backup og meta

ตามืดบอดเฉียบพลัน อาจเป็นเพราะ เส้นเลือดจอประสาทตาอุดตัน ก็ได้นะ

ตามืดบอดเฉียบพลัน อาจเป็นเพราะ เส้นเลือดจอประสาทตาอุดตัน ก็ได้นะ

ตามืดบอดเฉียบพลัน อาจเป็นอาการของเส้นเลือดจอประสาทตาอุดตัน หรือที่เรียกว่า Retinal Artery Stoke ที่เกิดขึ้นแบบกะทันหัน และทำให้ตาบอดได้ หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที ดังนั้นทาง Hello คุณหมอ จึงมีรายละเอียดของโรคนี้มาฝาก คุณจะได้เข้าใจถึงสาเหตุของ ตามืดบอดเฉียบพลัน ซึ่งเป็นผลมาจาก อาการของเส้นเลือดจอประสาทตาอุดตัน ให้มากขึ้น

ตามืดบอดเฉียบพลัน มีสาเหตุมาจากอะไร

โรคเส้นเลือดจอประสาทตาขาดเลือด มีสาเหตุมาจากเส้นเลือดแดงเกิดการอุดตัน ส่งผลให้เลือดไหลเวียนไม่สะดวก จนก่อให้เกิดความเสียหายต่อดวงตา และนำไปสู่โรคเส้นเลือดจอประสาทตาขาดเลือด ซึ่งอาการบาดเจ็บบริเวณดวงตานี้ เกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางเคมี ที่เกิดขึ้นในระหว่าง และหลังจากการขาดเลือด ส่งผลให้ดวงตาสูญเสียความสามารถในการทำงานไปในที่สุด

โดยส่วนใหญ่แล้ว โรคเส้นเลือดจอประสาทตาขาดเลือด คือสาเหตุทำให้ตามืดบอดเฉียบพลัน สำหรับความรุนแรงของโรคนี้ ก็ขึ้นอยู่กับว่า การอุดตันนั้นเกิดในพื้นที่ส่วนใหญ่ของเส้นเลือดแดงที่ไปเลี้ยงจอประสาทตา หรือเป็นที่แขนงเส้นเลือดแดงของจอประสาทตา โดยระดับความรุนแรงของโรคมีตั้งแต่สูญเสียการมองเห็นบางส่วน สูญเสียการมองเห็นเป็นส่วนใหญ่ หรือตามืดบอดสนิท

ภาวะสูญเสียการมองเห็นโดยฉับพลัน เป็นภาวะฉุกเฉิน ที่มีสาเหตุจากอาการบาดเจ็บทางสมองที่รุนแรง โรคหัวใจ ภาวะฉุกเฉินอื่น ๆ เช่น โรคเส้นเลือดจอประสาทตาอุดตัน โดยทั่วไปแล้ว โรคเส้นเลือดจอประสาทตาอุดตันจะมีผลกับตาเพียงข้างเดียว และไม่ได้เป็นสาเหตุของอาการปวดตาแต่อย่างใด

จะมีโอกาสกลับมามองเห็นอีกหรือไม่

ผู้ป่วยที่เคยเป็นโรคนี้ มีทั้งกลับมามองเห็นเพียงบางส่วน และบางคนก็กลับมามองเห็นเป็นปกติ แต่อย่างไรก็ตาม โรคเส้นเลือดจอประสาทตาอุดตันนั้น อาจทำให้ตามืดบอดสนิทตลอดไปได้ ซึ่งผู้ป่วยมีโอกาสที่จะหายจากโรคนี้ได้ หากได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที

สิ่งที่ควรทราบเกี่ยวกับ ตามืดบอดเฉียบพลัน มีอะไรบ้าง

โรคเส้นเลือดจอประสาทตาอุดตันมีความเกี่ยวข้องกับภาวะเสี่ยงของเส้นเลือดอุดตัน เช่น โรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง ซึ่งโรคเหล่านี้เกิดจากลิ่มเลือดไปอุดกั้นในเส้นเลือดแดงที่ไปเลี้ยงจอประสาทตา

นอกจากนี้ โรคเส้นเลือดจอประสาทตาอุดตันยังเกิดจากสาเหตุอื่น ๆ ได้ด้วย ซึ่งอาการตีบของหลอดเลือดแดงที่คอ ก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดภาวะหลอดเลือดอุดตันได้

หากเปรียบเทียบกับอาการหลอดเลือดอักเสบ  ซึ่งเป็นการอักเสบของเส้นเลือดบริเวณหน้าผาก  โดยมีความเกี่ยวข้องกับภาวะเส้นเลือดจอประสาทตาอุดตันเหมือนกัน แต่มักไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับภาวะเส้นเลือดอุดตันในสมอง

ผลการตรวจตา มีความสำคัญต่อการประเมินอาการสูญเสียการมองเห็น และการบ่งชี้ของโรคเส้นเลือดจอประสาทตาอุดตัน  ซึ่งเมื่อผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยว่า เป็นโรคเส้นเลือดจอประสาทตาอุดตัน  ก็จะได้รับการตรวจอย่างอื่นเพิ่มเติม โดยการตรวจสอบการมองเห็น เพื่อดูว่า เส้นเลือดจอประสาทตาส่วนไหนเกิดการอุดตัน หรืออาจต้องเข้ารับการตรวจทางรังสีวิทยา การตรวจเลือด หรือในบางครั้ง อาจจะมีการตัดชิ้นเนื้อ เพื่อทำการตรวจสอบด้วย

โอกาสการเกิดเส้นเลือดอุดตันในสมองมีมากน้อยแค่ไหน

เนื่องจาก ภาวะเสี่ยงของโรคเส้นเลือดอุดตันในสมอง และภาวะเสี่ยงของโรคเส้นเลือดจอประสาทตาอุดตัน มีบางอย่างที่เหมือนกัน  ดังนั้น แพทย์จึงตรวจวินิจฉัยภาวะเส้นเลือดอุดตัน เพื่อประเมินภาวะเสี่ยงของคนไข้ต่อโรคเส้นเลือดอุดตัน

อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยที่เป็นโรคเส้นเลือดจอประสาทตาอุดตันจำนวนมาก ก็มักไม่ได้เป็นโรคเส้นเลือดอุดตันในสมองเสมอไป โดยทีมผู้ให้การรักษา จะเป็นผู้แจ้งผู้ป่วยเองว่า ผู้ป่วยรายนั้น ๆ มีโอกาสเป็นโรคเส้นเลือดอุดตันในสมองหรือไม่ และควรจะปฏิบัติตัวอย่างไรต่อไป

Hello Health Group ม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค และการรักษาโรคแต่อย่างใด

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

[Systemic conditions associated with central and branch retinal artery occlusions]. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/23954048. Accessed December 29, 2017

Retinal and optic nerve ischemia. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/25099097. Accessed December 29, 2017

Co-occurrence of acute retinal artery occlusion and acute ischemic stroke: diffusion-weighted magnetic resonance imaging study. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/24503410. Accessed December 29, 2017

เวอร์ชันปัจจุบัน

02/02/2021

เขียนโดย วรภพ ไกยเดช

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: Pattarapong Khuaphu


บทความที่เกี่ยวข้อง

แครอทบำรุงสายตา ได้จริงหรือ?

สายตาสั้น ในเด็ก รู้หรือไม่ เกิดขึ้นได้อย่างไร?


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย วรภพ ไกยเดช · แก้ไขล่าสุด 02/02/2021

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา