกผิดปกติ
  • แปรงฟันแรงเกินไป
  • การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนระหว่างตั้งครรภ์
  • ฟันปลอมที่มีขนาดไม่พอดี หรืออุปกรณ์ทันตกรรมอื่น ๆ
  • ไหมขัดฟันที่ไม่เหมาะสม
  • การติดเชื้อในฟันหรือเหงือก
  • มะเร็งเม็ดเลือดขาว
  • เลือดออกตามไรฟันเนื่องจากการขาดวิตามินซี
  • การขาดวิตามินเค

การระบุสาเหตุของการมีเลือดออกตามไรฟัน จะทำให้ได้รับการรักษาที่เหมาะสมที่สุด และเมื่อคุณทราบสาเหตุแล้วควรรักษาอาการกับทันแพทย์ และอาจใช้วิธีเหล่านี้เพื่อช่วยทำให้อาการเลือดออกตามไรฟันดีขึ้น

วิธีที่สามารถช่วยบรรเทาอาการ เลือดออกตามไรฟัน

รักษาสุขภาพช่องปาก เพื่อป้องกัน เลือดออกตามไรฟัน

เลือดออกตามไรฟัน อาจเป็นสัญญาณของการไม่รักษาความสะอาดช่องปาก เนื่องจากคราบจุลลินทรีย์ที่สะสมตามแนวเหงือก อาจเป็นสาเหตุของอาการเหงือกอักเสบและมีเลือดออก นอกจากนี้อาจเป็นเพราะคุณไม่ได้แปรงฟันและใช้ไหมขัดฟันมากพอ แบคทีเรียจึงสามารถแพร่กระจายและทำให้เกิดฟันผุหรือโรคเหงือกได้

สำหรับวิธีดูแลสุขภาพช่องปาก สามารถทำได้โดยการแปรงฟันอย่างน้อย 2 ครั้งต่อวัน และใช้ไหมขัดฟันอย่างน้อย 1 ครั้งต่อวัน มากไปกว่านั้นการดูแลสุขภาพช่องปากยังสำคัญสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ เนื่องจากความแปรปรวนของฮอร์โมนในระหว่างตั้งครรภ์ อาจทำให้เกิดโรคเหงือกและมี เลือดออกตามไรฟัน

บ้วนปากด้วยน้ำเกลือ

เนื่องจากแบคทีเรียและการการอักเสบในช่องปาก ทำให้เกิดโรคเหงือก การบ้วนปากด้วยน้ำเกลืออาจช่วยลดปริมาณแบคทีเรีย และอาจทำให้อาการ เลือดออกตามไรฟัน ดีขึ้น นอกจากนี้ หากเลือดออกมีสาเหตุมาจากการบาดเจ็บหรือเป็นแผล การบ้วนปากด้วยน้ำเกลืออาจช่วยให้ช่องปากสะอาด และช่วยกำจัดแบคทีเรียที่อาจทำให้เกิดการติดเชื้อที่แผลได้

เลิกบุหรี่

นอกจากการสูบบุหรี่จะเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคมะเร็งปอด โรคหัวใจ และโรคหลอดเลือดสมองแล้ว การสูบบุหรี่ยังเกี่ยวข้องกับโรคเหงือกอีกด้วย โดยความจริงแล้วศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคของสหรัฐฯ ให้ข้อมูลว่า การสูบบุหรี่เป็นสาเหตุหลักของการเกิดโรคเหงือกอย่างรุนแรง นอกจากนี้ยังทำให้ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายลดลง ซึ่งทำให้ร่างกายต่อสู้กับคราบแบคทีเรียได้ยากขึ้น จึงทำให้เกิดโรคเหงือก การเลิกบุหรี่สามารถช่วยให้สุขภาพเหงือกดีขึ้นและไม่มีอาการเลือดออก ดังนั้นจึงควรปรึกษาคุณหมอหากต้องการเลิกบุหรี่

บรรเทาความเครียด

งานวิจัยแนะนำว่า มีความเชื่อมโยงระหว่างโรคปริทันต์ (Periodontitis) และความเครียดทางอารมณ์ เนื่องจากนักวิจัยชี้ว่า ความเครียดทางอารมณ์ส่งผลทางด้านลบต่อระบบภูมิคุ้มกัน ซึ่งอาจส่งผลให้การป้องกันของร่างกายอ่อนแอลง จนถึงจุดที่ไม่สามารถต่อสู้กับภาวะเหงือกติดเชื้อได้ อย่างไรก็ตาม งานวิจัยยังคงต้องการการศึกษาเพิ่มเติม นอกจากนี้ยังมีความเชื่อว่าความเครียดทางอารมณ์อาจทำให้บางคนละเลยสุขภาพช่องปาก ซึ่งสามารถทำให้เกิดคราบหินปูน จนเป็นสาเหตุของโรคเหงือกและอาการ เลือดออกตามไรฟัน ดังนั้นจึงควรหาวิธีบรรเทาความเครียด เช่น การออกกำลังกาย และการนั่งสมาธิ

เพิ่มวิตามินซีในมื้ออาหาร

การกินอาหารที่มีวิตามินซีสามารถทำให้ภูมิคุ้มกันแข็งแรง และอาจช่วยต่อสู้กับการติดเชื้อในเหงือกที่เป็นสาเหตุของอาการเลือดออกตามไรฟัน และสำหรับอาหารที่อุดมไปด้วยวิตามินซี เช่น ผลไม้รสเปรี้ยว แครอท หรือพริกหวาน ส่วนปริมาณวิตามินซีที่ควรได้รับต่อวันคือ 65-90 มิลลิกรัมต่อวัน

เพิ่มวิตามินเคในมื้ออาหาร

บ้วนปากด้วยน้ำมันที่สกัดจากธรรมชาติ (Oil pulling)

[embed-health-tool-bmi]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

10 Ways to Stop Bleeding Gums. https://www.healthline.com/health/how-to-stop-bleeding-gums#1. Accessed January 29, 2019.

Home Remedies for Bleeding Gums. https://www.webmd.com/oral-health/features/bleeding-gums-home-remedies#1. Accessed January 29, 2019.

Bleeding gums. https://medlineplus.gov/ency/article/003062.htm. Accessed January 29, 2019.

เวอร์ชันปัจจุบัน

09/02/2021

เขียนโดย Sopista Kongchon

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล


บทความที่เกี่ยวข้อง

โรคเหงือกกับความดันโลหิตสูง เกี่ยวข้องกันอย่างไร

แปรงฟัน แบบผิดๆ อาจทำให้สุขภาพฟันแย่ลงกว่าเดิมก็ได้นะ


ตรวจสอบข้อมูลความถูกต้อง โดย ทีม Hello คุณหมอ · เขียน โดย Sopista Kongchon · แก้ไข 09/02/2021

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา